ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๗. วัตถูปมสูตร
ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยผ้า
[๗๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ ทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ช่างย้อมผ้าจะพึงนำผ้าที่สกปรก เปรอะเปื้อน ใส่ลงในน้ำย้อมสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้าผืนนั้นจะพึงเป็นผ้าที่ย้อมได้ไม่ดี มีสี ไม่สดใส ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผ้าผืนนั้นเป็นผ้าที่ไม่สะอาด แม้ฉันใด เมื่อจิต เศร้าหมอง ทุคติ๑- ก็เป็นอันหวังได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ช่างย้อมผ้า จะพึงนำผ้าที่สะอาด @เชิงอรรถ : @ ทุคติ มี ๒ อย่าง คือ (๑) ปฏิปัตติทุคติ หมายถึงคติคือการปฏิบัติชั่วด้วยอำนาจกิเลสแบ่งเป็น ๒ อย่าง @ได้แก่ อาคาริยปฏิปัตติทุคติ คือทุคติของคฤหัสถ์ผู้มีจิตเศร้าหมองฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติอกุศล- @กรรมบถ ๑๐ และอนาคาริยปฏิปัตติทุคติ คือคติของบรรพชิตผู้มีจิตเศร้าหมอง ตะเกียกตะกายทำลายสงฆ์ @ทำลายเจดีย์ประพฤติอนาจาร (๒) คติทุคติ หมายถึงคติหรือภูมิเป็นที่ไปอันเป็นทุกข์แบ่งเป็น ๒ อย่าง @ได้แก่ อาคาริยทุคติ คือคติของคฤหัสถ์ผู้ตายแล้วไปเกิดในนรกบ้าง กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัย @บ้าง และอนาคาริยทุคติ คือทุคติของบรรพชิตผู้มรณภาพแล้ว ไปเกิดในนรกเป็นต้น เป็นสมณยักษ์ เป็น @สมณเปรต มีกายลุกโชติช่วงเพราะผ้าสังฆาฏิเป็นต้น (ม.มู.อ. ๑/๗๐/๑๘๐, ม.มู.ฏีกา ๑/๗๐/๑๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๖๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๗. วัตถูปมสูตร

หมดจด ใส่ลงในน้ำย้อมสี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้าผืนนั้น จะพึงเป็นผ้าที่ย้อมได้ดี มีสีสดใส ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผ้าผืนนั้นเป็นผ้าที่สะอาด แม้ฉันใด เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติ๑- ก็เป็นอันหวังได้ ฉันนั้นเหมือนกัน
อุปกิเลสแห่งจิต ๑๖ ชนิด
[๗๑] ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลส๒- แห่งจิต อะไรบ้าง คือ ๑. อภิชฌาวิสมโลภะ(ความโลภไม่สม่ำเสมอคือความเพ่งเล็งอยากได้ สิ่งของของผู้อื่น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๒. พยาบาท(ความคิดปองร้ายผู้อื่น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๓. โกธะ(ความโกรธ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๔. อุปนาหะ(ความผูกโกรธ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๕. มักขะ(ความลบหลู่คุณท่าน) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๖. ปฬาสะ(ความตีเสมอ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๗. อิสสา(ความริษยา) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต @เชิงอรรถ : @ สุคติ มี ๒ อย่าง คือ (๑) ปฏิปัตติสุคติ หมายถึงคติ คือการปฏิบัติดีด้วยจิตบริสุทธิ์แบ่งเป็น ๒ อย่าง ได้แก่ @อาคาริยปฏิปัตติสุคติ มีจิตบริสุทธิ์งดเว้นจากการฆ่าสัตว์บ้าง จากการลักทรัพย์บ้าง บำเพ็ญกุศลกรรมบถ @๑๐ ให้บริบูรณ์ อนาคาริยปฏิปัตติสุคติ คือสุคติของบรรพชิตผู้มีจิตบริสุทธิ์ รักษาปาริสุทธิศีล ๔ ให้บริสุทธิ์ @สมาทานธุดงค์ ๑๓ ข้อ เรียนกัมมัฏฐานในอารมณ์ ๓๘ ประการ กระทำกสิณบริกรรม ทำฌาณสมาบัติให้ @เกิดขึ้น เจริญโสดาปัตติมรรค ฯลฯ อนาคามิมรรค (๒) คติสุคติ หมายถึงคติหรือภูมิเป็นที่ไปอันเป็นสุข @แบ่งเป็น ๒ อย่าง ได้แก่ อาคาริยสุคติ คือสุคติของคฤหัสถ์ผู้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์ที่มีชาติตระกูลสูง @มั่งคั่งด้วยทรัพย์ เพียบพร้อมด้วยเกียรติยศบ้าง เป็นเทวดาที่มีศักดิ์ใหญ่บ้าง และอนาคาริยสุคติ คือคติ @ของบรรพชิตผู้มรณภาพแล้วไปเกิดในตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ และตระกูลคหบดี หรือไปเกิดใน @กามาวจรเทวโลก ๖ ชั้นบ้าง ในพรหมโลก ๑๐ ชั้น ในสุทธาวาสภูมิ ๕ ชั้น หรือในอรูปพรหม ๔ ชั้นบ้าง @(ม.มู.อ. ๑/๗๐/๑๘๐) @ อุปกิเลส หมายถึงกิเลสที่จรมาด้วยอำนาจโลภะ โทสะ และโมหะ แล้วทำจิตเดิม(ภวังคจิต)ที่แม้ปกติก็ @บริสุทธิ์อยู่แล้วให้ต้องเศร้าหมอง (ม.มู.อ. ๑/๗๑/๑๘๑, องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๙/๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๖๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๗. วัตถูปมสูตร

๘. มัจฉริยะ(ความตระหนี่) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๙. มายา(มารยา) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๑๐. สาเถยยะ(ความโอ้อวด) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๑๑. ถัมภะ(ความหัวดื้อ) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๑๒. สารัมภะ(ความแข่งดี) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๑๓. มานะ(ความถือตัว) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๑๔. อติมานะ(ความดูหมิ่นเขา) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๑๕. มทะ(ความมัวเมา) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ๑๖. ปมาทะ(ความประมาท) เป็นอุปกิเลสแห่งจิต [๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้ชัดดังนี้ว่า ‘อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็น อุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘พยาบาท เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละพยาบาทอันเป็น อุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘โกธะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละโกธะอันเป็นอุปกิเลส แห่งจิตได้ ... ‘อุปนาหะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอุปนาหะอันเป็นอุปกิเลส แห่งจิตได้ ... ‘มักขะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมักขะอันเป็นอุปกิเลสแห่ง จิตได้ ... ‘ปฬาสะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละปฬาสะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘อิสสา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอิสสาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘มัจฉริยะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมัจฉริยะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘มายา เป็น อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมายาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘สาเถยยะ เป็น อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละสาเถยยะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘ถัมภะ เป็น อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละถัมภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘สารัมภะ เป็น อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละสารัมภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘มานะ เป็น อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมานะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘อติมานะ เป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๖๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๗. วัตถูปมสูตร

อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอติมานะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘มทะ เป็น อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมทะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ภิกษุนั้นรู้ชัดดังนี้ว่า ‘ปมาทะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละปมาทะอันเป็น อุปกิเลสแห่งจิตได้ [๗๓] ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุรู้ชัดดังนี้ว่า ‘อภิชฌาวิสมโลภะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็น อุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘พยาบาท เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละพยาบาทอันเป็น อุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘โกธะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละโกธะอันเป็นอุปกิเลส แห่งจิตได้ ... ‘อุปนาหะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอุปนาหะอันเป็นอุปกิเลส แห่งจิตได้ ... ‘มักขะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมักขะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘ปฬาสะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละปฬาสะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘อิสสา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอิสสาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘มัจฉริยะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมัจฉริยะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘มายา เป็น อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมายาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘สาเถยยะ เป็น อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละสาเถยยะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘ถัมภะ เป็น อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละถัมภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘สารัมภะ เป็น อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละสารัมภะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘มานะ เป็น อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมานะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘อติมานะ เป็น อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละอติมานะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ... ‘มทะ เป็น อุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละมทะอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตได้ ภิกษุผู้รู้ชัดดังนี้ว่า ‘ปมาทะ เป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ แล้วจึงละปมาทะอันเป็น อุปกิเลสแห่งจิตได้ [๗๔] ในกาลนั้น ภิกษุนั้นจะมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๖๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๗. วัตถูปมสูตร

โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค‘๑- จะมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระธรรมว่า ‘พระธรรมเป็น ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบ ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ และ จะมีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล๒- พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญอัน ยอดเยี่ยมของโลก’ [๗๕] เพราะเหตุที่ภิกษุนั้นสละ คาย ปล่อย ละ สลัดทิ้งส่วนแห่งกิเลสได้แล้ว เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ ความรู้แจ้งธรรม และความปราโมทย์อันประกอบด้วย ธรรมว่า ‘เรามีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า’ เมื่อเธอมีปราโมทย์แล้ว ปีติ ย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ...‘เรามีความเลื่อมใสแน่วแน่ในพระธรรม’ เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ ความรู้แจ้งธรรม และความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรมว่า ‘เรามีความเลื่อมใส แน่วแน่ในพระสงฆ์’ เมื่อเธอมีปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอรู้ว่า ‘เพราะเราสละ คาย ปล่อย ละ สลัดทิ้งส่วนแห่งกิเลสได้แล้ว’ จึงได้ความรู้แจ้งอรรถ ความ รู้แจ้งธรรม และความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อเธอมีปราโมทย์แล้ว ปีติ ย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น @เชิงอรรถ : @ วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘, องฺ.ทุก.(แปล) ๒๐/๖๔/๒๔๗ @ ๘ บุคคล ได้แก่ (๑) บุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน (๒) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล @(๓) บุคคลผู้เป็นพระสกทาคามี (๔) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล @(๕) บุคคลผู้เป็นพระอนาคามี (๖) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล @(๗) บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ (๘) บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล @(อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๒๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๖๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๗. วัตถูปมสูตร

[๗๖] ภิกษุนั้นมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ แม้ว่าเธอฉัน อาหารบิณฑบาตข้าวสาลีที่เลือกของสกปรกออกแล้ว มีแกงมีกับข้าวหลายอย่าง การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น ไม่เป็นอันตรายแก่มรรคและผลเลย ผ้าที่สกปรก เปรอะเปื้อน จะเป็นผ้าที่สะอาด หมดจดได้ เพราะอาศัยน้ำใสสะอาด หรือทองคำ จะเป็นทองคำบริสุทธิ์ผุดผ่องได้เพราะอาศัยเบ้าหลอม แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ แม้ว่าเธอฉันอาหารบิณฑบาตข้าว สาลีที่เลือกของสกปรกออกแล้ว มีแกงมีกับข้าวหลายอย่าง การฉันบิณฑบาตของ ภิกษุนั้น ไม่เป็นอันตรายแก่มรรคและผลเลย [๗๗] ภิกษุนั้นมีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าใน ที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ... ทิศที่ ๒ ... ทิศที่ ๓ ... ทิศที่ ๔ ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไป ตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถานด้วยอุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ [๗๘] ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า ‘สิ่งนี้มีอยู่ สิ่งที่เลวมีอยู่ สิ่งที่ประณีตมีอยู่ ธรรม เครื่องสลัดออกจากกิเลส๑- ที่ยิ่งกว่าสัญญานี้๒- ก็มีอยู่’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิต ย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๓- ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว๔- ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๕-’ ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้อาบ สะอาดแล้วด้วยการอาบสะอาดในภายใน” @เชิงอรรถ : @ ธรรมเครื่องสลัดออกจากกิเลส ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ม.มู.อ. ๑/๗๘/๑๘๙) @ สัญญา ในที่นี้หมายถึงพรหมวิหารสัญญา (ม.มู.อ. ๑/๗๘/๑๘๙) @๓-๕ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๓ ข้อ ๕๔ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๖๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๗. วัตถูปมสูตร

การอาบน้ำในพระศาสนา
[๗๙] ในสมัยนั้น พราหมณ์ชื่อสุนทริกภารทวาชะนั่งอยู่ไม่ไกลจากพระผู้มี- พระภาค ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดมเสด็จไปยังแม่น้ำพาหุกาเพื่อ สรงน้ำหรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พราหมณ์ แม่น้ำพาหุกาจะมีประโยชน์อะไร แม่น้ำพาหุกาจักทำอะไรได้” สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า “ท่านพระโคดม คนจำนวนมากถือ กันว่า แม่น้ำพาหุกาให้ความบริสุทธิ์ได้ คนจำนวนมากถือกันว่า แม่น้ำพาหุกา เป็นบุญสถาน อนึ่ง คนจำนวนมากลอยบาปกรรมที่ตนทำแล้วในแม่น้ำพาหุกา” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับสุนทริกภารทวาชพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า “คนพาลมีกรรมชั่ว แม้จะไปยังแม่น้ำพาหุกา ท่าน้ำอธิกักกะ ท่าน้ำคยา แม่น้ำสุนทริกา แม่น้ำสรัสสดี ท่าน้ำปยาคะ และแม่น้ำพาหุมดี เป็นประจำ ก็ยังบริสุทธิ์ไม่ได้ แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปยาคะ แม่น้ำพาหุกา จักทำอะไรได้ จะพึงชำระคนผู้มีเวร ผู้ทำกรรมหยาบช้า ผู้มีกรรมชั่วนั้น ให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย ผัคคุณฤกษ์๑- เป็นฤกษ์ดีทุกเมื่อสำหรับผู้บริสุทธิ์ อุโบสถเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ทุกเมื่อสำหรับผู้บริสุทธิ์ วัตรปฏิบัติสมบูรณ์ทุกเมื่อสำหรับผู้บริสุทธิ์ มีกรรมสะอาด @เชิงอรรถ : @ ผัคคุณฤกษ์ หมายถึงงานนักขัตฤกษ์ประจำเดือน ๔ ที่พราหมณ์ถือว่าผู้ที่ชำระหรืออาบน้ำวันข้างขึ้น @เดือน ๔ ได้ชื่อว่าชำระบาปที่ทำมาแล้วตลอดปีได้ (ม.มู.อ. ๑/๗๙/๑๙๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๖๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค]

๗. วัตถูปมสูตร

พราหมณ์ ท่านจงอาบน้ำในศาสนาของเรานี้เถิด ท่านจงทำความปลอดภัยในสัตว์ทั้งปวงเถิด ถ้าท่านไม่พูดเท็จ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ มีความเชื่อ ไม่ตระหนี่ ท่านจะไปยังท่าน้ำคยาทำไม แม้การดื่มน้ำจากท่าน้ำคยาจักมีประโยชน์อะไรแก่ท่าน”
สุนทริกพราหมณ์เป็นพระอรหันต์
[๘๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดม ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะ ยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคล หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วย ตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้ง พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ ท่านพระโคดมเถิด” สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มี- พระภาคแล้ว ไม่นานก็จากไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและ ใจอยู่ ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล
วัตถูปมสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๖๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๖๒-๖๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=7              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1136&Z=1236                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=91              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=91&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=7&A=4553              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=91&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=7&A=4553                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i091-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i091-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.007.nypo.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/majjhima/mn007.html https://suttacentral.net/mn7/en/sujato https://suttacentral.net/mn7/en/horner https://suttacentral.net/mn7/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :