ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท นิทานวัตถุ

๔. โภชนวรรค
๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท
ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ ๑
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๒๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุ ทั้งหลายให้ฉันภัตตาหาร ภิกษุฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้วพากันไปตระกูลญาติ ภิกษุบางพวกยังฉันอีก บางพวกก็ยังรับบิณฑบาตกลับไป ต่อมา พราหมณ์ได้กล่าวกับเพื่อนบ้านผู้คุ้นเคยดังนี้ว่า “นายทั้งหลาย เราเลี้ยง ภิกษุทั้งหลายให้อิ่มหนำแล้ว เชิญมาเถิด เราจะเลี้ยงพวกท่านให้อิ่มหนำบ้าง” เพื่อนบ้านผู้คุ้นเคยเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “นาย ท่านจะเลี้ยงพวกเราให้อิ่ม หนำได้อย่างไร แม้พวกภิกษุที่ท่านนิมนต์แล้วก็ยังต้องไปที่เรือนพวกเรา บางพวกยัง ฉันอีก บางพวกก็ยังรับบิณฑบาตกลับไป” ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นได้ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้า ทั้งหลายฉันที่เรือนเราแล้วจึงไปฉันที่อื่นอีกเล่า เราไม่สามารถจะถวายให้พอแก่ ความต้องการหรือ” ภิกษุทั้งหลายได้ยินพราหมณ์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายฉันแล้ว บอกห้าม ภัตตาหารแล้วไปฉันต่อที่อื่นอีกเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิภิกษุทั้งหลายโดย ประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุฉันแล้ว บอก ห้ามภัตตาหารแล้วไปฉันต่อที่อื่นอีก จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท พระบัญญัติ

พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน โมฆบุรุษเหล่านั้นฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้วไปฉันต่อที่อื่นอีกเล่า การ กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้ เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
เรื่องภัตตาหารที่เป็นเดน
[๒๓๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนำบิณฑบาตอย่างประณีตไปถวายพวกภิกษุ ผู้เป็นไข้ พวกภิกษุเป็นไข้ฉันภัตตาหารไม่ได้สมใจ ภิกษุทั้งหลายจึงทิ้งบิณฑบาต เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคทรงได้สดับนกกาส่งเสียงร้องดังเซ็งแซ่ ครั้นได้ทรงสดับแล้ว จึงได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า “อานนท์ ทำไมนกกาจึงส่งเสียงร้องดังเซ็งแซ่” ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อานนท์ ภิกษุทั้งหลายได้ฉันภัตตาหารที่เป็น เดนภิกษุไข้หรือ” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ไม่ได้ฉัน พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงอนุญาตให้ฉันภัตตาหารที่เป็นเดนภิกษุเป็นไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันภัตตาหารที่เป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

เดนภิกษุผู้เป็นไข้และภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ ภิกษุทั้งหลายพึงทำภัตตาหารให้เป็นเดนด้วย การกล่าวอย่างนี้ว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท นี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๒๓๘] อนึ่ง ภิกษุใดฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉันที่ไม่เป็นเดน๑- ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภัตตาหารที่เป็นเดน จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๓๙] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ฉันแล้ว คือ ภิกษุฉันโภชนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดแม้ ฉันด้วยปลายหญ้าคาแตะ
ลักษณะการบอกห้ามภัตตาหาร
ที่ชื่อว่า บอกห้ามภัตตาหาร คือ (๑) ภิกษุกำลังฉัน (๒) ทายกนำโภชนะมา ถวาย (๓) ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย (๔) ภิกษุบอกห้าม @เชิงอรรถ : @ อนติริตฺตํ โภชนะที่ไม่เป็นเดน, โภชนะที่ไม่เหลือเฟือ, โภชนะที่ยังมิได้ทำอติเรกวินัย คือพระวินัยธรยังมิ @ได้ทำให้เป็นเดนว่า “อลเมตํ สพฺพํ ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (วิ.อ. ๒/๓๖๖, วชิร.ฏีกา ๔๐๘), อติเรโก โหตีติ @อติริตฺโต โหติ อติริตฺต ที่เป็นเดน หมายถึงเหลือเฟือ (ปฏิสํ.อ. ๒/๓๐๗) อนติริตฺต ที่ไม่เป็นเดน จึง @หมายถึงไม่เหลือเฟือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ของที่ไม่เป็นเดน
ที่ชื่อว่า ที่ไม่เป็นเดน คือ (๑) ของที่ภิกษุยังมิได้ทำให้เป็นกัปปิยะ (๒) ของ ที่ภิกษุยังมิได้รับประเคน (๓) ของที่ภิกษุยังมิได้ยกขึ้นส่งให้ (๔) ของที่อยู่นอก หัตถบาส (๕) ของที่ภิกษุยังมิได้ฉัน (๖) ของที่ภิกษุฉันแล้วบอกห้าม ลุกจาก อาสนะแล้ว (๗) ของที่ภิกษุยังมิได้กล่าวว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (๘) ของไม่เป็น เดนภิกษุเป็นไข้ นี้ชื่อว่าที่ไม่เป็นเดน
ของที่เป็นเดน
ที่ชื่อว่า ที่เป็นเดน คือ (๑) ของที่ภิกษุทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว (๒) ของที่ภิกษุ รับประเคนแล้ว (๓) ของที่ภิกษุยกขึ้นส่งให้แล้ว (๔) ของที่อยู่ในหัตถบาส (๕) ของ ที่ภิกษุฉันแล้ว (๖) ของที่ภิกษุฉันแล้วบอกห้าม แต่ยังไม่ลุกจากอาสนะ (๗) ของที่ ภิกษุกล่าวว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (๘) ของเป็นเดนภิกษุเป็นไข้ นี้ชื่อว่าที่เป็นเดน ของเคี้ยว ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ๑- ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว @เชิงอรรถ : @ ยามกาลิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้วฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่งก่อนอรุณของวันใหม่ คือ น้ำปานะ ได้แก่ @น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต ๘ อย่าง คือ (๑) อัมพปานะ น้ำมะม่วง (๒) ชัมพุปานะ น้ำหว้า (๓) โจจปานะ @น้ำกล้วยมีเมล็ด (๔) โมจปานะ น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด (๕) มธุกปานะ น้ำมะทราง (๖) มุททิกปานะ น้ำผล @จันทน์หรือน้ำองุ่น (๗) สาลูกปานะ น้ำเหง้าบัว (๘) ผารุสกปาน น้ำผลมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่ และน้ำผลไม้ @ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก, น้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง, น้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง, @น้ำอ้อยสด ฉันได้ (วิ.ม. ๕/๓๐๐/๘๔, วิ.อ. ๒/๒๕๕-๒๕๖/๓๗๘) @สัตตาหกาลิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายใน ๗ วัน คือ เภสัชทั้ง ๕ ได้แก่ (๑) สัปปิ เนยใส @(๒) นวนีตะ เนยข้น (๓) เตละ น้ำมัน (๔) มธุ น้ำผึ้ง (๕) ผาณิต น้ำอ้อย (วิ.ม. ๕/๒๖๐/๒๗) @ยาวชีวิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้ว ฉันได้ตลอดไป ไม่จำกัดเวลา คือ ของที่ใช้ปรุงเป็นยา ได้แก่ @หลิททะ ขมิ้น, สิงคิเวระ ขิง, วจะ ว่านน้ำ, วจัตถะ ว่านเปราะ, อติวิสะ อุตพิด, กฏุกโรหิณี ข่า, อุสีระ @แฝก, ภัททมุตตกะ แห้วหมู เป็นต้น (วิ.ม. ๕/๒๖๓/๒๙) ดูเชิงอรรถ ข้อ ๒๕๖ หน้า ๔๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท อนาปัตติวาร

ของฉัน
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา เนื้อ ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๔๐] ของที่ไม่เป็นเดน ภิกษุสำคัญว่าเป็นของที่ไม่เป็นเดน เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ของที่ไม่เป็นเดน ภิกษุไม่แน่ใจ เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ของที่ไม่เป็นเดน ภิกษุสำคัญว่าเป็นของที่เป็นเดน เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉัน ของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้อง อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน ของที่เป็นเดน ภิกษุสำคัญว่าเป็นของที่ไม่เป็นเดน ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เป็นเดน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เป็นเดน ภิกษุสำคัญว่าเป็นของที่เป็นเดน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๒๔๑] ๑. ภิกษุให้ทำเป็นของที่เป็นเดนแล้วฉัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. โภชนวรรค ๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท อนาปัตติวาร

๒. ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่า จะให้ทำเป็นของที่เป็นเดนก่อนจึงฉัน ๓. ภิกษุรับไปเพื่อภิกษุอื่น ๔. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เหลือของภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุฉันของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก เมื่อมีเหตุผลที่สมควร ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปฐมปวารณาสิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๙๓-๓๙๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=71              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=10695&Z=10789                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=499              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=499&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=8399              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=499&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=8399                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc35/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :