ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ

๔. สัญโญชนโคจฉกะ
๑. สัญโญชนทุกะ
[๑๑๑๘] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน สังโยชน์ ๑๐ คือ ๑. กามราคสังโยชน์ ๒. ปฏิฆสังโยชน์ ๓. มานสังโยชน์ ๔. ทิฏฐิสังโยชน์ ๕. วิจิกิจฉาสังโยชน์ ๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ ๗. ภวราคสังโยชน์ ๘. อิสสาสังโยชน์ ๙. มัจฉริยสังโยชน์ ๑๐. อวิชชาสังโยชน์ [๑๑๑๙] บรรดาสังโยชน์ ๑๐ นั้น กามราคสังโยชน์ เป็นไฉน ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ตัณหา ในกาม สิเนหาในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม ความลุ่มหลงในกาม ความ หมกมุ่นในกาม ในกามทั้งหลาย นี้เรียกว่ากามราคสังโยชน์ [๑๑๒๐] ปฏิฆสังโยชน์ เป็นไฉน ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสีย แก่เรา ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเสื่อมเสีย ฯลฯ กำลังทำความ เสื่อมเสีย ฯลฯ จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา ความ อาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้เคยทำความเจริญ ฯลฯ กำลังทำความเจริญ ฯลฯ จักทำความ เจริญแก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา หรือความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะ อันไม่สมควร จิตอาฆาต ความขัดเคือง ความกระทบกระทั่ง ความแค้น ความเคือง ความขุ่นเคือง ความพล่านไป โทสะ ความคิดประทุษร้าย ความคิดมุ่งร้าย ความ ขุ่นจิต ธรรมชาติที่ประทุษร้ายใจ ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ มีลักษณะ เช่นว่านี้ (และ) ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความพิโรธ ความแค้น ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ปฏิฆสังโยชน์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ

[๑๑๒๑] มานสังโยชน์ เป็นไฉน ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เราเลวกว่าเขา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความยกตน ความอวดตน ความเชิดชูตนดุจธง ความ ยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้ชื่อว่ามานสังโยชน์ [๑๑๒๒] ทิฏฐิสังโยชน์ เป็นไฉน ความเห็นว่าโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระ เป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความ เห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความ ผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือ ผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดย วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าทิฏฐิสังโยชน์ เว้นสีลัพพตปรามาสสังโยชน์แล้ว ความเห็นผิดแม้ทั้งหมดชื่อว่าทิฏฐิสังโยชน์ [๑๑๒๓] วิจิกิจฉาสังโยชน์ เป็นไฉน ปุถุชนย่อมเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความเคลือบแคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ภาวะ ที่เคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่างๆ ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสอง ทาง ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง ความสงสัย ความไม่สามารถถือเอาโดยส่วน เดียวได้ ความคิดส่ายไป ความคิดพร่าไป ความไม่สามารถหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต ความลังเลใจ มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าวิจิกิจฉาสังโยชน์ [๑๑๒๔] สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ เป็นไฉน สมณพราหมณ์ภายนอกแต่ศาสนานี้มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วย ศีล ด้วยพรต ด้วยศีลและพรต ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือ ทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๘๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ

ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียก ว่าสีลัพพตปรามาสสังโยชน์ [๑๑๒๕] ภวราคสังโยชน์ เป็นไฉน ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ ตัณหาในภพ สิเนหาในภพ ความเร่าร้อนเพราะภพ ความลุ่มหลงในภพ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย นี้เรียกว่าภวราคสังโยชน์ [๑๑๒๖] อิสสาสังโยชน์ เป็นไฉน ความริษยา กิริยาที่ริษยา ภาวะที่ริษยา ความกีดกัน กิริยาที่กีดกัน ภาวะ ที่กีดกันในลาภสักการะ ความเคารพ นับถือ ไหว้ และบูชาของคนอื่น นี้ชื่อว่า อิสสาสังโยชน์ [๑๑๒๗] มัจฉริยสังโยชน์ เป็นไฉน มัจฉริยะ ๕ คือ ๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่) ๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล) ๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) ๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ) ๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม) ความตระหนี่ กิริยาที่ตระหนี่ ภาวะที่ตระหนี่ ความหวงแหน ความเหนียวแน่น ความไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เผื่อแผ่แห่งจิต มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่ามัจฉริย- สังโยชน์ [๑๑๒๘] อวิชชาสังโยชน์ เป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ ในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงมี ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ

ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลง โดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความทราม ปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือ โมหะ นี้เรียกว่าอวิชชาสังโยชน์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นสังโยชน์ [๑๑๒๙] สภาวธรรมที่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศลและ อัพยากฤตที่เหลือ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร และที่ไม่นับเนื่องใน วัฏฏทุกข์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นสังโยชน์
๒. สัญโญชนิยทุกะ
[๑๑๓๐] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ [๑๑๓๑] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน มรรค ผลของมรรค ที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
๓. สัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๓๒] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยสังโยชน์ [๑๑๓๓] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ

สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์เหล่านั้น ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณ- ขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจาก สังโยชน์
๔. สัญโญชนสัญโญชนิยทุกะ
[๑๑๓๔] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์ชื่อว่าเป็นสังโยชน์และเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ [๑๑๓๕] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เว้นสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์แล้ว สภาวธรรมที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ เป็น กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นอารมณ์ของสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์
๕. สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๓๖] สภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ เป็นไฉน กามราคสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะกามราคสังโยชน์ ปฏิฆ- สังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์เป็นสังโยชน์ และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และ สัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะมานสังโยชน์ ทิฏฐิสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วย สังโยชน์เพราะอวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ เพราะทิฏฐิสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะ อวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะ วิจิกิจฉาสังโยชน์ สีลัพพตปรามาสสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ สัญโญชนโคจฉกะ

เพราะอวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะ สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะ อวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะภวราค- สังโยชน์ อิสสาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอิสสาสังโยชน์ มัจฉริย- สังโยชน์เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะอวิชชาสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์ เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์เพราะมัจฉริยสังโยชน์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า เป็นสังโยชน์และสัมปยุตด้วยสังโยชน์ [๑๑๓๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์แต่ไม่เป็นสังโยชน์ เป็นไฉน เว้นสภาวธรรมที่เป็นสังโยชน์เหล่านั้นแล้ว สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยสังโยชน์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุตด้วยสังโยชน์ แต่ไม่เป็นสังโยชน์
๖. สัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยทุกะ
[๑๑๓๘] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ คือ สภาวธรรม ที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุต จากสังโยชน์แต่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ [๑๑๓๙] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นไฉน มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากสังโยชน์และไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์
สัญโญชนโคจฉกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๒๙๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๒๘๕-๒๙๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=34&siri=57              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=6337&Z=6467                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=719              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=719&items=17              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=53&A=10696              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=719&items=17              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=53&A=10696                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.2/en/caf_rhysdavids#pts-cs1112



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :