ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑

อกุศลบท
อกุศลจิต ๑๒
อกุศลจิตดวงที่ ๑
[๓๖๕] สภาวธรรมที่เป็นอกุศล เป็นไฉน จิตที่เป็นอกุศล สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ มี เสียงเป็นอารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล [๓๖๖] ผัสสะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความกระทบ กิริยาที่กระทบ กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้อง ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าผัสสะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๖๗] เวทนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนธาตุที่เหมาะ สมกัน ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเวทนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๖๘] สัญญา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสัญญาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๖๙] เจตนา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความจงใจ กิริยาที่จงใจ ภาวะที่จงใจ อันเกิดแต่สัมผัสแห่งมโนวิญญาณธาตุ ที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเจตนาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑

[๓๗๐] จิต ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าจิตที่เกิดขึ้น ในสมัยนั้น [๓๗๑] วิตก ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะใน สมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิตกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๗๒] วิจาร ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตรอง ความพิจารณา ความตามพิจารณา ความเข้าไปพิจารณา ความที่จิตสืบต่ออารมณ์ ความที่จิตเพ่งอารมณ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิจารที่เกิดขึ้น ในสมัยนั้น [๓๗๓] ปีติ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความอิ่มเอิบ ความปราโมทย์ ความยินดีอย่างยิ่ง ความบันเทิง ความร่าเริง ความรื่นเริง ความปลื้มใจ ความตื่นเต้น ความที่จิตชื่นชมยินดี ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า ปีติที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๗๔] สุข ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อัน เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสในสมัย นั้น นี้ชื่อว่าสุขที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๗๕] เอกัคคตา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ ไม่ฟุ้งซ่าน ภาวะที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าเอกัคคตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๗๖] วิริยินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑

การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่ง มั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยินทรีย์ที่เกิดขึ้นใน สมัยนั้น [๓๗๗] สมาธินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ใน สมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมาธินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๗๘] มนินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ และมโนวิญญาณธาตุที่เหมาะสมกัน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามนินทรีย์ที่ เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๗๙] โสมนัสสินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุขอัน เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัย นั้น นี้ชื่อว่าโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๘๐] ชีวิตินทรีย์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไป กิริยาที่ให้เป็นไป อาการที่สืบเนื่องกัน ความดำเนินไป ความหล่อเลี้ยง ชีวิต ชีวิตินทรีย์แห่งสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปเหล่านั้น ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าชีวิตินทรีย์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๘๑] มิจฉาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ทิฏฐิ ความเห็นผิด รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นอันเป็นข้าศึก ต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยคลาดเคลื่อน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑

[๓๘๒] มิจฉาสังกัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกโดยอาการต่างๆ ความดำริ ความที่จิตแนบแน่นใน อารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาสังกัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๘๓] มิจฉาวายามะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาวายามะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๘๔] มิจฉาสมาธิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัย นั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาสมาธิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๘๕] วิริยพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความมุ่งมั่น อย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าวิริยพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๘๖] สมาธิพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า สมาธิพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๘๗] อหิริกพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ ไม่ละอายต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า อหิริกพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑

[๓๘๘] อโนตตัปปพละ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่ ไม่เกรงกลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า อโนตตัปปพละที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๘๙] โลภะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความกำหนัด กิริยาที่กำหนัด ภาวะที่ กำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโลภะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๙๐] โมหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตาม ความเป็นจริง ความไม่รู้แจ้งตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงอย่าง รอบครอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา การไม่ทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความหลุ่มหลง ความหลงไหล อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย ปริยุฏฐานกิเลสคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าโมหะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๙๑] อภิชฌา ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ ความกำหนัด กิริยาที่กำหนัด ภาวะที่ กำหนัด ความเพ่งเล็ง อกุศลมูลคือโลภะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าอภิชฌาที่เกิดขึ้นใน สมัยนั้น [๓๙๒] มิจฉาทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ทิฏฐิ ความเห็นผิด รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นที่เป็นข้าศึกต่อ สัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความ ตั้งมั่น ความยึดผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิที่เป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยคลาดเคลื่อน ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๙๓] อหิริกะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน กิริยาที่ไม่ละอายต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรละอาย กิริยาที่ ไม่ละอายต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า อหิริกะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๑

[๓๙๔] อโนตตัปปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน กิริยาที่ไม่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริตอันเป็นสิ่งที่ควรเกรงกลัว กิริยาที่ไม่ เกรงกลัวต่อการประกอบสภาวธรรมที่เป็นอกุศลซึ่งเป็นบาป ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่า อโนตตัปปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๙๕] สมถะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความ ไม่ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสมถะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๙๖] ปัคคาหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความขวนขวาย ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความ มุ่งมั่นอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความเอาใจ ใส่ธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ มิจฉาวายามะ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าปัคคาหะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น [๓๙๗] อวิกเขปะ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่าย ความไม่ ฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ มิจฉาสมาธิ ใน สมัยนั้น นี้ชื่อว่าอวิกเขปะที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิง อาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ อาหาร ๓ อินทรีย์ ๕ ฌานมีองค์ ๕ มรรคมีองค์ ๔ พละ ๔ เหตุ ๒ ผัสสะ ๑ ฯลฯ ธัมมายตนะ ๑ และธัมมธาตุ ๑ ในสมัยนั้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่น ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล ฯลฯ [๓๙๘] สังขารขันธ์ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น เป็นไฉน ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๑๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๑. จิตตุปปาทกัณฑ์]

อกุศลบท อกุศลจิต ๑๒ อกุศลจิตดวงที่ ๓

อโนตตัปปพละ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ และอวิกเขปะ หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่น เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ที่เกิด ขึ้นในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอกุศล


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๑๑๐-๑๑๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=36              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=2642&Z=2795                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=275              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=275&items=36              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=7606              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=275&items=36              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=7606                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.1.6/en/caf_rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :