ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๑
๓. มานัตตารหวัตตะ
ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้ควรแก่มานัต
[๘๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้ควรแก่มานัตยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลาย กราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุ ทั้งหลายผู้ควรแก่มานัตจึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์ เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบถามพวกภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ควรแก่มานัต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๗๒}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๓. มานัตตารหวัตตะ

ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “การกระทำของภิกษุผู้ควรแก่มานัต ไม่สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุผู้ควรแก่มานัตจึงยินดีการที่ปกตัตต ภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ควรแก่ มานัตไม่พึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ ในคราวอาบน้ำ รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราว อาบน้ำของภิกษุผู้ควรแก่มานัตด้วยกันตามลำดับพรรษา ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัต ภัตเพื่อภิกษุผู้ควรแก่มานัตด้วยกันตามลำดับพรรษา ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้ควรแก่มานัต โดยวิธี ที่ภิกษุผู้ควรแก่มานัตทั้งหลายต้องประพฤติ
วัตร ๗๙ ข้อของภิกษุผู้ควรแก่มานัต
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ควรแก่มานัตพึงประพฤติโดยชอบ การประพฤติ โดยชอบในเรื่องนั้นดังนี้ ภิกษุผู้ควรแก่มานัต ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๗๓}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๓. มานัตตารหวัตตะ

๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้สงฆ์ต้องทำให้เป็นผู้ควรแก่มานัตอีก ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ ๑๙. ไม่พึงเดินนำหน้าปกตัตตภิกษุ ๒๐. ไม่พึงนั่งข้างหน้าปกตัตตภิกษุ ๒๑. พึงพอใจอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่จะ ให้เธอ ๒๒. ไม่พึงมีปกตัตตภิกษุเป็นปุเรสมณะ หรือเป็นปัจฉาสมณะเข้าตระกูล ๒๓. ไม่พึงสมาทานอารัญญิกังคธุดงค์ ๒๔. ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกังคธุดงค์ ๒๕. ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้นด้วยคิดว่า “คนอย่า ได้รู้จักเรา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๗๔}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๓. มานัตตารหวัตตะ

๒๖. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับ ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๒๗. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๒๘. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส ซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๒๙. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ ๓๐. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส ซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ ๓๑. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่ มิใช่อาวาส ซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๓๒. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส ซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ ๓๓. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถาน ที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ ๓๔. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๓๕. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ฯลฯ ๓๖. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ฯลฯ ๓๗. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส มีภิกษุ ซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตต ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๗๕}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๓. มานัตตารหวัตตะ

๓๘. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสมีภิกษุซึ่งมี ภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย ฯลฯ ๓๙. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมี ภิกษุ ฯลฯ ๔๐. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่ มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับ ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๔๑. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส มีภิกษุ ฯลฯ ๔๒. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่ มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ ๔๓. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ๔๔. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ ๔๕. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ ๔๖. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไป ถึงในวันนั้นแหละ” ๔๗. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ ๔๘. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ ๔๙. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่ อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถ ไปถึงในวันนั้นแหละ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๗๖}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๓. มานัตตารหวัตตะ

๕๐. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ ๕๑. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่ อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ ๕๒. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ” ๕๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ ๕๔. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน ๕๕. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน ๕๖. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ ๕๗. พึงนิมนต์ปกตัตตภิกษุให้นั่ง ๕๘. ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ ๕๙. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง ๖๐. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ ๖๑. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ ๖๒. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดินจงกรมในที่ จงกรมสูง ๖๓. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรมในที่ จงกรม ๖๔-๗๔. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส ... กับ ภิกษุ ผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม ... กับภิกษุผู้ควรแก่มานัตที่มี พรรษาแก่กว่า ... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต ... กับภิกษุผู้ควรแก่ อัพภาน ... ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๑๗๗}

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ]

๔. มานัตตจาริกวัตตะ

ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบัง เดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกัน กับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ๗๕. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง ๗๖. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ ๗๗. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ๗๘. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดิน จงกรมในที่จงกรมสูง ๗๙. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรม ในที่จงกรม ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรแก่มานัตเป็นรูปที่ ๔ พึงให้ปริวาสชักเข้า หาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรแก่มานัตนั้นเป็นรูปที่ ๒๐ พึงอัพภาน กรรมนั้นไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ
วัตร ๗๙ ข้อของภิกษุผู้ควรแก่มานัต จบ
มานัตตารหวัตตะ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๑๗๒-๑๗๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=6&siri=18              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=6&A=3955&Z=4120                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=344              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=344&items=10              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=344&items=10                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd12/en/brahmali#pli-tv-kd12:5.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd12/en/horner-brahmali#Kd.12.5



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :