บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]
๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ เรื่องภิกษุณีหลายรูป [๑๐๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีหลายรูปออกพรรษาแล้ว ในอาวาสใกล้หมู่บ้าน พากันไปกรุงสาวัตถี ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุณี เหล่านั้นดังนี้ว่า แม่เจ้าทั้งหลายจำพรรษาที่ไหน โอวาทสัมฤทธิ์ผลดีละหรือ ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า แม่เจ้า ในอาวาสที่พวกเราจำพรรษาไม่มีภิกษุเลย โอวาทจักสัมฤทธิ์ผลดีจากที่ไหนกัน บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉน พวกภิกษุณีจึงจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุเล่า๑- ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำ เรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีจำพรรษาในอาวาส ที่ไม่มีภิกษุ จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระ ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงจำพรรษาใน อาวาสที่ไม่มีภิกษุเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ แล้วจึงรับสั่ง ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @๑ อาวาสที่ไม่มีภิกษุ หมายถึงสำนักภิกษุณีที่ไม่มีภิกษุผู้จะให้โอวาทอยู่ภายในระยะ ๑ โยชน์ หรือ @เส้นทางที่จะไปยังสำนักภิกษุณีนั้น ไม่ปลอดภัย ไม่สะดวก ภิกษุไม่สามารถเดินทางไปให้โอวาทได้ @(วิ.อ. ๒/๑๔๙/๓๒๑, กงฺขา.อ. ๓๙๑) ไม่ได้หมายถึงอาวาสเดียวกันกับภิกษุ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๗๙}
พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]
๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ [๑๐๔๗] ก็ภิกษุณีใดจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ สิกขาบทวิภังค์ [๑๐๔๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ อาวาสที่ชื่อว่า ไม่มีภิกษุ ได้แก่ อาวาสที่ภิกษุณีไม่สามารถไปรับโอวาท หรือธรรมอันเป็นเหตุอยู่ร่วมกันได้๑- ภิกษุณีตั้งใจว่า จะจำพรรษา แล้วจัดแจงเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ กวาดบริเวณ ต้องอาบัติทุกกฏ พออรุณขึ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์อนาปัตติวาร ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๐๔๙] ๑. ภิกษุณีจำพรรษาในอาวาสที่มีภิกษุอยู่จำพรรษา หลีกไป สึก มรณภาพหรือไปเข้ารีตเดียรถีย์ ๒. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง ๓. ภิกษุณีวิกลจริต ๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติสิกขาบทที่ ๖ จบ @เชิงอรรถ : @๑ โอวาท หมายถึงครุธรรม ๘ ธรรมอันเป็นเหตุอยู่ร่วมกัน หมายถึงการสอบถามอุโบสถและปวารณา @(วิ.อ. ๒/๑๐๔๘/๕๑๓, ดู ข้อ ๑๐๕๖ หน้า ๒๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๘๐}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๗๙-๒๘๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=3&siri=84 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=4712&Z=4746 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=349 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=349&items=3 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11705 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=349&items=3 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11705 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.349 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc56/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc56/en/horner
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]