บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]
๑. คิหิสสอรหาติกถา (๓๓)
๔. จตุตถวรรค ๑. คิหิสสอรหาติกถา (๓๓) ว่าด้วยคฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ [๓๘๗] สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม ปร.๑- ใช่๒- สก. คิหิสังโยชน์๓- ของพระอรหันต์มีอยู่ใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ สก. คิหิสังโยชน์ของพระอรหันต์ไม่มีใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากคิหิสังโยชน์ของพระอรหันต์ไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า คฤหัสถ์ เป็นพระอรหันต์ได้ สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. คิหิสังโยชน์ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. หากคิหิสังโยชน์ พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาล ที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ท่านก็ ไม่ควรยอมรับว่า คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ @เชิงอรรถ : @๑ ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑) @๒ เพราะมีความเห็นว่า คฤหัสถ์ก็สามารถเป็นพระอรหันต์ได้ ที่เห็นอย่างนี้เพราะกำหนดความเป็นคฤหัสถ์ @ด้วยเพศคฤหัสถ์ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่กำหนดความเป็นคฤหัสถ์ด้วยคิหิสังโยชน์ มิได้ถือเอา @เพศคฤหัสถ์เป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้ คฤหัสถ์ผู้สามารถบรรลุอรหัตตผลได้ ต้องละคิหิสังโยชน์ได้แล้ว @(อภิ.ปญฺจ.อ. ๓๘๗/๒๐๑) @๓ คิหิสังโยชน์ หมายถึงเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์ ซึ่งมีทรัพย์สมบัติ บุตร ข้าทาส บริวาร และกามคุณ @๕ ประการ อันเป็นเหตุให้ครองชีวิตแบบคฤหัสถ์เรื่อยไป (ม.ม.อ. ๒/๑๘๖/๑๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๓๙๙}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]
๑. คิหิสสอรหาติกถา (๓๓)
สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. คฤหัสถ์บางคนละคิหิสังโยชน์ยังไม่ได้ แต่ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันมี อยู่ใช่ไหม ปร. ไม่มี สก. หากคฤหัสถ์บางคนละคิหิสังโยชน์ยังไม่ได้ แต่ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ใน ปัจจุบันไม่มี ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระสูตรที่ว่า วัจฉโคตรปริพาชกได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ ท่านพระโคดม คฤหัสถ์บางคนผู้ยังละคิหิสังโยชน์ไม่ได้ หลังจากตายแล้ว ทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ มีอยู่หรือ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า วัจฉะ คฤหัสถ์ผู้ยังละคิหิ- สังโยชน์ยังไม่ได้ หลังจากตายแล้ว ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ไม่มีเลย๑- มีอยู่จริง มิใช่หรือ ปร. ใช่ สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ สก. คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ใช่ไหม ปร. ใช่ สก. พระอรหันต์พึงเสพเมถุนธรรม พึงให้เมถุนธรรมเกิดขึ้น พึงอยู่ครอบ ครองที่นอนซึ่งยัดเยียดด้วยบุตร พึงใช้ผ้ากาสิกพัสตร์และจุรณจันทน์ พึงทัดทรง ดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้ พึงยินดีทองและเงิน พึงรับแพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง วัว ม้า ลา นกกระทา นกคุ่ม หางนกยูง พึงทรงเครื่องประดับมวยผมที่มี รัดเกล้าสีเหลือง ทรงผ้าขาวมีชายยาว เป็นผู้ครองเรือนจนตลอดชีวิตใช่ไหม ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ ม.ม. (แปล) ๑๓/๑๘๖/๒๑๗-๒๑๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๗ หน้า : ๔๐๐}
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [๔. จตุตถวรรค]
๒. อุปปัตติกถา (๓๔)
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้ ใช่ไหม สก. ใช่ ปร. ยสกุลบุตร อุตติยคหบดี เสตุมาณพ บรรลุอรหัตตผลขณะมีเพศคฤหัสถ์ มิใช่หรือ สก. ใช่ ปร. หากยสกุลบุตร อุตติยคหบดี เสตุมาณพ บรรลุอรหัตตผลขณะมีเพศ คฤหัสถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า คฤหัสถ์เป็นพระอรหันต์ได้คิหิสสอรหาติกถา จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๗ หน้าที่ ๓๙๙-๔๐๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=37&siri=53 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=8703&Z=8762 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=867 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=37&item=867&items=6 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=55&A=4510 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=37&item=867&items=6 The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=55&A=4510 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu37 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/kv4.1/en/aung-rhysdavids
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]