ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

[๒๙] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ ธรรม ๑ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ ธรรม ๒ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑ ธรรม ๓ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิชชา ๓ ธรรม ๔ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ สามัญญผล ๔ ธรรม ๕ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ ธรรมขันธ์ ๕ ๑- ธรรม ๖ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อภิญญา ๖ ธรรม ๗ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ ขีณาสวพละ ๗ ธรรม ๘ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ วิโมกข์ ๘ ธรรม ๙ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อนุปุพพนิโรธ ๙ ๒- ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง คือ อเสขธรรม ๑๐ ๓- ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง สิ่งทั้งปวงที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร คือ จักขุควรทำให้แจ้ง รูปควรทำให้แจ้ง จักขุวิญญาณควรทำให้แจ้ง จักขุ- สัมผัสควรทำให้แจ้ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ จักขุสัมผัสเป็นปัจจัยควรทำให้แจ้ง โสตะควรทำให้แจ้ง สัททะ ฯลฯ ฆานะควรทำให้แจ้ง คันธะ ฯลฯ ชิวหาควรทำให้แจ้ง รส ฯลฯ กายควรทำให้แจ้ง โผฏฐัพพะ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ ธรรมขันธ์ ๕ ได้แก่ (๑) สีลขันธ์ (๒) สมาธิขันธ์ (๓) ปัญญาขันธ์ (๔) วิมุตติขันธ์ (๕) วิมุตติญาณ- @ทัสสนขันธ์ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๙/๑๔๗) @ อนุปุพพนิโรธ ๙ ได้แก่ (๑) กามสัญญา (๒) วิตกวิจาร (๓) ปีติ (๔) ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ (๕) รูปสัญญา @(๖) อากาสานัญจายตนสัญญา (๗) วิญญาณัญจายตนสัญญา (๘) อากิญจัญญายตนสัญญา (๙) สัญญาและ @เวทนา (ขุ.ป.อ. ๑/๒๙/๑๔๙) @ อเสขธรรม ๑๐ ได้แก่ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาสังกัปปะ (๓) สัมมาวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ @(๕) สัมมาอาชีวะ (๖) สัมมาวายามะ (๗) สัมมาสติ (๘) สัมมาสมาธิ (๙) สัมมาญาณ (๑๐) สัมมาวิมุตติ @(ขุ.ป.อ. ๑/๒๙/๑๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

มโนควรทำให้แจ้ง ธรรมารมณ์ควรทำให้แจ้ง มโนวิญญาณควรทำให้แจ้ง มโนสัมผัสควรทำให้แจ้ง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยควรทำให้แจ้ง พระโยคาวจรเมื่อเห็นรูป ชื่อว่าย่อมทำให้แจ้ง (ด้วยการทำให้เป็นอารมณ์) เมื่อเห็นเวทนา ฯลฯ เมื่อเห็นสัญญา ฯลฯ เมื่อเห็นสังขาร ฯลฯ เมื่อเห็นวิญญาณ ฯลฯ เมื่อเห็นจักขุ ฯลฯ เมื่อเห็นชราและมรณะ ฯลฯ เมื่อเห็นธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือ นิพพาน เพราะมีสภาวะเป็นที่สุด ชื่อว่าย่อมทำให้แจ้ง (ด้วยการทำให้เป็นอารมณ์) ธรรมใดๆ ที่ทำให้แจ้งแล้ว ธรรมนั้นๆ เป็นธรรมที่ถูกต้องแล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควร ทำให้แจ้ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (๕) [๓๐] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ ธรรม เหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า สุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ พระโยคาวจรผู้ได้ปฐมฌาน มีสัญญา (ความหมายรู้) และมนสิการ (การ ทำไว้ในใจ) ที่ประกอบด้วยกามเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติ๑- ที่เป็น ธรรมสมควรแก่ปฐมฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและ มนสิการที่ไม่ประกอบด้วยวิตกเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและ มนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(ความเบื่อหน่าย)(และ)วิราคะ(ความคลายกำหนัด) เกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส พระโยคาวจรผู้ได้ทุติยฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยวิตกเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่ทุติยฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรม @เชิงอรรถ : @ สติ ในที่นี้หมายถึงนิกันติ (ความติดใจ) (ขุ.ป.อ. ๑/๓๐/๑๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

นี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขาและสุขเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ) วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส พระโยคาวจรผู้ได้ตติยฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยปีติและสุข เกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่ตติยฌานนั้น ตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ ด้วยอทุกขมสุขเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ ประกอบด้วยนิพพิทา (และ) วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส พระโยคาวจรผู้ได้จตุตถฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยอุเบกขา เกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่จตุตถฌานนั้น ตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วย อากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการ ที่ประกอบด้วยนิพพิทา (และ) วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส พระโยคาวจรผู้ได้อากาสานัญจายตนฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ ด้วยรูปเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรมสมควรแก่ อากาสานัญจายตนฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและ มนสิการที่ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วน แห่งการชำแรกกิเลส พระโยคาวจรผู้ได้วิญญาณัญจายตนฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ ด้วยอากาสานัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็น ธรรมสมควรแก่วิญญาณัญจายตนฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วน แห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส พระโยคาวจรผู้ได้อากิญจัญญายตนฌาน มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบ ด้วยวิญญาณัญจายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความเสื่อม มีสติที่เป็นธรรม สมควรแก่อากิญจัญญายตนฌานนั้นตั้งอยู่ ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ มีสัญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค]

๑. ญาณกถา ๑. สุตมยญาณนิทเทส

และมนสิการที่ประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วน แห่งคุณวิเศษ มีสัญญาและมนสิการที่ประกอบด้วยนิพพิทา(และ)วิราคะเกิดขึ้น ธรรมนี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ชื่อว่าญาณ เพราะมีสภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่ง ความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า สุตมยญาณ (๔-๙)


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๔๖-๔๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=31&siri=9              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=721&Z=799                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=77              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=77&items=2              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=47&A=3281              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=77&items=2              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=47&A=3281                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :