ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๑. ปกิณณกวรรค ๒. กุกกุฏณฑขาทิกาวัตถุ

๒๑. ปกิณณกวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด
๑. อัตตโนปุพพกัมมวัตถุ
เรื่องบุพกรรมของพระองค์
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๒๙๐] ถ้าเห็นว่าจะได้สุขอันยิ่งใหญ่๑- ด้วยการเสียสละสุขอันเล็กน้อย นักปราชญ์พึงเสียสละสุขอันเล็กน้อย เพื่อเห็นแก่สุขอันยิ่งใหญ่๒-
๒. กุกกุฏัณฑขาทิกาวัตถุ
เรื่องกุมาริกากินไข่ไก่
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่นางยักษิณีและนางกุลธิดา ดังนี้) [๒๙๑] ผู้ใดปรารถนาสุขเพื่อตน ด้วยการก่อทุกข์ให้คนอื่น ผู้นั้นต้องเกี่ยวพันกับเวร ไม่พ้นจากเวรไปได้ @เชิงอรรถ : @ สุขอันยิ่งใหญ่ ในที่นี้หมายถึงความสุขในนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๗/๙๗) @ ดู ขุ.ขุ. แปลในเล่มนี้ ข้อ ๑๘ หน้า ๑๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๑. ปกิณณกวรรค ๔. ลกุณฏกภัททิยวัตถุ

๓. ภัททิยภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุชาวเมืองภัททิยะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุชาวเมืองภัททิยะผู้ขวนขวายในการ ประดับเขียงเท้า ดังนี้) [๒๙๒] ภิกษุเหล่าใดละทิ้งกิจที่ควรทำ๑- แต่กลับทำกิจที่ไม่ควรทำ๒- อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้ถือตัวจัด มัวแต่ประมาท [๒๙๓] ส่วนภิกษุเหล่าใดมีสติตั้งมั่นในกาย๓- เป็นนิตย์ ภิกษุเหล่านั้นหมั่นทำความเพียรในกิจที่ควรทำ ไม่ทำกิจที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายของเธอผู้มีสติสัมปชัญญะ ย่อมถึงการสูญสิ้นไป
๔. ลกุณฏกภัททิยวัตถุ
เรื่องพระลกุณฏกภัททิยะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๒๙๔] บุคคลฆ่ามารดา๔- ฆ่าบิดา๕- ฆ่ากษัตราธิราชทั้ง ๒ พระองค์ได้๖- @เชิงอรรถ : @ กิจที่ควรทำ หมายถึงการรักษาศีล การอยู่ป่า การถือธุดงควัตร และการเจริญภาวนา (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๐๐) @ กิจที่ไม่ควรทำ หมายถึงการประดับร่ม รองเท้า เขียงเท้า บาตร ถลกบาตร ประคตเอว และอังสะ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๐๐-๑๐๑) @ มีสติตั้งมั่นในกาย หมายถึงเจริญกายคตาสติกัมมัฏฐาน (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๐๑) @ มารดา หมายถึงตัณหาที่เป็นเหตุให้สัตว์เกิดในภพทั้งสาม (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๐๒) @ บิดา หมายถึงอัสมิมานะ (การถือตัวว่าเป็นเรา) (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๐๒) @ กษัตราธิราชทั้ง ๒ พระองค์ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) และอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่า @ขาดสูญ) (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๑. ปกิณณกวรรค ๕. ทารุสากฏิกวัตถุ

ฆ่าชาวแว่นแคว้น๑- พร้อมเจ้าพนักงาน๒- แล้ว ดำเนินชีวิตเป็นพราหมณ์๓- อยู่อย่างไร้ทุกข์ [๒๙๕] บุคคลฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่ากษัตราธิราชทั้ง ๒ พระองค์ได้ ทำลายทางเสือผ่านที่ ๕ ๔- ได้ ดำเนินชีวิตเป็นพราหมณ์อยู่อย่างไร้ทุกข์
๕. ทารุสากฏิกวัตถุ
เรื่องนายทารุสากฏิกะ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระราชา และนายทารุสากฏิกะ พร้อมครอบครัว ดังนี้) [๒๙๖] เหล่าพระสาวกของพระโคดม มีสติตั้งมั่นในพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชื่อว่าตื่นด้วยดีอยู่เสมอ [๒๙๗] เหล่าพระสาวกของพระโคดม มีสติตั้งมั่นในพระธรรมเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชื่อว่าตื่นด้วยดีอยู่เสมอ @เชิงอรรถ : @ แว่นแคว้น หมายถึงอายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง @กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๐๓) @ เจ้าพนักงาน หมายถึงนันทิราคะ (ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี) (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๐๓) @ พราหมณ์ หมายถึงพระขีณาสพ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๐๓) @ ทางเสือผ่านที่ ๕ หมายถึงวิจิกิจฉานิวรณ์ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๑. ปกิณณกวรรค ๖. วัชชีปุตตกภิกขุวัตถุ

[๒๙๘] เหล่าพระสาวกของพระโคดม มีสติตั้งมั่นในพระสงฆ์เป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชื่อว่าตื่นด้วยดีอยู่เสมอ [๒๙๙] เหล่าพระสาวกของพระโคดม มีสติตั้งมั่นในกายเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชื่อว่าตื่นด้วยดีอยู่เสมอ [๓๐๐] เหล่าพระสาวกของพระโคดม มีใจยินดีในความไม่เบียดเบียน ทั้งกลางวันและกลางคืน ชื่อว่าตื่นด้วยดีอยู่เสมอ [๓๐๑] เหล่าพระสาวกของพระโคดม มีใจยินดีในการเจริญภาวนา ทั้งกลางวันและกลางคืน ชื่อว่าตื่นด้วยดีอยู่เสมอ
๖. วัชชีปุตตกภิกขุวัตถุ
เรื่องภิกษุผู้เป็นโอรสของเจ้าวัชชี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุผู้เป็นโอรสของเจ้าวัชชี ดังนี้) [๓๐๒] การบวชเป็นของยาก๑- ความยินดีในการบำเพ็ญธรรมก็เป็นของยาก @เชิงอรรถ : @ การบวช ที่ชื่อว่า เป็นของยาก เพราะจะต้องสละโภคสมบัติน้อยใหญ่และเครือญาติแล้วมอบกายถวายชีวิต @ในพระศาสนานี้จึงจะบวชได้ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๑. ปกิณณกวรรค ๘. จูฬสุภัททาวัตถุ

เรือนที่ครอบครองไม่ดี ก่อให้เกิดทุกข์๑- การอยู่ร่วมกับคนเสมอกันเป็นทุกข์ การเดินทางไกล๒- ก็เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรเป็นผู้เดินทางไกล และไม่ควรให้ทุกข์ติดตามได้
๗. จิตตคหปติวัตถุ
เรื่องจิตตคหบดี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระอานนทเถระ ดังนี้) [๓๐๓] คนมีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล๓- เพียบพร้อมด้วยยศ๔- และโภคทรัพย์ จะไปสู่ถิ่นใดๆ ย่อมได้รับการบูชาในถิ่นนั้นๆ
๘. จูฬสุภัททาวัตถุ
เรื่องนางจูฬสุภัททา
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่บริษัท ๔ ดังนี้) [๓๐๔] สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์ ฉะนั้น อสัตบุรุษทั้งหลาย ณ ที่นี้ย่อมไม่ปรากฏ เหมือนลูกศรที่ยิงไปในเวลากลางคืน ฉะนั้น๕- @เชิงอรรถ : @ หมายถึงผู้ครองเรือนจะต้องปฏิบัติราชกิจของพระราชา หรือกิจของอิสรชน จะต้องสงเคราะห์ชนข้างเคียง @และให้ทานแก่สมณพราหมณ์ เพราะฉะนั้น การครองเรือนจะให้สมบูรณ์เต็มที่เป็นไปได้ยาก ถ้าครองเรือน @ไม่ดี ก็ก่อให้เกิดทุกข์ได้ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๐๙) @ การเดินทางไกล หมายถึงการท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๑๐) @ ศีล ในที่นี้หมายถึงศีลสำหรับผู้ครองเรือน (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๑๑) @ ยศ ในที่นี้หมายถึงความมีบริวาร (ขุ.ธ.อ. ๗/๑๑๑) @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๙๑/๕๔๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท ๒๒. นิรยวรรค ๑. สุนทรีปริพาชิกาวัตถุ

๙. เอกวิหาริเถรวัตถุ
เรื่องพระเถระผู้อยู่รูปเดียว
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓๐๕] ภิกษุพึงยินดีการนั่งผู้เดียว การนอนผู้เดียว๑- ไม่เกียจคร้าน เที่ยวไปตามลำพัง ฝึกฝนอยู่ผู้เดียว และยินดีการอยู่ป่า
ปกิณณกวรรคที่ ๒๑ จบ
๒๒. นิรยวรรค
หมวดว่าด้วยคนทำกรรมชั่วตกนรก
๑. สุนทรีปริพาชิกาวัตถุ
เรื่องปริพาชิกาชื่อสุนทรี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้) [๓๐๖] คนที่ชอบกล่าวคำไม่จริง หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า ‘ฉันไม่ได้ทำ’ ต่างก็ตกนรก คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่ว ตายไปแล้ว มีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า๒- @เชิงอรรถ : @ คำว่า “นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว” มิใช่หมายถึงการอยู่ตามลำพัง แต่หมายถึงการอยู่อย่างไม่ละการมนสิการ @กัมมัฏฐาน เมื่อทำได้อย่างนี้ แม้จะอยู่ท่ามกลางหมู่ภิกษุพันรูป ก็ชื่อว่า นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว @(ขุ.ธ.อ. ๗/๑๑๘) @ ดู อุทาน ข้อ ๓๘ หน้า ๒๔๘, อิติวุตตกะ ข้อ ๔๘ หน้า ๓๙๙, สุตตนิบาต ข้อ ๖๖๗ หน้า ๖๕๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๒๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๒๓-๑๒๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=30              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1035&Z=1079                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=31              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=31&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=24&A=1721              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=25&item=31&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=24&A=1721                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i031-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/25i031-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.21.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/dhp/dhp.21.budd.html https://suttacentral.net/dhp290-305/en/anandajoti https://suttacentral.net/dhp290-305/en/buddharakkhita https://suttacentral.net/dhp290-305/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :