ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๒. อานัณยสูตร
ว่าด้วยสุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้
[๖๒] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี ดังนี้ว่า คหบดี สุข ๔ ประการนี้คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม๒- พึงได้รับตามกาล ตามสมัย สุข ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์) ๒. โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์) ๓. อานัณยสุข๓- (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้) ๔. อนวัชชสุข (สุขเกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ) @เชิงอรรถ : @ อริยธรรม ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖๑/๓๕๔) @ ผู้บริโภคกาม (กามโภคี) ในที่นี้หมายถึงผู้เสพวัตถุกาม กิเลสกาม (หมายเอาผู้อยู่ครองเรือน) @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖๒/๓๕๔) @ คำว่า อานัณยสุข นี้ ฉบับ สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฎกํ (๒๕๒๓) องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๑๖๒/๙๐-๙๑ และฉบับ @ทยฺยรฏฺฐสฺส สงฺคีติเตปิฎกํ (๒๕๓๐) องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖๒/๙๕ เป็น อนณสุข {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๐๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ปัตตกัมมวรรค ๒. อานัณยสูตร

อัตถิสุข เป็นอย่างไร คือ กุลบุตรในโลกนี้มีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่นเพียร เก็บรวบรวม ด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เขาได้รับสุข โสมนัสว่า ‘เรามีโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วย น้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม’ นี้เรียกว่า อัตถิสุข โภคสุข เป็นอย่างไร คือ กุลบุตรในโลกนี้ใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วย ความหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม เขาได้รับสุขโสมนัสว่า ‘เราใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญด้วย โภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบ เหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม’ นี้เรียกว่า โภคสุข อานัณยสุข เป็นอย่างไร คือ กุลบุตรในโลกนี้ไม่เป็นหนี้ใคร ไม่ว่าจะน้อยหรือมากก็ตาม เขาได้รับสุข โสมนัสว่า ‘เราไม่เป็นหนี้ใคร ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก’ นี้เรียกว่า อานัณยสุข อนวัชชสุข เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ วจีกรรมที่ไม่ มีโทษ และมโนกรรมที่ไม่มีโทษ เขาได้รับสุขโสมนัสว่า ‘เราประกอบด้วยกายกรรม ที่ไม่มีโทษ วจีกรรมที่ไม่มีโทษ มโนกรรมที่ไม่มีโทษ’ นี้เรียกว่า อนวัชชสุข คหบดี คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามพึงได้รับสุข ๔ ประการนี้แลตามกาล ตามสมัย นรชนผู้จะต้องตาย รู้สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ ระลึกถึงสุขเกิดจากความมีทรัพย์ เสวยสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ ย่อมเห็นแจ้งด้วยปัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๐๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. ปัตตกัมมวรรค ๓.พรหมสูตร

ผู้มีปัญญาดีเห็นชัดอยู่อย่างนี้ย่อมรู้ส่วนทั้ง ๒ ว่า สุขแม้ทั้ง ๓ นี้มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งสุขเกิดจากความประพฤติอันไม่มีโทษ
อานัณยสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๐๕-๑๐๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=62              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=1846&Z=1878                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=62              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=62&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=8192              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=62&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=8192                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i061-e.php#sutta2 https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/21i061-e2.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an04/an04.062.than.html https://suttacentral.net/an4.62/en/sujato https://suttacentral.net/an4.62/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :