บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
|
|
๔. ปฏิญญาตกรณะ ว่าด้วยระงับอธิกรณ์ตามคำรับของจำเลย เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๒๐๐] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ลงโทษภิกษุทั้งหลายโดยมิได้ปฏิญญา คือ ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงลงโทษภิกษุทั้งหลายโดยมิได้ปฏิญญาเล่า คือ ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ฯลฯ จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงลงโทษภิกษุทั้งหลายโดยมิได้ปฏิญญา คือ ลงตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๕}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๔. ปฏิญญาตกรณะ
ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม [๒๐๑] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรมอย่างนี้ ที่ชอบธรรม อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ปฏิญญากรณะที่ไม่ชอบธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจท ภิกษุนั้นว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมมิได้ ต้องอาบัติปาราชิก ผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับอาบัติสังฆาทิเสสภิกษุนั้น (การปรับอย่างนี้) ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ ปาราชิก ฯลฯ ผมต้องอาบัติถุลลัจจัย สงฆ์ปรับอาบัติถุลลัจจัยภิกษุนั้น (การปรับ อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ ปาราชิก ผมต้องอาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับอาบัติปาจิตตีย์ภิกษุนั้น (การปรับ อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ ปาราชิก ผมต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับอาบัติปาฏิเทสนียะภิกษุนั้น (การ ปรับอย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ ปาราชิก ผมต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น (การปรับอย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๖}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๔. ปฏิญญาตกรณะ
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ ปาราชิก ผมต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์ปรับอาบัติทุพภาสิตภิกษุนั้น (การปรับ อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ ทุพภาสิต ผมต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น (การปรับ อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ ทุพภาสิต ผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น (การปรับ อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรมปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม เป็นอย่างไร คือ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียว โจทภิกษุนั้นว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ถูกละท่าน ผมต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น (การปรับอย่างนี้) ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า : ๓๑๗}
พระวินัยปิฎก จูฬรรค [๔. สมถขันธกะ]
๕. เยภุยยสิกา
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น ว่า ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ถูกละท่าน ผมต้องอาบัติ ทุพภาสิต สงฆ์ปรับอาบัติทุพภาสิตภิกษุนั้น (การปรับอย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาต- กรณะที่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรมปฏิญญาตกรณะ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๓๑๕-๓๑๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=6&siri=50 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=6&A=8293&Z=8380 ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=608 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=6&item=608&items=3 The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=6&item=608&items=3 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu6 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/brahmali#pli-tv-kd14:7.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd14/en/horner-brahmali#BD.5.109
บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]