ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] กถาวัตถุปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ก) พรหมจริยากถา

๓. (ก) พรหมจริยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์
๑. สุทธพรหมจริยกถา
ว่าด้วยพรหมจรรย์ล้วนๆ
[๒๖๙] สก. ในหมู่เทวดา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑- ใช่ไหม ปร.๒- ใช่๓- สก. เทวดาทั้งหลายเป็นผู้โง่เขลา เบาปัญญา ไม่รู้เดียงสา ใช้ภาษาใบ้ ไม่สามารถจะรู้ความหมายของคำที่กล่าวดีหรือชั่วได้ ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ไม่ทูลถามปัญหากับ พระองค์ เมื่อพระองค์ทรงวิสัชนาปัญหาก็ไม่ชื่นชม เป็นผู้ประกอบด้วยเครื่องกั้น คือกรรม เครื่องกั้นคือกิเลส เครื่องกั้นคือวิบาก ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญา ทราม ไม่ควรที่จะก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้ แตกกัน เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูด คำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตคิดพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. เทวดาทั้งหลายเป็นผู้ไม่โง่เขลา มีปัญญา รู้เดียงสา ไม่ใช้ภาษาใบ้ สามารถรู้ความหมายของคำที่กล่าวดีหรือชั่วได้ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทูลถามปัญหากับพระองค์ เมื่อ พระองค์ทรงวิสัชนาปัญหา ก็เป็นผู้ชื่นชม เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยเครื่องกั้นคือกรรม @เชิงอรรถ : @ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงการเจริญมรรคและการบรรพชา (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๙/๑๖๖) @ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๙/๑๖๖) @ เพราะมีความเห็นว่า ในหมู่เทวดา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ทั้ง ๒ อย่าง (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๖๙/๑๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ก) พรหมจริยากถา

เครื่องกั้นคือกิเลส เครื่องกั้นคือวิบาก เป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญา ควรที่ จะก้าวลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ไม่ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ไม่ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูด คำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่เป็นผู้มากไปด้วยอภิชฌา ไม่มีจิตคิดพยาบาท เป็น สัมมาทิฏฐิ มีอยู่มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. หากเทวดาทั้งหลายเป็นผู้ไม่โง่เขลา มีปัญญา รู้เดียงสา ไม่ใช้ภาษาใบ้ สามารถรู้ความหมายของคำที่กล่าวดีหรือชั่วได้ ฯลฯ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ มีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์” [๒๗๐] ปร. ในหมู่เทวดา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ใช่๑- ปร. ในหมู่เทวดานั้นมีการบรรพชา การปลงผม การครองผ้ากาสาวพัสตร์ การทรงบาตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติได้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ทั้งหลายอุบัติได้ คู่พระอัครสาวกก็อุบัติได้ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดา จึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในที่ที่มีการบรรพชาเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่ มีการบรรพชา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เพราะมีความเห็นว่า ในหมู่เทวดายังมีการเจริญมรรคอยู่ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๐/๑๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. ในที่ที่มีการบรรพชาเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่ มีการบรรพชา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผู้ที่บรรพชาเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่ไม่ได้บรรพชา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการปลงผม เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในที่ที่มีการปลงผมเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่ มีการปลงผม ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในที่ที่มีการปลงผมเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่ มีการปลงผม ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. เฉพาะผู้ที่ปลงผมเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่ไม่ปลงผม ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์ เพราะเหตุนั้น ในหมู่ เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในที่ที่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. ในที่ที่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ไม่มีการครองผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผู้ที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์เท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่ ไม่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในหมู่เทวดาไม่มีการทรงบาตร เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในที่ที่มีการทรงบาตรเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ ไม่มีการทรงบาตร ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในที่ที่มีการทรงบาตรเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่ ไม่มีการทรงบาตร ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ผู้ที่ทรงบาตรเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่ไม่ทรงบาตร ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติในหมู่เทวดา เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ในที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงอุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระผู้มีพระภาคประสูติที่สวนลุมพินี ตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์ ทรงประกาศ ธรรมจักรที่กรุงพาราณสี ในที่นั้นเท่านั้นจึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่น ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติในหมู่เทวดา เพราะเหตุนั้น ในหมู่ เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ในที่ที่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๔๙}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติในมัชฌิมชนบท ในมัชฌิมชนบท นั้นเท่านั้นจึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติในหมู่เทวดา เพราะเหตุนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มี การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในที่ที่คู่พระอัครสาวกอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในที่ที่คู่พระอัครสาวกอุบัติเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในที่ที่คู่พระอัครสาวกไม่อุบัติ ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในมคธรัฐซึ่งเป็นที่อุบัติของคู่พระอัครสาวกเท่านั้น จึงมีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ ในที่อื่นไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๒๗๑] ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ในหมู่เทวดาทั้งปวงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ เพราะมีความเห็นว่า มีเทวดาจำพวกหนึ่งคือ อสัญญีสัตว์ประพฤติพรหมจรรย์ไม่ได้ @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๐/๑๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๐}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. ในหมู่มนุษย์ทั้งปวงมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น๑- ฯลฯ ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง และในพวกมิลักขะ๒- ผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ที่มีก็มี ที่ไม่มีก็มี ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีการ อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี และในหมู่สัญญสัตตพรหมที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ก็มี ที่ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มีใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ในหมู่เทวดาที่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ที่ไม่มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ก็มีใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ที่ไหนมี ที่ไหนไม่มี @เชิงอรรถ : @ เพราะมีความเห็นว่า มีมนุษย์พวกหนึ่งซึ่งอยู่ในปัจจันตชนบท(ห่างไกลไม่มีภิกษุสงฆ์)ไม่มีการประพฤติ @พรหมจรรย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๑/๑๖๖) @ มิลักขะ หมายถึงคนป่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๑}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ในหมู่ สัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ในหมู่สัญญสัตตพรหมไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ในหมู่สัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ในหมู่อสัญญสัตตพรหมมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ที่มีก็มี ที่ไม่มีก็มี สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มี ใน ชาวมัชฌิมชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มีใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. ในหมู่มนุษย์มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ก็มี ไม่มีก็มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ที่ไหนมี ที่ไหนไม่มี ปร. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในชาวมัชฌิม ชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๒}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในชาวมัชฌิมชนบทไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. ในชาวมัชฌิมชนบทมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ในชาวปัจจันตชนบทที่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาไปไม่ถึง และในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ปร. ในหมู่เทวดามีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพู ทวีป เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ คือ (๑) เป็นผู้แกล้วกล้า (๒) เป็นผู้มีสติ (๓) เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน ชมพูทวีปนี้”๑- มีอยู่จริงมิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. ดังนั้น ในหมู่เทวดาจึงไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ สก. พระผู้มีพระภาคตรัสที่กรุงสาวัตถีว่า ณ ที่นี้ มีการอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๒๑/๔๗๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๓}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ มีแต่ในกรุงสาวัตถีเท่านั้น ในที่อื่นไม่มี ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น [๒๗๒] สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น อรหัตตผลเกิดขึ้นได้ ณ ที่ไหน ปร. ในชั้นสุทธาวาสนั้นนั่นเอง สก. หากอนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น อรหัตตผลเกิดขึ้นได้ในที่นั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มีการ อยู่ ประพฤติพรหมจรรย์” สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละสังโยชน์ เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น การปลงภาระ การกำหนดรู้ทุกข์ การละกิเลส การทำให้แจ้งนิโรธ การแทงตลอด อกุปปธรรมมี ณ ที่ไหน ปร. ในชั้นสุทธาวาสนั้นนั่นเอง สก. หากอนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น การแทงตลอดอกุปปธรรมมีในที่นั้น ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มี การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์” สก. อนาคามีบุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการได้แล้ว แต่ยังละสังโยชน์ เบื้องสูง ๕ ประการไม่ได้ เมื่อจุติจากโลกนี้แล้วไปปฏิสนธิในชั้นสุทธาวาสนั้น การเกิดขึ้นแห่งอรหัตตผล การปลงภาระ การกำหนดรู้ทุกข์ การละกิเลส การ ทำให้แจ้งนิโรธ การแทงตลอดอกุปปธรรมก็มีในที่นั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงยอมรับว่า “ในหมู่เทวดาไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์” ปร. เพราะว่า อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลได้ในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ ตนได้เจริญแล้วในโลกนี้
สุทธพรหมจริยกถา จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๔}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ก) พรหมจริยากถา

๒. สังสันทนพรหมจริยกถา
ว่าด้วยการเทียบเคียงพระอริยบุคคลในเรื่องพรหมจรรย์
[๒๗๓] สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตน เจริญแล้วในโลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่๑- สก. โสดาบันบุคคลทำให้แจ้งผลในโลกนี้ด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วในพรหมโลก นั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วใน โลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. สกทาคามีบุคคลผู้ที่จะปรินิพพานในโลกนี้ ทำให้แจ้งผลในโลกนี้ด้วยมรรค ที่ตนเจริญแล้วในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. โสดาบันบุคคลทำให้แจ้งผลในโลกนี้ได้ด้วยมรรคที่ตนได้เจริญแล้วในโลก นี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้ว ในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น @เชิงอรรถ : @ เพราะมีความเห็นว่า อนาคามีบุคคลสามารถบรรลุอรหัตตผลในชั้นสุทธาวาสได้ โดยอาศัยอนาคามิมรรค @ที่เคยเจริญแล้วในมนุษยโลก โดยไม่ต้องเจริญอรหัตตมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๓/๑๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๕}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. สกทาคามีบุคคลผู้ที่จะปรินิพพานในโลกนี้ ทำให้แจ้งผลในโลกนี้ด้วยมรรค ที่ตนเจริญแล้วในโลกนี้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อนาคามีบุคคลทำให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้ว ในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลสใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลส ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลสใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล เจริญมรรคแต่มิใช่ละกิเลสใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่ ก่อนไม่หลังกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่ก่อนไม่หลัง กันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๖}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อ ทำให้แจ้งอรหัตตผล เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่ก่อนไม่หลังกันใช่ไหม ปร. ใช่ สก. บุคคลผู้ละโลกนี้แล้วจึงสำเร็จ เจริญมรรคและละกิเลสได้ไม่ก่อนไม่หลัง กันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้วจึงเกิดในชั้น สุทธาวาสนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ยังเกิดอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์ยังเกิดอยู่ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์มีการเกิดอีกใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. พระอรหันต์มีการเกิดอีกใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์ออกจากภพไปสู่ภพ จากคติไปสู่คติ จากสงสารไปสู่สงสาร จากการเกิดไปสู่การเกิดใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้วยังไม่ปลงภาระ๑- เกิดในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ @เชิงอรรถ : @ ยังไม่ปลงภาระ ในที่นี้หมายถึงยังต้องทำกิจที่จะต้องทำเพื่อบรรลุธรรมในชั้นสูงยิ่งๆ ขึ้นไปอีก @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๒๗๓/๑๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๗}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ก) พรหมจริยากถา

สก. ท่านยังเจริญมรรคอีกเพื่อปลงภาระใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่กำหนด รู้ทุกข์ ยังละกิเลสไม่ได้ ยังไม่ทำให้แจ้งนิโรธ ยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ไปเกิดใน ชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม ปร. ใช่ สก. ท่านยังเจริญมรรคอีกเพื่อแทงตลอดอกุปปธรรมใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่ปลงภาระ ไปเกิดในชั้นสุทธาวาสนั้น และจะไม่เจริญมรรคอีกเพื่อปลงภาระใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อนึ่ง ท่านยังไม่ปลงภาระ ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น สก. อนาคามีบุคคลทำกิจที่ควรทำแล้ว เจริญภาวนาแล้ว แต่ยังไม่กำหนด รู้ทุกข์ ยังละกิเลสไม่ได้ ยังไม่ทำให้แจ้งนิโรธ ยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ไปเกิด ในชั้นสุทธาวาสนั้น และไม่เจริญมรรคอีกเพื่อแทงตลอดอกุปปธรรมใช่ไหม ปร. ใช่ สก. อนึ่ง ท่านยังไม่แทงตลอดอกุปปธรรม ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๑๕๘}

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๑. มหาวรรค]

๓. (ข) โอธิโสกถา

ปร. เนื้อที่ถูกยิงด้วยลูกศรแม้จะไปได้ไกลก็ย่อมตาย ฉันใด อนาคามีบุคคลทำ ให้แจ้งผลในชั้นสุทธาวาสนั้นด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สก. เนื้อที่ถูกยิงด้วยลูกศรแม้จะไปได้ไกลก็ตายทั้งที่มีลูกศรติดอยู่นั้นเอง ฉันใด อนาคามีบุคคลปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้นทั้งที่ยังมีลูกศร (มรรค) ติดอยู่นั้นเอง ด้วยมรรคที่ตนเจริญแล้วในโลกนี้ ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พรหมจริยกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๑๔๕-๑๕๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=22              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=3061&Z=3391                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=255              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=255&items=24              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=3714              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=255&items=24              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=3714                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv1.3/en/aung-rhysdavids



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :