ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

๑๐. โพชฌังควิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๑
[๔๖๖] โพงฌงค์ ๗ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสติ) ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือธัมมวิจยะ) ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือวิริยะ) ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปีติ) ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือปัสสัทธิ) ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือสมาธิ) ๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คืออุเบกขา) [๔๖๗] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง เป็นผู้ระลึกได้ ระลึกถึงกิจที่ทำไว้นานๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นานๆ ได้ นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์ (๑) (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน) ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอยู่อย่างนั้น วิจัย เลือกสรร ทบทวน สอบสวนธรรมนั้น ด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (๒) (วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน) ความเพียร ความไม่ย่อท้อ อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร ทบทวน สอบสวน ธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภแล้ว นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์ (๓) (ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน) ปีติที่ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร นี้เรียกว่า ปีติ- สัมโพชฌงค์ (๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๕๘}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

(ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน) กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่ม ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า ปัสสัทธิ- สัมโพชฌงค์ (๕) (สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน) จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ ผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้เรียกว่า สมาธิ- สัมโพชฌงค์ (๖) (อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน) ภิกษุนั้นเป็นผู้วางเฉยด้วยดีซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า อุเปกขา- สัมโพชฌงค์ (๗)
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๒
[๔๖๘] โพชฌงค์ ๗ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ [๔๖๙] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน สติในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี สติในธรรมภายในตน ก็คือ สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงสติใน ธรรมภายนอกตน ก็คือสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑) ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ความเลือกสรรธรรมในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี ความ เลือกสรรธรรมในธรรมภายในตน ก็คือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงความเลือกสรรธรรมในธรรมภายนอกตน ก็คือ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๕๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์]

๑. สุตตันตภาชนีย์

วิริยสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ความเพียรทางกายก็มี ทางใจก็มี ความเพียรทางกาย ก็คือวิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงความเพียรทางใจ ก็คือ วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๓) ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ปีติที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ปีติที่มีทั้งวิตกและวิจาร ก็คือปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึง ปีติที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ก็คือปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๔) ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน กายปัสสัทธิก็มี จิตตปัสสัทธิก็มี กายปัสสัทธิ ก็คือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงจิตตปัสสัทธิ ก็คือ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๕) สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี ที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจารก็มี สมาธิที่มีทั้งวิตกและ วิจาร ก็คือสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงสมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร ก็คือสมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๖) อุเปกขาสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน อุเบกขาในธรรมภายในตนก็มี ในธรรมภายนอกตนก็มี อุเบกขาในธรรมภายใน ตน ก็คืออุเปกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ถึงอุเบกขาในธรรมภายนอกตน ก็คืออุเปกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๓๖๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๐. โพชฌังควิภังค์]

๒. อภิธรรมภาชนีย์

โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๓
[๔๗๐] โพชฌงค์ ๗ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ [๔๗๑] บรรดาโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (๑) เจริญสติสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง (๒) เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ (๓) เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ (๔) เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ (๕) เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ (๖) เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ (๗) เจริญอุเปกขาสัมโพชฌงค์ ที่อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความปล่อยวาง
สุตตันตภาชนีย์ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๓๕๘-๓๖๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=37              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=7181&Z=7274                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=542              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=542&items=11              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=7871              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=542&items=11              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=7871                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb10/en/thittila



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :