บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๒. โกสิยวรรค ๓. เทฺวภาคสิกขาบท นิทานวัตถุ
๒. โกสิยวรรค ๓. เทฺวภาคสิกขาบท ว่าด้วยการทำสันถัตโดยใช้ขนเจียมดำ ๒ ส่วน เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่า พระ ผู้มีพระภาคทรงห้ามการทำสันถัตขนเจียมดำล้วน จึงให้เอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่ง ปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิมนั่นแหละ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉน พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงให้เอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัต ขนเจียมดำล้วนอย่างเดิมเล่า ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย ประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอให้เอาขนเจียม ขาวหน่อยหนึ่งปนไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิม จริงหรือ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรง ตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงให้เอาขนเจียมขาวหน่อยหนึ่งปน ไว้ที่ชายสันถัต แล้วทำสันถัตขนเจียมดำล้วนอย่างเดิมเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้ เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๒. โกสิยวรรค ๓. เทฺวภาคสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ [๕๕๓] ก็ ภิกษุผู้ใช้ให้ทำสันถัตใหม่ พึงเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขน เจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ถ้าเธอไม่เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ แล้วให้ทำสันถัต ใหม่ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ [๕๕๔] ที่ชื่อว่า ใหม่ พระองค์ตรัสมุ่งเอาการกระทำ ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ คำว่า ผู้ใช้ให้ทำ คือ ผู้ทำเองหรือใช้ให้ทำ คำว่า เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ความว่า ชั่งแล้วเอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง คำว่า ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ คือ ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง คำว่า ขนเจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ คือ ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง คำว่า ถ้าเธอไม่เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ส่วน ขนเจียมขาวเป็นส่วนที่ ๓ ขน เจียมแดงเป็นส่วนที่ ๔ ความว่า ไม่เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ทำเองหรือใช้ให้ทำสันถัตใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม สันถัตเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์ สละแก่สงฆ์ ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ ผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ สันถัตผืนนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๘๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๒. โกสิยวรรค ๓. เทฺวภาคสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
กระผมไม่ได้เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ใช้ให้ ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่สงฆ์ ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ สละแก่สงฆ์ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้สละแก่คณะ ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ สันถัต ผืนนี้กระผมไม่ได้เอาขนเจียมดำล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า ท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้สละแก่บุคคล ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า ท่านขอรับ สันถัตผืนนี้กระผมไม่ได้เอาขนเจียมดำ ล้วน ๒ ชั่ง ขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ใช้ให้ทำ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า กระผม คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๘๑}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]
๒. โกสิยวรรค ๓. เทฺวภาคสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ [๕๕๕] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ทุกทุกกฏ ภิกษุทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๕๖] ๑. ภิกษุเอาขนเจียมขาว ๑ ชั่ง ขนเจียมแดง ๑ ชั่ง ปนแล้วทำ ๒. ภิกษุเอาขนเจียมขาวมากกว่า ขนเจียมแดงมากกว่า ปนแล้วทำ ๓. ภิกษุเอาขนเจียมขาวล้วน ขนเจียมแดงล้วน ปนแล้วทำ ๔. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือปลอกหมอน ๕. ภิกษุวิกลจริต ๖. ภิกษุต้นบัญญัติเทฺวภาคสิกขาบทที่ ๓ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๘๒}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๗๙-๘๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=13 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]. อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=1877&Z=1976 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=82 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=82&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=4579 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=82&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=4579 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np13/en/brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]