ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ นิทานวัตถุ

๘. กุมารีภูตวรรค
สิกขาบทที่ ๑๑
ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๑๖๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทานิมนต์ภิกษุเถระทั้งหลาย ให้ประชุมกันด้วยกล่าวว่า “ดิฉันจักบวชให้สิกขมานา” ครั้นเห็นของเคี้ยวของฉัน จำนวนมาก จึงนิมนต์พระเถระทั้งหลายให้กลับไปด้วยกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ดิฉัน จะยังไม่บวชสิกขมานา” แล้วนิมนต์พระเทวทัต พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตตะให้ประชุมกันบวชให้สิกขมานา บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงบวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะเล่า๑-” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้ สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระ พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุ ถุลลนันทาจึงบวชให้สิกขมานาด้วยปาริวาสิกฉันทะเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @ “ด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ” ด้วยให้ความเห็นชอบของภิกษุค้าง หมายถึงภิกษุณีเป็นเจ้ากี้เจ้าการให้ @ภิกษุสละฉันทะโดยยินยอมบ้าง ไม่ยินยอมบ้าง แล้วนิมนต์ภิกษุกลุ่มอื่นมาทำกรรมนั้นใหม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๕๑}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๑๑๖๗] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ๑- ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๖๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า ด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ คือ เมื่อที่ประชุมเลิกไปแล้ว๒- ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สามเณรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด ๒ ปี คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้ ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ @เชิงอรรถ : @ การให้ปาริวาสิกฉันทะ ให้ฉันทะค้าง คือภิกษุทั้งหลายประชุมกันทำสังฆกรรมแต่ล้มเลิกสละฉันทะ @เสียเพราะเหตุบางอย่าง ถ้าจะทำสังฆกรรมนั้นใหม่ ต้องนำฉันทปาริสุทธิของภิกษุผู้ควรให้ฉันทปาริสุทธิมา @จึงควรทำสังฆกรรมนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายล้มเลิกสละฉันทะในสังฆกรรมแล้วภิกษุณีจัดการให้ทำสังฆกรรม @นั้นใหม่ โดยไม่นำฉันทปาริสุทธิมา ชื่อว่าให้ทำไปด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ (กงฺขา.อ. ๔๐๓-๔๐๔) @ เมื่อสมาชิกที่ประชุมสละฉันทะล้มเลิก หรือลุกขึ้นด้วยเพียงแต่สละฉันทะด้วยกายหรือวาจา ชื่อว่าให้ @ปาริวาสิกฉันทะ (วิ.อ. ๒/๑๑๖๘/๕๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๕๒}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๑๖๙] ๑. ภิกษุณีผู้บวชให้เมื่อบริษัทยังไม่เลิก๑- ๒. ภิกษุณีวิกลจริต ๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงยังไม่สละฉันทะ ยังไม่เลิกประชุม (วิ.อ. ๒/๑๑๖๙/๕๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๓๕๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๕๑-๓๕๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=109              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=5967&Z=6003                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=435              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=435&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11846              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=435&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11846                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.435 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc81/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc81/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :