บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]
๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาผู้คลุกคลีกับชาย เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา [๑๑๕๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สิกขมานา ชื่อจัณฑกาลีผู้คลุกคลีกับชาย คลุกคลีกับเด็ก ดุร้าย ผู้ทำชายให้ระทมโศก บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉน แม่เจ้าถุลลนันทาจึงบวชให้สิกขมานาชื่อจัณฑกาลีผู้คลุกคลีกับชาย คลุกคลีกับเด็ก ดุร้าย ผู้ทำชายให้ระทมโศกเล่า ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้ สิกขมานาชื่อจัณฑกาลีผู้คลุกคลีกับชาย คลุกคลีกับเด็ก ดุร้าย ผู้ทำชายให้ระทมโศก จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงบวชให้สิกขมานาชื่อ จัณฑกาลีผู้คลุกคลีกับชาย คลุกคลีกับเด็ก ดุร้าย ผู้ทำชายให้ระทมโศกเล่า ภิกษุ ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่ เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้พระบัญญัติ [๑๑๕๙] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สิกขมานาผู้คลุกคลีกับชาย คลุกคลีกับเด็ก ดุร้าย ผู้ทำชายให้ระทมโศก ต้องอาบัติปาจิตตีย์เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๔๗}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]
๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์ [๑๑๖๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ชาย ได้แก่ ชายผู้มีอายุถึง ๒๐ ปี ที่ชื่อว่า เด็ก ได้แก่ ชายผู้มีอายุไม่ถึง ๒๐ ปี ที่ชื่อว่า ผู้คลุกคลี คือ คลุกคลีด้วยกิริยาทางกายและวาจาที่ไม่เหมาะสม ที่ชื่อว่า ดุร้าย พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผู้มักโกรธ ที่ชื่อว่า ผู้ทำชายให้ระทมโศก คือ ผู้ก่อทุกข์ คือ นำความโศกให้แก่ชายอื่น ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สามเณรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้ ภิกษุณีตั้งใจว่า จะบวชให้ แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร หรือ สมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏอนาปัตติวาร ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๑๖๑] ๑. ภิกษุณีไม่รู้จึงบวชให้ ๒. ภิกษุณีวิกลจริต ๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๙ จบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๔๘}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๔๗-๓๔๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=107 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=5887&Z=5927 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=429 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=429&items=3 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11823 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=429&items=3 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11823 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.429 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc79/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc79/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]