ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑๐. มัณฑเปยยกถา

๑๐. มัณฑเปยยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์ที่ใสและน่าดื่ม
[๒๓๘] ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ใสและน่าดื่ม เมื่อพระศาสดายังปรากฏ อยู่ ความใสมี ๓ ประการ คือ ๑. ความใสคือเทศนา ๒. ความใสคือผู้รับ ๓. ความใสคือพรหมจรรย์ ความใสคือเทศนา เป็นอย่างไร คือ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ สัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ฯลฯ พละ ๕ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ การบอก การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การทำให้ง่ายซึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นความใสคือเทศนา (๑) ความใสคือผู้รับ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ หรือท่านผู้รู้แจ้ง พวกใดพวกหนึ่ง นี้เป็นความใสคือผู้รับ (๒) ความใสคือพรหมจรรย์ เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ นี้เป็นความใสคือพรหมจรรย์ (๓) [๒๓๙] ความใสคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความไม่มีศรัทธาเป็น กาก๑- บุคคลทิ้งความไม่มีศรัทธาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความน้อมใจเชื่อของ สัทธินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สัทธินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม @เชิงอรรถ : @ เป็นกาก หมายถึงเป็นของขุ่นมัวเว้นจากความผ่องใส (ขุ.ป.อ. ๒/๒๓๙/๒๑๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑๐. มัณฑเปยยกถา

ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยินทรีย์ ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคล ทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของวิริยินทรีย์ เพราะเหตุนั้น วิริยินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความ ประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสตินทรีย์ เพราะเหตุนั้น สตินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคลทิ้ง อุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธินทรีย์ เพราะ เหตุนั้น สมาธินทรีย์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือการเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ อวิชชาเป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอัน เป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเห็นของปัญญินทรีย์ เพราะเหุตนั้น ปัญญินทรีย์ จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความ ไม่มีศรัทธาเป็นกาก บุคคลทิ้งความไม่มีศรัทธาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือ ความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาของสัทธาพละ เพราะเหตุนั้น สัทธาพละ จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความ เกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความ ไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้านของวิริยพละ เพราะเหตุนั้น วิริยพละจึงชื่อว่ามี ความใสและน่าดื่ม ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความ ประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ หวั่นไหวเพราะความไม่ประมาทของสติพละ เพราะเหตุนั้น สติพละจึงชื่อว่ามีความ ใสและน่าดื่ม ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคลทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะของ สมาธิพละ เพราะเหตุนั้น สมาธิพละจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๐๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑๐. มัณฑเปยยกถา

ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ อวิชชาเป็นกาก บุคคลทิ้งอวิชชาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชาของ ปัญญาพละ เพราะเหตุนั้น ปัญญาพละจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความประมาทเป็นกาก บุคคลทิ้งความประมาทอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสติสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น สติสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อวิชชาเป็นกาก บุคคล ทิ้งอวิชชาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเลือกเฟ้นของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความเกียจคร้านเป็นกาก บุคคลทิ้งความเกียจคร้านอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของวิริย- สัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น วิริยสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความเร่าร้อนเป็นกาก บุคคล ทิ้งความเร่าร้อนอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความแผ่ซ่านของปีติสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น ปีติสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความชั่วหยาบเป็นกาก บุคคล ทิ้งความชั่วหยาบอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความสงบของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ อุทธัจจะเป็นกาก บุคคล ทิ้งอุทธัจจะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การไม่พิจารณาเป็นกาก บุคคลทิ้งการไม่พิจารณาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการพิจารณาของอุเบกขา- สัมโพชฌงค์ เพราะเหตุนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาทิฏฐิ อันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการเห็นของสัมมาทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น สัมมาทิฏฐิ จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๐๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑๐. มัณฑเปยยกถา

ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาสังกัปปะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตรึกตรองของสัมมา- สังกัปปะ เพราะเหตุนั้น สัมมาสังกัปปะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มิจฉาวาจาเป็นกาก บุคคลทิ้ง มิจฉาวาจาอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการกำหนดของสัมมาวาจา เพราะเหตุนั้น สัมมาวาจาจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ มิจฉากัมมันตะเป็นกาก บุคคล ทิ้งมิจฉากัมมันตะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือสมุฏฐานของสัมมากัมมันตะ เพราะ เหตุนั้น สัมมากัมมันตะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มิจฉาอาชีวะเป็นกาก บุคคล ทิ้งมิจฉาอาชีวะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความผ่องแผ้วของสัมมาอาชีวะ เพราะเหตุนั้น สัมมาอาชีวะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ มิจฉาวายามะเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาวายามะอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือการประคองไว้ของสัมมาวายามะ เพราะเหตุนั้น สัมมาวายามะจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มิจฉาสติเป็นกาก บุคคลทิ้งมิจฉาสติ อันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความตั้งมั่นของสัมมาสติ เพราะเหตุนั้น สัมมาสติ จึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นกาก บุคคล ทิ้งมิจฉาสมาธิอันเป็นกากแล้วดื่มความใสคือความไม่ฟุ้งซ่านของสัมมาสมาธิ เพราะ เหตุนั้น สัมมาสมาธิจึงชื่อว่ามีความใสและน่าดื่ม [๒๔๐] ความใสมีอยู่ ความน่าดื่มมีอยู่ กากก็มีอยู่ ความใสคือความน้อม ใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความไม่มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส๑- ธรรมรส๒- วิมุตติรส๓- ในสัทธินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม @เชิงอรรถ : @ อรรถรส หมายถึงสามัญญผล ๔ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖) @ ธรรมรส หมายถึงมรรค ๔ คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖) @ วิมุตติรส หมายถึงอมตนิพพาน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๓๕/๔๓๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๐๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑๐. มัณฑเปยยกถา

ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยินทรีย์ ความเกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความประมาทเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสตินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธินทรีย์ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือความเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ อวิชชาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในปัญญินทรีย์นั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความไม่ มีศรัทธาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัทธาพละนั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความ เกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยพละนั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความประมาท เป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสติพละนั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธิพละนั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ อวิชชาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในปัญญาพละนั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความประมาทเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสติสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อวิชชาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความเกียจคร้านเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในวิริยสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความเร่าร้อนเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในปีติสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑๐. มัณฑเปยยกถา

ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความชั่วหยาบเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ อุทธัจจะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การไม่พิจารณาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาทิฏฐินั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ มิจฉาสังกัปปะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาสังกัปปะนั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา มิจฉาวาจาเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาวาจานั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ มิจฉากัมมันตะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมากัมมันตะนั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ มิจฉาอาชีวะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาอาชีวะนั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ มิจฉาวายามะเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาวายามะนั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือการตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ มิจฉาสติเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาสตินั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิเป็นกาก อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรสในสัมมาสมาธินั้นเป็นความน่าดื่ม ความใสคือการเห็น ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ ความใสคือความตรึกตรอง ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ ความใสคือการกำหนด ชื่อว่าสัมมาวาจา ความใสคือสมุฏฐาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑๐. มัณฑเปยยกถา

ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ ความใสคือความผ่องแผ้ว ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ ความใสคือ การประคองไว้ ชื่อว่าสัมมาวายามะ ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสติ ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสัมมาสมาธิ ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ความใสคือการเลือกเฟ้น ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ ความใสคือ ความแผ่ซ่าน ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ ความใสคือความสงบ ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ ความใสคือการพิจารณา ชื่อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าสัทธาพละ ความใส คือความไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ชื่อว่าวิริยพละ ความใสคือความไม่ หวั่นไหวเพราะความประมาท ชื่อว่าสติพละ ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ชื่อว่าสมาธิพละ ความใสคือความไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าปัญญาพละ ความใสคือความน้อมใจเชื่อ ชื่อว่าสัทธินทรีย์ ความใสคือการประคองไว้ ชื่อว่า วิริยินทรีย์ ความใสคือความตั้งมั่น ชื่อว่าสตินทรีย์ ความใสคือความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า สมาธินทรีย์ ความใสคือการเห็น ชื่อว่าปัญญินทรีย์ ความใสที่ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ความใสที่ชื่อว่าพละ เพราะ มีสภาวะไม่หวั่นไหว ความใสที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก ความใสที่ชื่อว่า มรรค เพราะมีสภาวะเป็นเหตุ ความใสที่ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ความใสที่ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมีสภาวะเริ่มตั้งไว้ ความใสที่ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะให้สำเร็จ ความใสที่ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ความใส ที่ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ความใสที่ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ความใสที่ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมี สภาวะไม่ล่วงเลยกัน ความใสที่ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวม ความใสที่ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ความใสที่ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมี สภาวะเห็น ความใสที่ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะมีสภาวะหลุดพ้น ความใสที่ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง ความใสที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะปล่อย ความใสที่ชื่อว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

รวมกถาที่มีในวรรค

ญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด ความใสที่ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะ มีสภาวะสงบ ความใสที่ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูล ความใสที่ชื่อว่า มนสิการ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ความใสที่ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะเป็น ที่ประชุม ความใสที่ชื่อว่าเวทนา เพราะมีสภาวะเป็นที่รวม ความใสที่ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน ความใสที่ชื่อว่าสติ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ความใส ที่ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ความใสที่ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร ความใสที่ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน เพราะ มีสภาวะเป็นที่สุด ฉะนี้แล
มัณฑเปยยกถา จบ
จตุตถภาณวาร จบ
มหาวรรคที่ ๑ จบ
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ญาณกถา ๒. ทิฏฐิกถา ๓. อานาปานัสสติกถา ๔. อินทริยกถา ๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา ๗. กัมมกถา ๘. วิปัลลาสกถา ๙. มัคคกถา ๑๐. มัณฑเปยยกถา วรรคที่ ๑ นี้เป็นวรรคอันยอดเยี่ยม ไม่มีวรรคอื่นเสมอ ท่านผู้ทรงนิกาย ตั้งไว้แล้ว ฉะนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๑๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๔๐๕-๔๑๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=69              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7373&Z=7563                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=530              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=530&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=4760              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=530&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=4760                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :