ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๘. ปทีโปปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยประทีป
[๙๘๔] “ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจ เข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว ฯลฯ สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจเข้า สำเหนียกว่า จะพิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๖๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]

๑. เอกธัมมวรรค ๘. ปทีโปปมสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อก่อนเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ โดยมากก็ อยู่ด้วยวิหารธรรม (ธรรมเป็นเครื่องอยู่) นี้ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ กาย ก็ไม่ลำบาก จักษุก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะ ไม่ถือมั่น ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘แม้กาย ของเราไม่พึงลำบาก จักษุของเราไม่พึงลำบาก และจิตของเราพึงหลุดพ้นจาก อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงละความคิดถึงและความดำริอัน อาศัยเรือนเสีย’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ ปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่ง ปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงมีความหมายรู้ว่าไม่ปฏิกูลในสิ่ง ปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสตินี้แลให้ดี หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงเว้นทั้ง ๒ นั้น คือ สิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูลแล้วเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปาน- สติสมาธินี้แลให้ดี หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงสงัดจากกามและอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่’ ก็พึง มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป เราพึงบรรลุ ทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๖๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]

๑. เอกธัมมวรรค ๘. ปทีโปปมสูตร

หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เพราะปีติจางคลายไป เราพึงมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้ แลให้ดี หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส และโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เราพึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงบรรลุอากาสาณัญจายตนฌานโดย กำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงอากาสาณัญจายตนฌานโดย ประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ ก็พึง มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย ประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน’ ก็พึงมนสิการอานาปานสติ สมาธินี้แลให้ดี หากภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงหวังว่า ‘เราพึงล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)’ ก็พึง มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แลให้ดี ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิที่ภิกษุเจริญอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๖๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๐. อานาปานสังยุต]

๑. เอกธัมมวรรค ๙. เวสาลีสูตร

ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเธอ เสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขม- สุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส)เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ หลัง จากตายไป ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว’ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันจึงติดอยู่ได้ เพราะ สิ้นน้ำมันและไส้ ตะเกียงน้ำมันก็หมดเชื้อดับไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด’ เมื่อ เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด’ ก็รู้ชัดว่า ‘เวทนาทั้งปวงไม่น่าเพลิดเพลิน จักเย็นในโลกนี้ทีเดียว”
ปทีโปปมสูตรที่ ๘ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๔๖๐-๔๖๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=19&siri=306              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=7722&Z=7793                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1327              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=19&item=1327&items=21              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=13&A=7485              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=19&item=1327&items=21              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=13&A=7485                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn54/sn54.008.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/samyutta/maha/sn54-008.html https://suttacentral.net/sn54.8/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :