ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔
๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร
๑. ปัจจยานุโลม ๑. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[๑๑๖] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่วิตกและจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เหตุที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ วิตกและจิตต- สมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๗๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ใน ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (๑)
อารัมมณปัจจัย
[๑๑๗] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตก ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตก ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตก ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้น (๓) [๑๑๘] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่มีวิตกแล้วพิจารณาฌานที่ไม่มี วิตกออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค ออกจากผลแล้ว พิจารณาผล พิจารณา นิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคที่ไม่มีวิตก ผลและวิตกโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น วิตกจึง เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มี ความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่มีวิตกด้วยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และวิตกโดย อารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก จึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่มีวิตก ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ ออกจาก ผลแล้วพิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรคที่มีวิตก ผลและอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๘๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัส จึงเกิดขึ้นเพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่มีวิตก ฯลฯ ออกจากมรรค แล้วพิจารณามรรค ออกจากผลแล้ว พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรคที่มีวิตก ผล อาวัชชนจิตและวิตกโดย อารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิด เพลินจักษุเป็นต้นนั้น ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้นเพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มี วิตกและวิตก ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้น (๓) [๑๑๙] สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดย อารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตกและวิตก ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตกและวิตก ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตก จึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีวิตกและวิตก ขันธ์ที่มีวิตก และวิตกจึงเกิดขึ้น (๓)
อธิปติปัจจัย
[๑๒๐] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่างคือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่มีวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย อธิปติปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๘๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่มีวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น วิตกจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่วิตกและจิตตสมุฏฐาน- รูปโดยอธิปติปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่มีวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ วิตก และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (๓) [๑๒๑] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก โดย อธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่มีวิตก ฯลฯ ออกจาก มรรคแล้ว พิจารณามรรค ฯลฯ ออกจากผลแล้วพิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่ มรรคที่ไม่มีวิตก ผลและวิตกโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความ ยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น วิตกจึงเกิดขึ้น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย เพราะทำขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น วิตกจึงเกิดขึ้น (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอธิปติปัจจัย มี อย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ไม่มีวิตกแล้ว พิจารณาฌาน ฯลฯ ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรค ออกจากผลแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๘๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

พิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรคที่มีวิตก และผลโดยอธิปติ- ปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกให้ เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นเพราะทำขันธ์ที่ไม่มีวิตกและ วิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีวิตก เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากฌานที่ ไม่มีวิตก ฯลฯ ออกจากมรรค ฯลฯ ออกจากผลแล้วพิจารณาผลให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัย แก่โคตรภู โวทาน มรรคที่มีวิตก ผลและวิตกโดยอธิปติปัจจัย บุคคลทำจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น เพราะทำขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้น (๓) สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตก เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทำขันธ์ที่มีวิตกและวิตกให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะทำ ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น วิตกจึงเกิดขึ้น (พึงเพิ่มบทที่ เป็นมูล) เพราะทำขันธ์ที่มีวิตกและวิตกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่มีวิตก และวิตกจึงเกิดขึ้น (๓)
อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[๑๒๒] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดหลังๆ โดย อนันตรปัจจัย (๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีวิตกซึ่งเกิดหลังๆ โดย อนันตรปัจจัย จุติจิตที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ๕ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่ วุฏฐานะที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย บริกรรมทุติยฌานเป็นปัจจัยแก่ทุติยฌานโดย อนันตรปัจจัย บริกรรมตติยฌาน ฯลฯ บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น ปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ บริกรรมทิพพจักขุ ฯลฯ บริกรรม ทิพพโสตธาตุ ฯลฯ บริกรรมอิทธิวิธญาณ ฯลฯ เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพ- นิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ บริกรรมยถากัมมูปคญาณเป็นปัจจัยแก่ยถากัมมูปคญาณ ฯลฯ บริกรรมอนาคตังสญาณเป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณโดยอนันตรปัจจัย โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรคที่ไม่มีวิตก โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคที่ไม่มีวิตก อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดยอนันตร- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกซึ่งเกิด หลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) [๑๒๓] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยอนันตร- ปัจจัย ได้แก่ วิตกที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่วิตกที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ที่ไม่มีวิตกซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีวิตกซึ่งเกิดหลังๆ โดย อนันตรปัจจัย มรรคที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่ผลที่ไม่มีวิตก ฯลฯ ผลที่ไม่มีวิตก เป็นปัจจัยแก่ผลที่ไม่มีวิตก ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจาก นิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ (ขันธ์ที่ไม่มีวิตก)ซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่มีวิตก ภวังคจิตที่ไม่มี วิตกเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต ขันธ์ที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่มีวิตกโดย อนันตรปัจจัย (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดยอนันตร- ปัจจัย ได้แก่ วิตกที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) [๑๒๔] สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มี วิตกซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยอนันตร- ปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่วิตกที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย จุติจิตที่มีวิตกและวิตกเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่มีวิตก ฯลฯ อาวัชชนจิตและวิตกเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ๕ ฯลฯ ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกเป็น ปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย บริกรรมทุติยฌานและวิตก ฯลฯ (ข้อความที่เขียนไว้ในเบื้องต้น ก็พึงทราบโดยเหตุนี้) อนุโลมและวิตกเป็นปัจจัยแก่ ผลสมาบัติที่ไม่มีวิตกโดยอนันตรปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกซึ่งเกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มี วิตกและวิตกซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย (๓) ... เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ
อุปนิสสยปัจจัย
[๑๒๕] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกโดย อุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกและ วิตกโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๑๒๖] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่มีวิตกแล้วทำฌานที่ไม่มีวิตกให้ เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยศีล ที่ไม่มีวิตก ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ และวิตกแล้ว ทำฌานที่ไม่มีวิตก ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่ไม่มีวิตก ฯลฯ เสนาสนะและวิตกเป็นปัจจัยแก่ ศรัทธาที่ไม่มีวิตก ฯลฯ ปัญญา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... มรรคที่ไม่มีวิตก และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอุปนิสสยปัจจัย (มี ๓ วาระ พึงเพิ่มอุปนิสสยปัจจัยเข้าในที่ทุกแห่ง) ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ ไม่มีวิตกแล้ว ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำฌานที่มีวิตก ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ มรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่ไม่มี วิตก ฯลฯ เสนาสนะ และวิตกแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่ไม่มีวิตก ฯลฯ เสนาสนะและวิตกเป็นปัจจัยแก่ ศรัทธาที่มีวิตก ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... มรรคที่มีวิตก และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดย อุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่มีวิตกแล้วให้ทาน ฯลฯ (พึงเพิ่ม บทที่เขียนไว้ในทุติยวารเข้าทั้งหมด) ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัย ศีล ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ เสนาสนะและวิตกแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๘๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

ทำลายสงฆ์ ศรัทธาที่ไม่มีวิตก ฯลฯ เสนาสนะและวิตกเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่มีวิตก ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... มรรคที่มีวิตก ... ผลสมาบัติ และวิตกโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓) [๑๒๗] สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดย อุปนิสสยปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกโดย อุปนิสสยปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มี วิตกและวิตกโดยอุปนิสสยปัจจัย (๓)
ปุเรชาตปัจจัย
[๑๒๘] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยปุเรชาต- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ เป็นต้นนั้น วิตกจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่มีวิตกและวิตกโดยปุเรชาตปัจจัย สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะ และวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ เป็นต้นนั้น ขันธ์ที่มีวิตกจึงเกิดขึ้น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกโดยปุเรชาตปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดยปุเรชาต- ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ เป็นต้นนั้น ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกจึงเกิดขึ้น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกโดยปุเรชาต- ปัจจัย (๓)
ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[๑๒๙] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยปัจฉาชาต- ปัจจัย (ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ) เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ
กัมมปัจจัยเป็นต้น
[๑๓๐] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งมีวิตกโดย กัมมปัจจัย (โดยนัยนี้ จึงมี ๔ วาระ พึงเพิ่มทั้งสหชาตะและนานาขณิกะ) ... เป็นปัจจัยโดยวิปากปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย มี ๔ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยอินทรียปัจจัย มี ๔ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี ๙ วาระ ... เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

[๑๓๑] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (๑) สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ) สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ (ย่อ) สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่วิตกและสัมปยุตตขันธ์ โดยวิปปยุตตปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่วิตกและสัมปยุตตขันธ์โดยวิปปยุตต- ปัจจัย (๓) สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ)
อัตถิปัจจัยเป็นต้น
[๑๓๒] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอัตถิปัจจัย (มี ๑ วาระ เหมือนกับปฏิจจวาร) สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะ และปัจฉาชาตะ (ย่อ) สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดย อัตถิปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร) (๓) สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (ย่อ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ (ย่อ) สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ วิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดย อัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ วิตกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปโดย อัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่วิตกและสัมปยุตตขันธ์โดย อัตถิปัจจัย ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น วิตก และสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่วิตกและสัมปยุตตขันธ์โดยอัตถิ- ปัจจัย (๓) [๑๓๓] สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและวิตกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ โดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (ในปฏิสนธิขณะ พึงทำแม้สหชาตะให้เป็น ๒ วาระ) (๑) สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดย อัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ และอินทรียะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป โดยอัตถิปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่วิตกโดยอัตถิปัจจัย (ในปฏิสนธิขณะ มี ๓ วาระ) ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตกและวิตกเป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อนโดย อัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตก วิตก และกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่ กายนี้โดยอัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่มีวิตก วิตก และรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (๒) สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตก โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและวิตกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตต- สมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่มีวิตกและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และ วิตกโดยอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ (แม้ในปฏิสนธิขณะ ก็มี ๒ วาระ) (๓) ... เป็นปัจจัยโดยนัตถิปัจจัย ... เป็นปัจจัยโดยวิคตปัจจัย ... เป็นปัจจัยโดยอวิคตปัจจัย
๑. ปัจจยานุโลม ๒. สังขยาวาร
สุทธนัย
[๑๓๔] เหตุปัจจัย มี ๔ วาระ อารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ อธิปติปัจจัย มี ๙ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

อนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สมนันตรปัจจัย มี ๙ วาระ สหชาตปัจจัย มี ๙ วาระ อัญญมัญญปัจจัย มี ๙ วาระ นิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ อุปนิสสยปัจจัย มี ๙ วาระ ปุเรชาตปัจจัย มี ๓ วาระ ปัจฉาชาตปัจจัย มี ๓ วาระ อาเสวนปัจจัย มี ๙ วาระ กัมมปัจจัย มี ๔ วาระ วิปากปัจจัย มี ๙ วาระ อาหารปัจจัย มี ๔ วาระ อินทรียปัจจัย มี ๔ วาระ ฌานปัจจัย มี ๙ วาระ มัคคปัจจัย มี ๙ วาระ สัมปยุตตปัจจัย มี ๖ วาระ วิปปยุตตปัจจัย มี ๕ วาระ อัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ นัตถิปัจจัย มี ๙ วาระ วิคตปัจจัย มี ๙ วาระ อวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ
อนุโลม จบ
๒. ปัจจนียุทธาร
[๑๓๕] สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และกัมมปัจจัย สภาวธรรมที่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดยอารัมมณ- ปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และกัมมปัจจัย (๓) [๑๓๖] สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และอินทรียปัจจัย สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย (๓) [๑๓๗] สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีวิตกโดย อารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีวิตกและไม่มีวิตก โดยอารัมมณปัจจัย สหชาตปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย (๓)
๒. ปัจจยปัจจนียะ ๒. สังขยาวาร
[๑๓๘] นเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ นอารัมมณปัจจัย มี ๙ วาระ (ทุกปัจจัยมีปัจจัยละ ๙ วาระ) โนอวิคตปัจจัย มี ๙ วาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔๓ หน้า : ๔๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน]

๘๗. สวิตักกทุกะ ๗. ปัญหาวาร

๓. ปัจจยานุโลมปัจจนียะ
[๑๓๙] นอารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี ๔ วาระ ฯลฯ นสมนันตรปัจจัย ” มี ๔ วาระ นอัญญมัญญปัจจัย ” มี ๒ วาระ นอุปนิสสยปัจจัย ” มี ๔ วาระ ฯลฯ นสัมปยุตตปัจจัย ” มี ๒ วาระ นวิปปยุตตปัจจัย ” มี ๔ วาระ โนนัตถิปัจจัย ” มี ๔ วาระ โนวิคตปัจจัย ” มี ๔ วาระ
๔. ปัจจยปัจจนียานุโลม
[๑๔๐] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี ๙ วาระ ฯลฯ อธิปติปัจจัย ” มี ๙ วาระ (พึงขยายบทอนุโลมมาติกาให้พิสดาร) ฯลฯ อวิคตปัจจัย ” มี ๙ วาระ
สวิตักกทุกะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔๓ หน้าที่ ๔๗๙-๔๙๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=43&siri=89              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=43&A=10808&Z=11198                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=43&i=0              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=43&item=656&items=15              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=43&item=656&items=15                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu43



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :