ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. โอวาทวรรค
๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท
ว่าด้วยการไปสั่งสอนภิกษุณีถึงที่สำนัก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๕๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขต กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าไปที่สำนักของภิกษุณี สั่งสอนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ พวกภิกษุณีได้กล่าวกับพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ดังนี้ว่า “มาเถิด แม่คุณทั้งหลาย พวกเราจะไปรับโอวาทกัน” พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ทำไมพวกเราจะต้องไปรับโอวาท พวกพระ คุณเจ้าฉัพพัคคีย์มาสั่งสอนพวกเราถึงที่นี่ทีเดียว” พวกภิกษุณีจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จึงเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเล่า” แล้วแจ้งเรื่องนี้ให้ภิกษุ ทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุ เหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอเข้าไปที่สำนัก ภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๓๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท พระบัญญัติ

ไฉนพวกเธอจึงเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลายเล่า โมฆบุรุษ ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึง รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นไข้
[๑๕๙] สมัยนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเป็นไข้ ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลาย เข้าไปเยี่ยมถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีดังนี้ว่า “ท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ” พระนางมหาปชาบดีโคตมีตอบว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันกำลังไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้แล้ว ขอนิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายแสดงธรรมเถิดเจ้าข้า” พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า “การเข้ามาที่สำนักภิกษุณีแล้วแสดงธรรมแก่ ภิกษุณีไม่สมควร” พากันมีความยำเกรงอยู่ไม่แสดงธรรม ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จ เข้าไปเยี่ยมพระนางมหาปชาบดีถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัด ไว้แล้ว ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น ดังนี้ว่า “โคตมี ท่านสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ” พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลว่า “เมื่อก่อน ภิกษุผู้เป็นเถระทั้งหลายมา แสดงธรรม หม่อมฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ‘พระองค์ ทรงห้าม’ มีความยำเกรงอยู่ไม่แสดงธรรม เหตุนั้นหม่อมฉันจึงไม่มีความผาสุก พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๓๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท พระอนุบัญญัติ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเห็นชัด ชวน ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จไป ต่อมาพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอน ภิกษุณีเป็นไข้ได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๑๖๐] อนึ่ง ภิกษุใดเข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนภิกษุณีทั้งหลาย นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ ภิกษุณีเป็นไข้ นี้เป็นสมัย ในข้อนั้น
เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี จบ
[๑๖๑] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ที่สำนักภิกษุณี ได้แก่ สถานที่ที่ภิกษุณีพักแม้คืนเดียว คำว่า เข้าไป คือ ไปในที่นั้น ที่ชื่อว่า ภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คำว่า สั่งสอน ความว่า ภิกษุสั่งสอนครุธรรม ๘ อย่าง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย ที่ชื่อว่า ภิกษุณีเป็นไข้ ได้แก่ ภิกษุณีไม่สามารถไปรับโอวาทหรือร่วม ประชุมได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๓๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๓. ภิกขุนูปัสสยสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๖๒] อุปสัมบัน๑- ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้ว สั่งสอนนอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้วสั่งสอนนอกสมัย ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน๒- เข้าไปที่สำนักภิกษุณีแล้ว สั่งสอนนอก สมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุสั่งสอนธรรมอย่างอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุสั่งสอนภิกษุณีที่อุปสมบทในสงฆ์ฝ่ายเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๖๓] ๑. ภิกษุสอนในสมัย ๒. ภิกษุให้อุทเทส ๓. ภิกษุให้ปริปุจฉา @เชิงอรรถ : @ คำว่า “อุปสัมบัน” ในที่นี้หมายถึงภิกษุณี @ คือสำคัญว่ามิใช่ภิกษุณี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๓๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค อนาปัตติวาร

๔. ภิกษุที่ภิกษุณีกล่าวขอว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าสวดเถิด” สวดอยู่ ๕. ภิกษุถามปัญหา ๖. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วตอบปัญหา ๗. ภิกษุสั่งสอนผู้อื่นแต่มีภิกษุณีฟังอยู่ด้วย ๘. ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา ๙. ภิกษุสั่งสอนสามเณรี ๑๐. ภิกษุวิกลจริต ๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ
ภิกขุนูปัสสยสิกขาบทที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๓๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๓๐-๓๓๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=59              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=9580&Z=9664                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=429              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=429&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=7871              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=429&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=7871                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc23/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :