ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๘. ภิกขุโนวาทวรรค

๘. ภิกขุโนวาทวรรค
หมวดว่าด้วยการให้โอวาทภิกษุณี
องค์สำหรับลงโทษ
[๔๕๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษได้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ภิกษุณีสงฆ์ฝ่าย เดียวพึงลงโทษ คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ คือ ๑. เปิดกายแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ๒. เปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ๓. เปิดองคชาตแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ๔. เปิดไหล่ทั้งสองแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ๕. ชักชวนคฤหัสถ์ให้มาคบหารักกับภิกษุณี อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ คือ ๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุณีทั้งหลาย ๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุณีทั้งหลาย ๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุณีทั้งหลาย ๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย ๕. ยุยงภิกษุณีทั้งหลายให้แตกกัน อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ คือ ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๓๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๘. ภิกขุโนวาทวรรค

อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ คือภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น องค์ ๕ คือ ๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุณีทั้งหลาย ๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุณีทั้งหลาย ๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุณีทั้งหลาย ๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย ๕. ชักชวนภิกษุให้มาคบหารักกับภิกษุณี อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ คือ ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไหว้ภิกษุนั้น”
องค์สำหรับลงโทษภิกษุณี
[๔๕๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุณีประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล สงฆ์ พึงลงโทษได้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงลงโทษ องค์ ๕ คือ ๑. เปิดกายแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ๒. เปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ๓. เปิดองค์กำเนิดแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ๔. เปิดไหล่ทั้งสองแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ๕. ชักชวนสตรีคฤหัสถ์ให้มาคบหารักกับภิกษุ อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก องค์ ๕ คือ ๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย ๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย ๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๓๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๘. ภิกขุโนวาทวรรค

๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย ๕. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก คือ ๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย ๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย ๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้ของภิกษุทั้งหลาย ๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย ๕. ชักชวนภิกษุณีให้มาคบหารักกับภิกษุ อุบาลี สงฆ์พึงลงโทษภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
องค์ของภิกษุไม่ควรให้โอวาท
[๔๕๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่ควร ให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรให้โอวาท แก่ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา ๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้เคลื่อนจากศาสนา ๕. ไม่เป็นผู้กล่าวประสงค์จะให้ออกจากอาบัติ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ คือ ๑. เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ ๒. เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๓๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๘. ภิกขุโนวาทวรรค

๓. เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ๔. เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด ๕. ถูกซักถาม ไม่อาจตอบข้อซักถาม อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ คือ ๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย ๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา ๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งทางกายและวาจา ๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย ๕. เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา ๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ๕. เป็นผู้ไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรรับให้โอวาท [๔๕๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่ ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ควรรับให้ โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย องค์ ๕ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๓๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๘. ภิกขุโนวาทวรรค

๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย ๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา ๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งทางกายและวาจา ๔. ด่าบริภาษภิกษุณีทั้งหลาย ๕. เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณี ทั้งหลาย องค์ ๕ คือ ๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นคนโง่เขลา ๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้กำลังจะเดินทาง ๕. เป็นไข้ อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่ควรรับให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย
[๔๕๔] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ ๑. ไม่ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ๒. ไม่ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ๓. ไม่ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ ๕. ไม่ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๓๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๘. ภิกขุโนวาทวรรค

องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วย องค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ ๑. ประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอเสขะ ๒. ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นอเสขะ ๓. ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นอเสขะ ๔. ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นอเสขะ ๕. ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
องค์ของภิกษุผู้ไม่ควรสนทนาด้วย อีกนัยหนึ่ง
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อีกอย่าง องค์ ๕ คือ ๑. ไม่เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในอรรถ) ๒. ไม่เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในธรรม) ๓. ไม่เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ) ๔. ไม่เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ) ๕. ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว อุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่ควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล
องค์ของภิกษุผู้ควรสนทนาด้วย
อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ องค์ ๕ คือ ๑. เป็นผู้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา ๒. เป็นผู้บรรลุธัมมปฏิสัมภิทา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๖๓๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อุปาลิปัญจกะ]

๙. อุพพาหิกวรรค

๓. เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา ๕. พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว อุบาลี ภิกษุทั้งหลายควรสนทนากับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล”
ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๘ จบ
หัวข้อประจำวรรค
ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียวพึงลงโทษ ภิกษุณีพึงลงโทษอีก ๒ นัย ลงโทษภิกษุณี ๓ นัย ไม่ให้โอวาท ไม่ให้โอวาทอีก ๒ นัย ไม่รับให้โอวาทที่ตรัสไว้ ๒ นัย ภิกษุผู้ควรสนทนาที่ตรัสไว้ ๒ นัย


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๖๓๓-๖๓๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=113              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=11578&Z=11733                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1202              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1202&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1202&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/brahmali#pli-tv-pvr17:147.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr17/en/horner-brahmali#Prv.17.8



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :