บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๓. มหาเวทัลลสูตร
๓. มหาเวทัลลสูตร ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปัญญา สูตรใหญ่ ปัญญากับวิญญาณ [๔๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระมหาโกฏฐิกะออกจากที่ หลีกเร้น๑- แล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่ บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโกฏฐิกะครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามเรื่องนี้กับท่านพระสารีบุตรว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลที่เรียกว่า ผู้มีปัญญาทราม ผู้มีปัญญาทราม เพราะ เหตุไรหนอแล๒- จึงเรียกว่า ผู้มีปัญญาทราม ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลไม่รู้ชัด บุคคลไม่รู้ชัด เหตุนั้น จึงเรียกว่า ผู้มีปัญญาทราม บุคคลไม่รู้ชัดอะไร คือ ไม่รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหตุนั้น บุคคลไม่รู้ชัด บุคคลไม่รู้ชัด จึงเรียกว่า ผู้มีปัญญาทราม ท่านพระมหาโกฏฐิกะชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า ดีละ ท่านผู้ มีอายุ แล้วได้ถามปัญหาต่อไปว่า ท่านผู้มีอายุ บุคคลที่เรียกว่า ผู้มีปัญญา ผู้มีปัญญา เพราะเหตุไรหนอแลจึงเรียกว่า ผู้มีปัญญา @เชิงอรรถ : @๑ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ขัอ ๘๑ (สัลเลขสูตร) หน้า ๗๐ ในเล่มนี้ @๒ คำว่า เพราะเหตุไรหนอแล แปลจากคำว่า กิตฺตาวตา นุ โข เป็นคำถามหาเหตุ แท้จริงการถามนั้นมี @๕ อย่าง คือ (๑) อทิฏฐโชตนาปุจฉา - การถามให้แสดงเรื่องที่ตนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้มาก่อน (๒) ทิฏฐ- @สังสันทนาปุจฉา - การถามให้ชี้แจงเรื่องที่เคยทราบมาแล้ว เพื่อเทียบกันดูกับเรื่องที่ตนรู้มา (๓) วิมติ- @เฉทนาปุจฉา - การถามเพื่อให้คลายความสงสัย (๔) อนุมติปุจฉา - การถามเพื่อให้มีความคิดเห็นคล้อยตาม @(๕) กเถตุกามยตาปุจฉา - การถามเพื่อมุ่งจะกล่าวชี้แจงต่อ เป็นลักษณะของการถามเอง ตอบเอง ในที่นี้ @พระมหาโกฏฐิกะถามในลักษณะของทิฏฐสังสันทนาปุจฉา (ม.มู.อ. ๒/๔๔๙/๒๔๒-๒๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๘๘}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๓. มหาเวทัลลสูตร
บุคคลรู้ชัด บุคคลรู้ชัด เหตุนั้น จึงเรียกว่า ผู้มีปัญญา บุคคลรู้ชัดอะไร คือ รู้ชัดว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหตุนั้น บุคคลรู้ชัด บุคคลรู้ชัด จึงเรียกว่า ผู้มีปัญญา สภาวะที่เรียกว่า วิญญาณ วิญญาณ เพราะเหตุไรหนอแล จึงเรียกว่า วิญญาณ สภาวะรู้แจ้ง สภาวะรู้แจ้ง เหตุนั้น จึงเรียกว่า วิญญาณ สภาวะรู้แจ้งอะไร คือ รู้แจ้งสุขบ้าง รู้แจ้งทุกข์บ้าง รู้แจ้งอทุกขมสุขบ้าง เหตุนั้น สภาวะรู้แจ้ง สภาวะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ ปัญญาและวิญญาณ ๒ ประการนี้ รวมกัน หรือแยกกัน และสามารถ แยกแยะ บัญญัติหน้าที่ต่างกันได้หรือไม่ ปัญญาและวิญญาณ ๒ ประการนี้ รวมกัน ไม่แยกกัน และไม่สามารถ แยกแยะบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้ เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น เหตุนั้นธรรม ๒ ประการนี้ จึงรวมกัน ไม่แยกกัน และไม่สามารถแยกแยะบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้ ท่านผู้มีอายุ ปัญญาและวิญญาณ ๒ ประการนี้ รวมกัน ไม่แยกกัน แต่ มีกิจที่จะพึงทำต่างกันบ้างหรือไม่ ท่านผู้มีอายุ ปัญญาและวิญญาณ ๒ ประการนี้ รวมกัน ไม่แยกกัน แต่ ปัญญา๑- ควรเจริญ วิญญาณ๒- ควรกำหนดรู้ นี้เป็นกิจที่จะพึงทำต่างกันแห่งธรรม ๒ ประการนี้ @เชิงอรรถ : @๑ ปัญญา ในที่นี้หมายถึงมัคคปัญญา (ปัญญาในอริยมรรค) @๒ วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาวิญญาณ (ม.มู.อ. ๒/๔๔๙/๒๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๘๙}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๓. มหาเวทัลลสูตร
เวทนา สัญญา และวิญญาณ [๔๕๐] ท่านผู้มีอายุ สภาวะที่เรียกว่า เวทนา เวทนา เพราะเหตุไรหนอแล จึงเรียกว่า เวทนา ท่านผู้มีอายุ สภาวะเสวยอารมณ์ สภาวะเสวยอารมณ์ เหตุนั้น จึงเรียกว่า เวทนา สภาวะเสวยอารมณ์อะไร คือ เสวยอารมณ์สุขบ้าง เสวยอารมณ์ทุกข์บ้าง เสวยอารมณ์อทุกขมสุขบ้าง เหตุนั้น สภาวะเสวยอารมณ์ สภาวะเสวยอารมณ์ จึงเรียกว่า เวทนา สภาวะที่เรียกว่า สัญญา สัญญา เพราะเหตุไรหนอแลจึงเรียกว่า สัญญา สภาวะกำหนดหมาย สภาวะกำหนดหมาย เหตุนั้น จึงเรียกว่า สัญญา สภาวะกำหนดหมายอะไร คือ กำหนดหมายสีเขียวบ้าง กำหนดหมาย สีเหลืองบ้าง กำหนดหมายสีแดงบ้าง กำหนดหมายสีขาวบ้าง เหตุนั้น สภาวะ กำหนดหมาย สภาวะกำหนดหมาย จึงเรียกว่า สัญญา เวทนา สัญญา และวิญญาณ ๓ ประการนี้ รวมกัน หรือแยกกัน และ สามารถแยกแยะบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้หรือไม่ เวทนา สัญญา และวิญญาณ ๓ ประการนี้ รวมกัน ไม่แยกกัน และไม่ สามารถแยกแยะบัญญัติหน้าที่ต่างกันได้ เพราะเวทนาเสวยอารมณ์สิ่งใด สัญญา ก็กำหนดหมายสิ่งนั้น สัญญากำหนดหมายสิ่งใด วิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น เหตุนั้น ธรรม ๓ ประการนี้ จึงรวมกัน ไม่แยกกัน และไม่สามารถแยกแยะบัญญัติหน้าที่ ต่างกันได้ [๔๕๑] ท่านผู้มีอายุ พระโยคาวจรผู้มีมโนวิญญาณ๑- อันบริสุทธิ์ สละแล้ว จากอินทรีย์ ๕ จะพึงรู้อะไร @เชิงอรรถ : @๑ มโนวิญญาณ ในที่นี้หมายถึงจิตในฌานที่ ๔ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๑/๒๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๙๐}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๓. มหาเวทัลลสูตร
ท่านผู้มีอายุ พระโยคาวจรผู้มีมโนวิญญาณอันบริสุทธิ์สละแล้วจากอินทรีย์ ๕ พึงรู้อากาสานัญจายตนฌานว่า อากาศหาที่สุดมิได้ พึงรู้วิญญาณัญจายตนฌานว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ พึงรู้อากิญจัญญายตนฌานว่า ไม่มีอะไร๑- พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมที่ตนจะพึงรู้ด้วยอะไร พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมที่ตนจะพึงรู้ด้วยปัญญาจักษุ๒- ปัญญามีไว้เพื่ออะไร ปัญญามีไว้เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อการกำหนดรู้ และเพื่อการละปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ [๔๕๒] ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิมีเท่าไร ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิมี ๒ ประการ คือ ๑. ปรโตโฆสะ๓- (การได้สดับจากบุคคลอื่น) ๒. โยนิโสมนสิการ๔- (การมนสิการโดยแยบคาย) ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิมี ๒ ประการนี้แล @เชิงอรรถ : @๑ ข้อความนี้หมายถึงพระโยคาวจรผู้บำเพ็ญเพียรอาศัยมโนวิญญาณ กล่าวคือรูปาวจรฌานจิตในฌานที่ ๔ @เป็นพื้นฐาน จึงจะสามารถบำเพ็ญให้อรูปาวจรสมาบัติที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนสมาบัติให้เกิดขึ้นได้ @สามารถให้อรูปาวจรสมาบัติอื่นเกิดขึ้นต่อมาตามลำดับ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๑/๒๕๓) @๒ ปัญญาจักษุ ในที่นี้หมายถึงสมาธิปัญญา และวิปัสสนาปัญญา สมาธิปัญญา ทำหน้าที่กำจัดโมหะ @วิปัสสนาปัญญา ทำหน้าที่พิจารณาไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๑/๒๕๔) @๓ ปรโตโฆสะ ในที่นี้หมายถึงการฟังธรรมเป็นที่สบายเหมาะสมแก่ตน เช่นพระสารีบุตรเถระได้ฟังธรรมจาก @พระอัสสชิเถระว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ... (ดู วิ.ม. (แปล) ๔/๖๐/๗๓) (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔) @๔ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๕ (สัพพาสวสูตร) หน้า ๑๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๙๑}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๓. มหาเวทัลลสูตร
สัมมาทิฏฐิ๑- ซึ่งมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ มีปัญญา- วิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ เพราะมีองค์ธรรมเท่าไรสนับสนุน สัมมาทิฏฐิซึ่งมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ มีปัญญา- วิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ เพราะมีองค์ธรรม ๕ ประการ สนับสนุน คือ ๑. มีศีล๒- สนับสนุน ๒. มีสุตะ๓- สนับสนุน ๓. มีสากัจฉา๔- สนับสนุน ๔. มีสมถะ๕- สนับสนุน ๕. มีวิปัสสนา๖- สนับสนุน สัมมาทิฏฐิซึ่งมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ มีปัญญา- วิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ เพราะมีองค์ธรรม ๕ ประการ นี้แลสนับสนุน @เชิงอรรถ : @๑ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมัคคสัมมาทิฏฐิ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔) @๒ ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ เพราะปาริสุทธิศีล ๔ เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุอริยมรรค @(ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔, ม.มู.ฏีกา ๒/๔๕๒/๓๒๖) @๓ สุตะ ในที่นี้หมายถึงการฟังธรรมที่เป็นสัปปายะ มีความหมายเท่ากับปรโตโฆสะ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔) @๔ สากัจฉา หมายถึงการปรับกัมมัฏฐานให้เกิดความเหมาะสม (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔) @๕ สมถะ หมายถึงสมาบัติที่เป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๔) @๖ วิปัสสนา หมายถึงอนุปัสสนา ๗ ประการ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๒/๒๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๙๒}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๓. มหาเวทัลลสูตร
ภพและฌาน [๔๕๓] ท่านผู้มีอายุ ภพมีเท่าไร ท่านผู้มีอายุ ภพมี ๓ คือ (๑) กามภพ (๒) รูปภพ (๓) อรูปภพ การเกิดในภพใหม่ต่อไป มีได้อย่างไร เพราะความยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกีดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกพันไว้ การเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้อย่างนี้ การเกิดในภพใหม่ต่อไป ไม่มีได้อย่างไร เพราะอวิชชาสิ้นไป เพราะวิชชาเกิดขึ้น และเพราะตัณหาดับไป การเกิด ขึ้นในภพใหม่ต่อไป ไม่มีได้อย่างนี้ [๔๕๔] ท่านผู้มีอายุ ปฐมฌาน เป็นอย่างไร ท่านผู้มีอายุ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ฌานนี้พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ปฐมฌาน ปฐมฌานมีองค์เท่าไร ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ ภิกษุผู้เข้าปฐมฌานย่อมมี (๑) วิตก (๒) วิจาร (๓) ปีติ (๔) สุข (๕) เอกัคคตา ปฐมฌานมีองค์ ๕ อย่างนี้ ปฐมฌานละองค์เท่าไร ประกอบด้วยองค์เท่าไร ปฐมฌานละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าปฐมฌาน (๑) ละกามฉันทะ (๒) ละพยาบาท (๓) ละถีนมิทธะ (๔) ละอุทธัจจ- กุกกุจจะ (๕) ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ย่อมมี (๑) วิตก (๒) วิจาร (๓) ปีติ (๔) สุข (๕) เอกัคคตา ปฐมฌานละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๙๓}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๓. มหาเวทัลลสูตร
อินทรีย์ ๕ [๔๕๕] ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ (๑) จักขุนทรีย์ (๒) โสตินทรีย์ (๓) ฆานินทรีย์ (๔) ชิวหินทรีย์ (๕) กายินทรีย์ มีอารมณ์ต่างกัน มีที่เที่ยวไปต่างกัน ไม่รับรู้อารมณ์อันเป็นที่เที่ยวไปของกันและกัน เมื่ออินทรีย์ ๕ ประการนี้มีอารมณ์ต่างกัน มีที่เที่ยวไปต่างกัน ไม่รับรู้อารมณ์อันเป็นที่เที่ยวไปของ กันและกัน จะมีอะไรเป็นที่อาศัย และธรรมอะไรรับรู้อารมณ์อันเป็นที่เที่ยวไปแห่ง อินทรีย์ ๕ ประการนั้น ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ (๑) จักขุนทรีย์ (๒) โสตินทรีย์ (๓) ฆานินทรีย์ (๔) ชิวหินทรีย์ (๕) กายินทรีย์ มีอารมณ์ต่างกัน มีที่เที่ยวไปต่างกัน ไม่รับรู้อารมณ์อันเป็นที่เที่ยวไปของกันและกัน เมื่ออินทรีย์เหล่านี้มีอารมณ์ต่างกัน มีที่เที่ยวไปต่างกัน ไม่รับรู้อารมณ์อันเป็นที่เที่ยวไปของกันและกัน มีใจเป็นที่อาศัย และใจย่อมรับรู้อารมณ์อันเป็นที่เที่ยวไปแห่งอินทรีย์เหล่านั้น [๔๕๖] ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ (๑) จักขุนทรีย์ (๒) โสตินทรีย์ (๓) ฆานินทรีย์ (๔) ชิวหินทรีย์ (๕) กายินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้อาศัยอะไรดำรงอยู่ ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ (๑) จักขุนทรีย์ (๒) โสตินทรีย์ (๓) ฆานินทรีย์ (๔) ชิวหินทรีย์ (๕) กายินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้อาศัยอายุ๑- ดำรงอยู่ อายุอาศัยอะไรดำรงอยู่ อายุอาศัยไออุ่น๒- ดำรงอยู่ ไออุ่นอาศัยอะไรดำรงอยู่ ไออุ่นอาศัยอายุดำรงอยู่ ผมรู้ทั่วถึงภาษิตของท่านพระสารีบุตรในบัดนี้เองอย่างนี้ว่า อายุอาศัยไออุ่น ดำรงอยู่และไออุ่นอาศัยอายุดำรงอยู่ แต่ผมจะพึงเข้าใจความแห่งภาษิตนี้ได้อย่างไร @เชิงอรรถ : @๑ อายุ ในที่นี้หมายถึงรูปชีวิตินทรีย์ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๖/๒๕๗-๒๕๙) @๒ ไออุ่น หมายถึงเตโชธาตุที่เกิดจากกรรม (ม.มู.อ. ๒/๔๕๖/๒๕๗-๒๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๙๔}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๓. มหาเวทัลลสูตร
ถ้าเช่นนั้น ผมจักอุปมาให้ท่านฟัง เพราะวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ย่อมทราบ ความแห่งภาษิตได้ด้วยอุปมา เมื่อประทีปน้ำมันกำลังติดไฟอยู่ แสงสว่างอาศัย เปลวไฟจึงปรากฏ เปลวไฟก็อาศัยแสงสว่างจึงปรากฏอยู่แม้ฉันใด อายุอาศัยไออุ่น ดำรงอยู่ ไออุ่นก็อาศัยอายุดำรงอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน [๔๕๗] ท่านผู้มีอายุ อายุสังขาร๑- กับเวทนียธรรม๒- เป็นอันเดียวกัน หรือต่างกัน ท่านผู้มีอายุ อายุสังขารกับเวทนียธรรม ไม่เป็นอันเดียวกัน (ถ้า) อายุสังขาร กับเวทนียธรรมเป็นอันเดียวกันแล้ว การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้าสัญญา- เวทยิตนิโรธ ก็ไม่พึงปรากฏ แต่เพราะอายุสังขารกับเวทนียธรรมต่างกัน ฉะนั้น การออกจากสมาบัติของภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ จึงปรากฏ เมื่อธรรมเท่าไรละกายนี้ไป กายนี้จึงถูกทอดทิ้งนอนนิ่งเหมือนท่อนไม้ที่ ปราศจากเจตนา เมื่อธรรม ๓ ประการ คือ (๑) อายุ (๒) ไออุ่น (๓) วิญญาณ๓- ละกายนี้ไป กายนี้จึงถูกทอดทิ้ง นอนนิ่งเหมือนท่อนไม้ที่ปราศจากเจตนา สัตว์ผู้ตายคือทำกาละไปแล้วกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธต่างกันอย่างไร สัตว์ผู้ตายคือทำกาละไปแล้วมีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขาร๔- ดับระงับไป มีอายุหมดสิ้นไป ไม่มีไออุ่น มีอินทรีย์แตกทำลาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิต- นิโรธมีกายสังขาร วจีสังขาร และจิตตสังขารดับ ระงับไป แต่อายุยังไม่หมดสิ้น ยังมีไออุ่นมีอินทรีย์ผ่องใส สัตว์ผู้ตายคือทำกาละไปแล้วกับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธต่างกันอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @๑ อายุสังขาร หมายถึงอายุนั่นเอง (ม.มู.อ. ๒/๔๕๗/๒๕๘) @๒ เวทนียธรรม หมายถึงเวทนาธรรม (ม.มู.อ. ๒/๔๕๗/๒๕๘) @๓ วิญญาณ หมายถึงจิต (๒/๔๕๗/๒๕๙) @๔ กายสังขาร หมายถึงลมหายใจเข้าออก วจีสังขาร หมายถึงวิตกวิจาร จิตตสังขาร หมายถึงสัญญาเวทนา @(ม.มู.อ. ๒/๔๕๗/๒๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๙๕}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๓. มหาเวทัลลสูตร
ปัจจัยแห่งเจโตวิมุตติ [๔๕๘] ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขมีเท่าไร ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขมี ๔ ประการ คือ (๑) เพราะละสุขได้ (๒) เพราะละทุกข์ได้ (๓) เพราะโสมนัสดับไปก่อน (๔) เพราะโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้จึงบรรลุจตุตถฌาน ซึ่งไม่มี ทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขมี ๔ ประการนี้แล ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิต๑- มีเท่าไร ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี ๒ ประการ คือ ๑. การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง๒- ๒. การมนสิการถึงนิพพานธาตุ ซึ่งไม่มีนิมิต๓- ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี ๒ ประการนี้แล ปัจจัยแห่งการตั้งอยู่แห่งเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิต มีเท่าไร ปัจจัยแห่งการตั้งอยู่แห่งเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี ๓ ประการ คือ ๑. ไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๒. มนสิการถึงนิพพานธาตุ ซึ่งไม่มีนิมิต ๓. อภิสังขาร๔- ในเบื้องต้น ปัจจัยแห่งการตั้งอยู่แห่งเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี ๓ ประการนี้แล @เชิงอรรถ : @๑ นิมิต ในความหมายนี้หมายถึงการออกจากนิโรธสมาบัติด้วยผลสมาบัติซึ่งเป็นผลเกิดจากวิปัสสนา @(ม.มู.อ. ๒/๔๕๘/๒๖๐) @๒ นิมิตทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงอารมณ์มีรูปเป็นต้น (ม.มู.อ. ๒/๔๕๘/๒๖๐) @๓ การมนสิการถึงนิพพานซึ่งไม่มีนิมิต หมายถึงการมนสิการถึงธรรมที่เกิดร่วมกับผลสมาบัติ @(ม.มู.อ. ๒/๔๕๘/๒๖๐) @๔ อภิสังขาร หมายถึงการกำหนดระยะเวลาอยู่ในสมาธิ (ม.มู.อ. ๒/๔๕๘/๒๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๙๖}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๓. มหาเวทัลลสูตร
ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิต มีเท่าไร ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี ๒ ประการ คือ ๑. การมนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๒. การไม่มนสิการถึงนิพพานธาตุ ซึ่งไม่มีนิมิต ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี ๒ ประการนี้แล [๔๕๙] ท่านผู้มีอายุ ธรรมเหล่านี้ คือ อัปปมาณาเจโตวิมุตติ๑- อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ๒- สุญญตาเจโตวิมุตติ๓- อนิมิตตาเจโตวิมุตติ๔- มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ท่านผู้มีอายุ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกัน และมี พยัญชนะต่างกัน เหตุนั้นมีอยู่ อนึ่ง เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถ อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เหตุนั้นมีอยู่ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน เหตุนั้นเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก @เชิงอรรถ : @๑ อัปปมาณาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ธรรม ๑๒ ประการ คือ พรหมวิหาร ๔ มรรค ๔ ผล ๔ พรหมวิหาร @ชื่อว่า อัปปมาณะ เพราะแผ่ไปหาประมาณมิได้ ธรรมที่เหลือชื่อว่าอัปปมาณะ เพราะไม่มีกิเลสเป็นเครื่องวัด @(ม.มู.อ. ๒/๔๕๙/๒๖๒, สํ.สฬา.อ. ๓/๓๔๙/๑๖๐) @๒ อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ธรรม ๙ ประการ คือ อากิญจัญญายตนะ ๑ มรรค ๔ ผล ๔ @อากิญจัญญายตนะ ชื่อว่าอากิญจัญญะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องกังวลเป็นอารมณ์ มรรคและผล ชื่อว่า @อากิญจัญญะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องกังวลคือกิเลสเครื่องย่ำยีและกิเลสเครื่องผูก (ม.มู.อ. ๒/๔๕๙/๒๖๒, @สํ.สฬา.อ. ๓/๓๔๙/๑๖๐) @๓ สุญญตาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ความหลุดพ้นโดยว่างจากราคะ โทสะ โมหะ เพราะพิจารณานามรูปโดยความ @เป็นอนัตตา (ม.มู.อ. ๒/๔๕๙/๒๖๓, สํ.สฬา.อ. ๓/๓๔๙/๑๖๑) @๔ อนิมิตตาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ธรรม ๑๓ ประการ คือ วิปัสสนา ๑ อรูป ๔ มรรค ๔ ผล ๔ @(ม.มู.อ. ๒/๔๕๙/๒๖๓, สํ.สฬา.อ. ๓/๓๔๙/๑๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๙๗}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๓. มหาเวทัลลสูตร
ทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิต อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ... มีมุทิตาจิต ... มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ นี้เรียกว่า อัปปมาณาเจโตวิมุตติ อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร คือ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุในพระธรรม- วินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานอยู่โดยกำหนดว่า ไม่มีอะไร นี้เรียกว่า อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ สุญญตาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นว่า สิ่งนี้ว่างจากตนบ้าง จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนบ้าง นี้เรียกว่า สุญญตาเจโตวิมุตติ อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บรรลุอนิมิตตาเจโตสมาธิ เพราะไม่มนสิการถึง นิมิตทั้งปวงอยู่ นี้เรียกว่า อนิมิตตาเจโตวิมุตติ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน เหตุนั้น เป็นอย่างนี้แล เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ พยัญชนะเท่านั้น เหตุนั้น เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๙๘}
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]
๓. มหาเวทัลลสูตร
คือ ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องวัด โทสะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องวัด โมหะชื่อว่า กิเลสเป็นเครื่องวัด กิเลสเหล่านั้นภิกษุผู้ขีณาสพละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เลิศกว่าอัปปมาณา- เจโตวิมุตติที่มีอยู่ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้น ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่าง จากโมหะ ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกังวล โทสะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกังวล โมหะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องกังวล กิเลสเหล่านั้นภิกษุผู้ขีณาสพละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เลิศกว่าอากิญจัญญาเจโต- วิมุตติที่มีอยู่ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้น ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ ราคะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องทำนิมิต โทสะชื่อว่ากิเลสเป็นเครื่องทำนิมิต โมหะชื่อว่า กิเลสเป็นเครื่องทำนิมิต กิเลสเหล่านั้นภิกษุผู้ขีณาสพละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านผู้มีอายุ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เลิศกว่า อนิมิตตาเจโตวิมุตติที่มีอยู่ เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้น ว่างจากราคะ ว่างจากโทสะ ว่างจากโมหะ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ พยัญชนะเท่านั้น เหตุนั้น เป็นอย่างนี้แล ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหาโกฏฐิกะมีใจยินดีชื่นชม ภาษิตของท่านพระสารีบุตร ดังนี้แลมหาเวทัลลสูตรที่ ๓ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๙๙}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๔๘๘-๔๙๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=43 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=9220&Z=9419 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=493 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=493&items=12 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=8&A=6197 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=493&items=12 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=8&A=6197 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i493-e1.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.043.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/majjhima/mn043.html https://suttacentral.net/mn43/en/sujato https://suttacentral.net/mn43/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]