บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท นิทานวัตถุ
๕. อเจลกวรรค ๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท ว่าด้วยการไปดูสนามรบ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๓๒๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พักแรมอยู่ใน กองทัพ ๒-๓ คืน ไปที่สนามรบบ้าง ที่พักพลบ้าง ที่จัดขบวนทัพบ้าง ไปดูกองทัพที่ จัดเป็นขบวนแล้วบ้าง ภิกษุฉัพพัคคีย์รูปหนึ่งไปที่สนามรบ ถูกยิงด้วยลูกศร พวกชาวบ้านพากันเยาะเย้ยว่า เป็นอย่างไรพระคุณเจ้า ท่านรบสนุกไหม ท่านชนะได้กี่แต้ม ภิกษุนั้นถูกเยาะเย้ยจนเก้อเขิน พวกพลรบตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย ศากยบุตรจึงเที่ยวดูสนามรบเล่า ไม่ใช่เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ไม่ดี ที่พวก เรามาสนามรบก็เพราะการครองชีพ เพราะต้องเลี้ยงดูบุตรภรรยา ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกพลรบตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึง ไปเที่ยวดูสนามรบเล่า ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการ ต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอไปเที่ยวดูสนาม รบ จริงหรือ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงเที่ยวไปดูสนามรบเล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๕๘}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์
โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๓๒๓] ถ้าภิกษุพักอยู่ในกองทัพ ๒-๓ คืน เที่ยวไปในสนามรบก็ดี ที่ พักพลก็ดี ที่จัดขบวนทัพก็ดี ไปดูกองทัพที่จัดเป็นขบวนแล้วก็ดี ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ สิกขาบทวิภังค์ [๓๒๔] คำว่า ถ้าภิกษุพักอยู่ในกองทัพ ๒-๓ คืน คือ ภิกษุพักแรมอยู่ ๒-๓ คืน ที่ชื่อว่า สนามรบ ได้แก่ สถานที่รบซึ่งปรากฏอยู่ ที่ชื่อว่า ที่พักพล ได้แก่ กองช้างประมาณเท่านี้ กองม้าประมาณเท่านี้ กองรถประมาณเท่านี้ กองพลเดินเท้าประมาณเท่านี้ ที่ชื่อว่า ที่จัดขบวนทัพ ได้แก่ กองช้างจงอยู่ทางนี้ กองม้าจงอยู่ทางนี้ กองรถจงอยู่ทางนี้ กองพลเดินเท้าจงอยู่ทางนี้ ที่ชื่อว่า กองทัพ ได้แก่ กองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ กองทัพพลเดินเท้า กองทัพช้างมีช้าง ๓ เชือกเป็นอย่างน้อย กองทัพม้ามีม้า ๓ ตัวเป็นอย่างน้อย กองทัพรถมีรถ ๓ คันเป็นอย่างน้อย กองทัพพลเดินเท้ามีทหารถือธนู ๔ นายเป็น อย่างน้อย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๕๙}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค ๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์ ภิกษุไปเพื่อจะดู ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พ้นวิสัยจะเห็น แต่ภิกษุยังมองดูอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุไปเพื่อจะดูกองทัพแต่ละกอง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุยืนดูในระยะที่พอมองเห็น ต้องอาบัติทุกกฏ พ้นวิสัยที่จะเห็น แต่ภิกษุยังมองดูอีก ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๓๒๕] ๑. ภิกษุยืนดูอยู่ในอาราม ๒. ภิกษุดูการรบพุ่งที่ผ่านมายังที่ที่ภิกษุยืน ที่ภิกษุนั่ง หรือที่ภิกษุนอน ๓. ภิกษุเดินสวนทางไปพบ ๔. ภิกษุมีธุระเดินไปพบ ๕. ภิกษุดูในคราวมีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติอุยโยธิกสิกขาบทที่ ๑๐ จบ อเจลกวรรคที่ ๕ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๖๐}
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]
๕. อเจลกวรรค รวมสิกขาบทที่มีในอเจลกวรรค
รวมสิกขาบทที่มีในอเจลกวรรค อเจลกวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ ๑. อเจลกสิกขาบท ว่าด้วยนักบวชเปลือย ๒. อุยโยชนสิกขาบท ว่าด้วยการส่งกลับ ๓. สโภชนสิกขาบท ว่าด้วยการเข้าไปแทรกแซงในที่ที่มีคน ๒ คน ๔. รโหปฏิจฉันนสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับมีสิ่งกำบัง ๕. รโหนิสัชชสิกขาบท ว่าด้วยการนั่งในที่ลับ ๖. จาริตตสิกขาบท ว่าด้วยการเที่ยวสัญจรไป ๗. มหานามสิกขาบท ว่าด้วยพระเจ้ามหานามศากยะ ๘. อุยยุตตเสนาสิกขาบท ว่าด้วยกองทัพที่เคลื่อนขบวนออกรบ ๙. เสนาวาสสิกขาบท ว่าด้วยการพักอยู่ในกองทัพ ๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท ว่าด้วยการไปดูสนามรบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๖๑}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๕๘-๔๖๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=86 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=11853&Z=11914 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=571 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=571&items=4 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9495 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=571&items=4 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9495 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc50/en/brahmali
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]