บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๙. นวกนิบาต]
๑. วัฑฒมาตุเถรีคาถา
๙. นวกนิบาต ๑. วัฑฒมาตุเถรีคาถา ภาษิตของพระวัฑฒมาตาเถรี (พระวัฑฒมาตาเถรีเมื่อจะกล่าวตักเตือนพระวัฑฒเถระ จึงได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า) [๒๐๔] ลูกวัฑฒะ กิเลสดุจหมู่ไม้ในป่า ในโลก อย่าได้มีแก่พ่อไม่ว่าในกาลไหนๆ เลย ลูกเอ๋ย ลูกอย่าได้เป็นผู้มีความทุกข์ร่ำไปเลย [๒๐๕] ลูกวัฑฒะ พระมุนีทั้งหลาย ไม่หวั่นไหว ตัดความสงสัยเสียได้ เป็นผู้เย็น ถึงความฝึกฝนแล้วเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่อย่างสบาย [๒๐๖] ลูกวัฑฒะ พ่อพึงพอกพูนมรรค ซึ่งเป็นทางที่ท่านผู้แสวงหาคุณเหล่านั้นประพฤติกันมาแล้ว เพื่อบรรลุญาณทัสนะ เพื่อทำที่สุดทุกข์ (พระวัฑฒะเถระ กล่าวตอบด้วยภาษิตนี้ว่า) [๒๐๗] โยมมารดาบังเกิดเกล้า โยมกล้ากล่าวคาถานี้แก่ลูก โยมมารดา ลูกเข้าใจว่า กิเลสดุจหมู่ไม้ในป่าของโยมมารดาคงไม่มีแน่ละ (พระเถรีกล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า) [๒๐๘] ลูกวัฑฒะ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งเลว ประณีต และปานกลาง กิเลสดุจหมู่ไม้ในป่าในสังขารเหล่านั้นของโยมแม่ อณูหนึ่งก็ดี ขนาดอณูหนึ่งก็ดี ไม่มีเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๘๘}
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา [๙. นวกนิบาต]
๑. วัฑฒมาตุเถรีคาถา
[๒๐๙] เมื่อโยมแม่ไม่ประมาทเพ่งอยู่ อาสวะหมดสิ้นแล้ว โยมแม่บรรลุวิชชา ๓ ได้ทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว (พระเถระเมื่อจะพยากรณ์พระอรหัต ได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า) [๒๑๐] โยมมารดาได้มอบปฏัก คือโอวาทอันโอฬารแก่เราหนอ โยมมารดาของเราได้กล่าวภาษิตที่ประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง เหมือนมารดาผู้อนุเคราะห์อื่นๆ [๒๑๑] ลูกฟังคำพร่ำสอนของโยมมารดาบังเกิดเกล้านั้นแล้ว ถึงความสลดใจในธรรม เพื่อบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากโยคะกิเลส [๒๑๒] เรานั้นถูกโยมมารดาเตือนอยู่ มีใจเด็ดเดี่ยว ด้วยการบำเพ็ญเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน ได้สัมผัสความสงบอย่างยอดเยี่ยมแล้วนวกนิบาต จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๕๘๙}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๕๘๘-๕๘๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=26&siri=463 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=9478&Z=9506 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=463 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=463&items=1 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=34&A=4678 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=463&items=1 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=34&A=4678 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thig9.1/en/sujato
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]