ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์
๕. ปัญจกนิทเทส
[๙๔๐] บรรดาปัญจกมาติกานั้น โอรัมภาคิยสังโยชน์๑- ๕ เป็นไฉน โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ คือ ๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) ๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย ลังเล ไม่แน่ใจ) ๓. สีลัพพตปรามาส (ความยึดมั่นศีลพรต) ๔. กามฉันทะ (ความกำหนัดในกามคุณ) ๕. พยาบาท (ความขัดเคือง แค้นใจ) เหล่านี้ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (๑) อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เป็นไฉน อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ คือ ๑. รูปราคะ (ความกำหนัดในรูป) ๒. อรูปราคะ (ความกำหนัดในอรูป) ๓. มานะ (ความเย่อหยิ่งถือตัว) ๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ๕. อวิชชา (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง) เหล่านี้ชื่อว่าอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (๒) @เชิงอรรถ : @ สังโยชน์เบื้องต่ำเป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพต่ำ คือกามภพ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๐/๕๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๕. ปัญจกนิทเทส

มัจฉริยะ ๕ เป็นไฉน มัจฉริยะ ๕ คือ ๑. อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่) ๒. กุลมัจฉริยะ (ตระหนี่ตระกูล) ๓. ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) ๔. วัณณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ) ๕. ธัมมมัจฉริยะ (ตระหนี่ธรรม) เหล่านี้เรียกว่า มัจฉริยะ ๕ (๓) สังคะ ๕ เป็นไฉน สังคะ ๕ คือ ๑. สังคะคือราคะ (เครื่องข้องคือราคะ) ๒. สังคะคือโทสะ (เครื่องข้องคือโทสะ) ๓. สังคะคือโมหะ (เครื่องข้องคือโมหะ) ๔. สังคะคือมานะ (เครื่องข้องคือมานะ) ๕. สังคะคือทิฏฐิ (เครื่องข้องคือทิฏฐิ) เหล่านี้ชื่อว่าสังคะ ๕ (๔) สัลละ ๕ เป็นไฉน สัลละ ๕ คือ ๑. สัลละคือราคะ (ลูกศรคือราคะ) ๒. สัลละคือโทสะ (ลูกศรคือโทสะ) ๓. สัลละคือโมหะ (ลูกศรคือโมหะ) ๔. สัลละคือมานะ (ลูกศรคือมานะ) ๕. สัลละคือทิฏฐิ (ลูกศรคือทิฏฐิ) เหล่านี้ชื่อว่าสัลละ ๕ (๕) [๙๔๑] เจโตขีละ ๕ เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๕. ปัญจกนิทเทส

เจโตขีละ ๕ คือ ๑. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ๒. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ๓. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์ ๔. บุคคลย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในสิกขา ๕. บุคคลย่อมมีจิตขุ่นเคือง ไม่พอใจ มีจิตกระทบกระทั่ง มีจิตกระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เหล่านี้ชื่อว่าเจโตขีละ ๕ (๖) เจตโสวินิพันธะ ๕ เป็นไฉน เจตโสวินิพันธะ ๕ คือ ๑. บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาม ๒. บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ ปราศจากจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในกาย ๓. บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่ ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความอยากในรูป ๔. บุคคลบริโภคอาหารเต็มท้องตามความต้องการแล้ว ประกอบ ขวนขวาย หาสุขในการนอน สุขในการเอน สุขในการหลับอยู่ ๕. บุคคลปรารถนาจะเกิดในหมู่เทพหมู่หนึ่งแล้วประพฤติพรหม จรรย์ด้วยผูกใจว่า เราจักเป็นเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ หรือเทวดาผู้ มีศักดิ์น้อยองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีล๑นี้ ด้วยวัตรนี้ ด้วยตบะนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เหล่านี้ชื่อว่าเจตโสวินิพันธะ ๕ (๗) @เชิงอรรถ : @ คำว่า “ศีล” ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ คือ ปาติโมกขสังวรศีล อินทริยสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล @และปัจจยสันนิสิตศีล (อภิ.วิ.อ. ๙๔๑/๕๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๕. ปัญจกนิทเทส

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน นิวรณ์ ๕ คือ ๑. กามฉันทนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือกามฉันทะ) ๒. พยาปาทนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือพยาบาท) ๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือถีนมิทธะ) ๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคืออุจธัจจกุกกุจจะ) ๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (ธรรมเป็นเครื่องกั้นความดีคือวิจิกิจฉา) เหล่านี้ชื่อว่านิวรณ์ ๕ (๘) อนันตริยกรรม ๕ เป็นไฉน อนันตริยกรรม ๕ คือ ๑. มาตุฆาต (ฆ่ามารดา) ๒. ปิตุฆาต (ฆ่าบิดา) ๓. อรหันตฆาต (ฆ่าพระอรหันต์) ๔. โลหิตุปบาท (มีจิตประทุษร้ายทำร้ายพระพุทธเจ้าจน ถึงยังพระโลหิตให้ห้อด้วยจิตคิดร้าย) ๕. สังฆเภท (ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน) เหล่านี้ชื่อว่าอนันตริยกรรม ๕ (๙) ทิฏฐิ ๕ เป็นไฉน ทิฏฐิ ๕ คือ ๑. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตามี สัญญา หลังจากตายแล้วเป็นสภาวะที่เที่ยง ๒. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตาไม่ มีสัญญา หลังจากตายแล้วเป็นสภาวะที่เที่ยง ๓. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันดังนี้ว่า อัตตามี สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ หลังจากตายแล้วเป็น สภาวะที่เที่ยง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๕. ปัญจกนิทเทส

๔. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความไม่ปรากฏ ความไม่มีแห่งสัตว์ที่ยังปรากฏมีอยู่ ๕. สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวยืนยันนิพพานในปัจจุบัน เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ ๕ (๑๐) [๙๔๒] เวร ๕ เป็นไฉน เวร ๕ คือ ๑. ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ๓. กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน (ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น ที่ตั้งแห่งความประมาท) เหล่านี้ชื่อว่าเวร ๕ (๑๑) พยสนะ ๕ เป็นไฉน พยสนะ ๕ คือ ๑. ญาติพยสนะ (ความพินาศแห่งญาติ) ๒. โภคพยสนะ (ความพินาศแห่งโภคทรัพย์) ๓. โรคพยสนะ (ความพินาศเพราะโรค) ๔. สีลพยสนะ (ความพินาศแห่งศีล) ๕. ทิฏฐิพยสนะ (ความพินาศแห่งทิฏฐิ) เหล่านี้ชื่อว่าพยสนะ ๕ (๑๒) โทษแห่งความไม่อดทน ๕ เป็นไฉน โทษแห่งความไม่อดทน ๕ คือ ๑. ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของชนมาก ๒. มีเวรมาก ๓. มีโทษมาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๙๖}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๕. ปัญจกนิทเทส

๔. หลงลืมสติตาย ๕. หลังจากตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เหล่านี้ชื่อว่าโทษแห่งความไม่อดทน ๕ (๑๓) ภัย ๕ เป็นไฉน ภัย ๕ คือ ๑. อาชีวกภัย (ภัยเกิดแต่การเลี้ยงชีพ) ๒. อสิโลกภัย (ภัยเกิดแต่การติเตียน) ๓. ปริสสารัชชภัย (ภัยคือความขลาดกลัวเมื่อเข้าสู่ที่ประชุม) ๔. มรณภัย (ภัยเกิดแก่มรณะ) ๕. ทุคคติภัย (ภัยเกิดแต่ทุคติ) เหล่านี้ชื่อว่าภัย ๕ (๑๔) [๙๔๓] ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ เป็นไฉน ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ คือ ๑. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่าน ผู้เจริญ เพราะเหตุที่อัตตานี้เอิบอิ่มเพลิดเพลินอยู่ด้วยกามคุณ ๕ จึงชื่อว่า บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้ ๒. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่ ใช่บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมเพราะเหตุเพียงเท่านี้ เพราะ เหตุไร เพราะกามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา เพราะกามเหล่านั้นแปรผันเป็นอย่างอื่น ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจจึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่อัตตา นี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบัน อันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานใน ปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๙๗}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๕. ปัญจกนิทเทส

๓. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่าน ผู้เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ ไม่ใช่บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะ เหตุไร เพราะวิตกวิจารที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น บัณฑิตกล่าวว่ายังเป็นของ หยาบอยู่ เพราะวิตกและวิจารสงบไปแล้ว อัตตานี้จึงบรรลุทุติยฌานที่ ผ่องใส ฯลฯ จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณะ หรือพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของ สัตว์อย่างนี้ ๔. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า อัตตา ที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่ใช่บรรลุ นิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะเหตุไร เพราะปีติและความลำพองใจที่มีอยู่ในทุติยฌานนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่ายัง หยาบอยู่ เพราะปีติจางคลายไป อัตตานี้ ฯลฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อัตตา นี้จึงชื่อว่าบรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์ พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้ ๕. สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้ เจริญ อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนี้มีอยู่จริง เราไม่ปฏิเสธว่าไม่มี แต่อัตตานี้ไม่ ใช่บรรลุนิพพานในปัจจุบันอันเป็นบรมธรรมด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะ เหตุไร เพราะจิตยังคำนึงถึงสุขมีอยู่ในตติยฌานนั้น บัญฑิตกล่าวว่ายัง หยาบอยู่ เพราะเหตุที่ละสุขและทุกข์เสียได้ อัตตานี้ ฯลฯ จึงบรรลุ จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงชื่อว่า บรรลุนิพพานในปัจจุบันเป็นบรมธรรม สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัตินิพพานในปัจจุบันว่าเป็นบรมธรรมของสัตว์อย่างนี้๑- เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ (๑๕)
ปัญจกนิทเทส จบ
@เชิงอรรถ : @ ที.สี. ๙/๙๔-๙๘/๓๖-๓๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๙๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๙๒-๕๙๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=70              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=12911&Z=13091                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=976              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=35&item=976&items=15              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=12819              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=35&item=976&items=15              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=12819                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb17/en/thittila#pts-s940



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :