ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
๔. จตุกกวาร
ว่าด้วยหมวด ๔
[๓๒๔] อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของตน ออกด้วยวาจาของผู้อื่น มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของผู้อื่น ออกด้วยวาจาของตน มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของตน ออกด้วยวาจาของตน มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยวาจาของผู้อื่น ออกด้วยวาจาของผู้อื่น มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องทางกาย ออกทางวาจา มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องทางวาจา ออกทางกาย มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องทางกาย ออกทางกาย มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องทางวาจา ออกทางวาจา มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุหลับแล้วจึงต้อง ตื่นแล้วจึงออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุตื่นแล้วจึงต้อง หลับแล้วจึงออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุหลับแล้วจึงต้อง หลับแล้วจึงออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุตื่นแล้วจึงต้อง ตื่นแล้วจึงออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุไม่ตั้งใจจึงต้อง ตั้งใจจึงออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุตั้งใจจึงต้อง ไม่ตั้งใจจึงออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุไม่ตั้งใจจึงต้อง ไม่ตั้งใจจึงออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุตั้งใจจึงต้อง ตั้งใจจึงออก มีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๕๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๔. จตุกกวาร

อาบัติที่ภิกษุต้องอยู่จึงแสดง แสดงอยู่จึงต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องอยู่จึงออก ออกอยู่จึงต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยกรรม ออกด้วยสิ่งมิใช่กรรม มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยสิ่งมิใช่กรรม ออกด้วยกรรม มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยกรรม ออกด้วยกรรม มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องด้วยสิ่งมิใช่กรรม ออกด้วยสิ่งมิใช่กรรม มีอยู่
ว่าด้วยอนริยโวหาร เป็นต้น
โวหารของอนารยชนมี ๔ อย่าง คือ ๑. ไม่ได้เห็น กล่าวว่าได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน กล่าวว่าได้ยิน ๓. ไม่ทราบ กล่าวว่าทราบ ๔. ไม่รู้ กล่าวว่ารู้ โวหารของอารยชนมี ๔ อย่าง คือ ๑. ไม่ได้เห็น กล่าวว่าไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน กล่าวว่าได้ยิน ๓. ไม่ทราบ กล่าวว่าทราบ ๔. ไม่รู้ กล่าวว่ารู้ โวหารของอนารยชนแม้อีก ๔ อย่าง คือ ๑. ได้เห็น กล่าวว่าไม่ได้เห็น ๒. ได้ยิน กล่าวว่าไม่ได้ยิน ๓. ทราบ กล่าวว่าไม่ทราบ ๔. รู้ กล่าวว่าไม่รู้ โวหารของอารยชนมี ๔ อย่าง คือ ๑. ได้เห็น กล่าวว่าได้เห็น ๒. ได้ยิน กล่าวว่าไม่ได้ยิน ๓. ทราบ กล่าวว่าไม่ทราบ ๔. รู้ กล่าวว่าไม่รู้
ว่าด้วยอาบัติปาราชิก
ปาราชิกของภิกษุ ทั่วไปกับภิกษุณีมี ๔ ปาราชิกของภิกษุณี ไม่ทั่วไปกับภิกษุมี ๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๕๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๔. จตุกกวาร

ว่าด้วยบริขาร
บริขารมี ๔ อย่าง คือ ๑. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง นับว่าเป็นสมบัติของเรา ควรใช้สอย ๒. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง นับว่าเป็นสมบัติของเรา แต่ไม่ควร ใช้สอย ๓. มีบริขารที่ควรรักษา คุ้มครอง แต่ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา ไม่ควร ใช้สอย ๔. มีบริขารที่ไม่ควรรักษา ไม่ควรคุ้มครอง ไม่นับว่าเป็นสมบัติของเรา ไม่ควรใช้สอย
ว่าด้วยการต้องอาบัติและออกจากอาบัติ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุต้องต่อหน้า ออกลับหลัง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องลับหลัง ออกต่อหน้า มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องต่อหน้า ออกต่อหน้า มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องลับหลัง ออกลับหลัง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุไม่รู้อยู่จึงต้อง รู้อยู่จึงออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุรู้อยู่จึงต้อง ไม่รู้อยู่จึงออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุไม่รู้อยู่จึงต้อง ไม่รู้อยู่จึงออก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุรู้อยู่จึงต้อง รู้อยู่จึงออก มีอยู่
ว่าด้วยการต้องอาบัติ เป็นต้น
ภิกษุต้องอาบัติด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ๑. ต้องทางกาย ๒. ต้องทางวาจา ๓. ต้องทางกายกับวาจา ๔. ต้องทางกรรมวาจา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๕๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๔. จตุกกวาร

ภิกษุต้องอาบัติแม้ด้วยอาการอื่นอีก ๔ อย่าง คือ ๑. ในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ในท่ามกลางคณะ ๓. ในสำนักบุคคล ๔. เพราะเพศเปลี่ยนแปลง ภิกษุออกจากอาบัติด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ ๑. ออกทางกาย ๒. ออกทางวาจา ๓. ออกทางกายกับวาจา ๔. ออกด้วยกรรมวาจา ภิกษุออกจากอาบัติแม้ด้วยอาการอื่นอีก ๔ อย่าง คือ ๑. ในท่ามกลางสงฆ์ ๒. ในท่ามกลางคณะ ๓. ในสำนักบุคคล ๔. เพราะเพศเปลี่ยนแปลง ภิกษุละบุรุษเพศเดิม ดำรงอยู่ในสตรีเพศอันเกิดในภายหลัง พร้อมกับการได้ เพศใหม่ วิญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป ภิกษุณีละสตรีเพศที่เกิดในภายหลัง กลับดำรงอยู่ในบุรุษเพศอันเดิม พร้อมกับ การได้เพศใหม่ บัญญัติย่อมระงับไป บัญญัติย่อมดับไป การโจทมี ๔ อย่าง คือ ๑. โจทด้วยสีลวิบัติ ๒. โจทด้วยอาจารวิบัติ ๓. โจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ๔. โจทด้วยอาชีววิบัติ ปริวาสมี ๔ อย่าง คือ ๑. ปฏิจฉันนปริวาส ๒. อัปปฏิจฉันนปริวาส ๓. สุทธันตปริวาส ๔. สโมธานปริวาส มานัตมี ๔ อย่าง คือ ๑. ปฏิจฉันนมานัต ๒. อัปปฏิจฉันนมานัต ๓. ปักขมานัต ๔. สโมธานมานัต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๕๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๔. จตุกกวาร

รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัตมี ๔ อย่าง คือ ๑. สหวาสะ(การอยู่ร่วมกัน) ๒. วิปปวาสะ(การอยู่ปราศจาก) ๓. อนาโรจนา(การไม่บอก) ๔. อูเณคเณจรณะ(การประพฤติในคณะสงฆ์อันพร่อง) พระบัญญัติที่ทรงยกขึ้นแสดงเองมี ๔ อย่าง กาลิกที่รับประเคนไว้ฉันมี ๔ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก(เช้าถึงเที่ยง) ๒. ยามกาลิก (วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง) ๓. สัตตาหกาลิก(๗ วัน) ๔. ยาวชีวิก(ไม่จำกัดเวลาวันตลอดชีวิต) ยามหาวิกัฏ๑- มี ๔ อย่าง คือ ๑. คูถ ๒. มูตร ๓. เถ้า ๔. ดิน กรรมมี ๔ อย่าง คือ ๑. อปโลกนกรรม ๒. ญัตติกรรม ๓. ญัตติทุติยกรรม ๔. ญัตติจตุตถกรรม กรรมแม้อื่นอีกมี ๔ อย่าง คือ ๑. กรรมเป็นวรรคโดยไม่ชอบธรรม ๒. กรรมพร้อมเพรียงโดยไม่ชอบธรรม ๓. กรรมเป็นวรรคโดยชอบธรรม ๔. กรรมพร้อมเพรียงโดยชอบธรรม วิบัติมี ๔ อย่าง คือ ๑. สีลวิบัติ ๒. อาจารวิบัติ ๓. ทิฏฐิวิบัติ ๔. อาชีววิบัติ อธิกรณ์มี ๔ อย่าง คือ ๑. วิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์ ๓. อาปัตตาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์ @เชิงอรรถ : @ ยา ๔ อย่างนี้ ภิกษุอาพาธฉันได้โดยไม่ต้องรับประเคน คือ ไม่ต้องอาบัติเพราะขาดประเคน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๕๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๔. จตุกกวาร

การประทุษร้ายบริษัทมี ๔ อย่าง คือ ๑. ภิกษุผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๒. ภิกษุณีผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๓. อุบาสกผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ๔. อุบาสิกาผู้ทุศีล มีธรรมทราม จัดเป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท ความงามในบริษัทมี ๔ อย่าง คือ ๑. ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท ๒. ภิกษุณีผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท ๓. อุบาสกผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท ๔. อุบาสิกาผู้มีศีล มีธรรมงาม จัดเป็นผู้งามในบริษัท
ว่าด้วยพระอาคันตุกะ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะต้อง ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง ภิกษุอาคันตุกะไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไปต้อง ภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเจ้าถิ่นต้อง ภิกษุผู้เตรียมไปไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไป และภิกษุผู้อยู่ในอาวาสไม่ต้อง มีอยู่
ว่าด้วยสิกขาบทมีวัตถุต่างกัน เป็นต้น
ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติต่างกัน ไม่มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ไม่มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน และมีอาบัติต่างกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบททั้งมีวัตถุต่างกัน ทั้งมีอาบัติต่างกัน ไม่มีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๕๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๔. จตุกกวาร

ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติเสมอกัน ไม่มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีอาบัติเสมอกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน ไม่มีอยู่ ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน และมีอาบัติเสมอกัน มีอยู่ ความที่สิกขาบททั้งมีวัตถุเสมอกัน ทั้งมีอาบัติเสมอกัน ไม่มีอยู่
ว่าด้วยพระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติ เป็นต้น
อาบัติที่พระอุปัชฌาย์ต้อง แต่สัทธิวิหาริกไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่สัทธิวิหาริกต้อง แต่พระอุปัชฌาย์ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่พระอุปัชฌาย์ และสัทธิวิหาริกต้อง มีอยู่ อาบัติที่ทั้งพระอุปัชฌาย์ ทั้งสัทธิวิหาริกไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่พระอาจารย์ต้อง แต่อันเตวาสิกไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่อันเตวาสิกต้อง แต่พระอาจารย์ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่พระอาจารย์ และอันเตวาสิกต้อง มีอยู่ อาบัติที่ทั้งพระอาจารย์ ทั้งอันเตวาสิกไม่ต้อง มีอยู่
ว่าด้วยปัจจัยแห่งการขาดพรรษา เป็นต้น
การขาดพรรษาที่ไม่ต้องอาบัติมีปัจจัย ๔ อย่าง คือ ๑. สงฆ์แตกกัน ๒. มีพวกภิกษุประสงค์จะทำลายสงฆ์ ๓. มีอันตรายแก่ชีวิต ๔. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์ วจีทุจริตมี ๔ อย่าง คือ ๑. พูดเท็จ ๒. พูดส่อเสียด ๓. พูดคำหยาบ ๔. พูดเพ้อเจ้อ วจีสุจริตมี ๔ อย่าง คือ ๑. พูดจริง ๒. พูดไม่ส่อเสียด ๓. พูดคำสุภาพ ๔. พูดพอประมาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๕๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๔. จตุกกวาร

ว่าด้วยถือเอาทรัพย์ เป็นต้น
ภิกษุถือเอาเองต้องอาบัติหนัก ใช้ผู้อื่นต้องอาบัติเบา มีอยู่ ภิกษุถือเอาเองต้องอาบัติเบา ใช้ผู้อื่นต้องอาบัติหนัก มีอยู่ ภิกษุถือเอาเองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติหนัก มีอยู่ ภิกษุถือเอาเองก็ดี ใช้ผู้อื่นก็ดี ต้องอาบัติเบา มีอยู่
ว่าด้วยบุคคลควรอภิวาท เป็นต้น
บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรลุกรับ มีอยู่ บุคคลควรลุกรับ แต่ไม่ควรอภิวาท มีอยู่ บุคคลควรอภิวาท และควรลุกรับ มีอยู่ บุคคลทั้งไม่ควรอภิวาท ทั้งไม่ควรลุกรับ มีอยู่ บุคคลควรแก่อาสนะ แต่ไม่ควรอภิวาท มีอยู่ บุคคลควรอภิวาท แต่ไม่ควรแก่อาสนะ มีอยู่ บุคคลควรแก่อาสนะ และควรอภิวาท มีอยู่ บุคคลทั้งไม่ควรแก่อาสนะ ทั้งไม่ควรอภิวาท มีอยู่
ว่าด้วยต้องอาบัติในกาล เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล แต่ไม่ต้องในเวลาวิกาล มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในเวลาวิกาล แต่ไม่ต้องในกาล มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในกาล และในเวลาวิกาล มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในกาล แต่ไม่ควรในเวลาวิกาล มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในเวลาวิกาล แต่ไม่ควรในกาล มีอยู่ กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมควรในกาล และในเวลาวิกาล มีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๕๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๔. จตุกกวาร

กาลิกที่รับประเคนแล้ว ย่อมไม่ควรทั้งในกาล ทั้งในเวลาวิกาล มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในปัจจันตชนบท แต่ไม่ต้องในมัชฌิมชนบท มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในมัชฌิมชนบท แต่ไม่ต้องในปัจจันตชนบท มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในปัจจันตชนบท และในมัชฌิมชนบท มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในปัจจันตชนบท ทั้งในมัชฌิมชนบท มีอยู่ วัตถุย่อมควรในปัจจันตชนบท แต่ไม่ควรในมัชฌิมชนบท มีอยู่ วัตถุย่อมควรในมัชฌิมชนบท แต่ไม่ควรในปัจจันตชนบท มีอยู่ วัตถุย่อมควรทั้งในปัจจันตชนบท และในมัชฌิมชนบท มีอยู่ วัตถุย่อมไม่ควรทั้งในปัจจันตชนบท ทั้งในมัชฌิมชนบท มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในภายใน แต่ไม่ต้องในภายนอก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในภายนอก แต่ไม่ต้องในภายใน มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในภายใน และในภายนอก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในภายใน ทั้งในภายนอก มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในภายในสีมา แต่ไม่ต้องในภายนอกสีมา มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในภายนอกสีมา แต่ไม่ต้องในภายในสีมา มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในภายในสีมา และในภายนอกสีมา มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในภายในสีมา ทั้งในภายนอกสีมา มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในหมู่บ้าน แต่ไม่ต้องในป่า มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องในป่า แต่ไม่ต้องในหมู่บ้าน มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุต้องทั้งในหมู่บ้าน และในป่า มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุไม่ต้องทั้งในหมู่บ้าน ทั้งในป่า มีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๕๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๔. จตุกกวาร

ว่าด้วยการโจท เป็นต้น
การโจทมี ๔ อย่าง คือ ๑. โจทชี้วัตถุ ๒. โจทชี้อาบัติ ๓. โจทห้ามสังวาส ๔. โจทห้ามสามีจิกรรม บุพพกิจมี ๔ อย่าง ความพรั่งพร้อมมี ๔ อย่าง อาบัติปาจิตตีย์ไม่มีอะไรอื่นมี ๔ สิกขาบท๑- ภิกษุสมมติมี ๔ สิกขาบท การถึงอคติ(ความลำเอียง)มี ๔ อย่าง คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว การไม่ถึงอคติ(ความไม่ลำเอียง)มี ๔ คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุอลัชชีประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมทำลายสงฆ์ คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุผู้มีศีลดีงามประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมสมานสงฆ์ที่แตกกันแล้วให้สามัคคี กัน คือ ๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว @เชิงอรรถ : @ ได้แก่สิกขาบทที่ ๖ แห่งภูตคามวรรค, สิกขาบทที่ ๒ แห่งอเจลกวรรค, สิกขาบทที่ ๗- แห่ง @สหธัมมิกวรรค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๖๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๔. จตุกกวาร

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่ควรถามวินัย คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว วินัยอันภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่ควรถาม คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่ควรตอบวินัย คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว วินัยอันภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ ไม่ควรตอบ คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ อันภิกษุไม่พึงให้คำซักถาม คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุไม่ควรสนทนาวินัยร่วมกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ ๑. ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ลำเอียงเพราะชัง ๓. ลำเอียงเพราะหลง ๔. ลำเอียงเพราะกลัว
ว่าด้วยภิกษุเป็นไข้ต้องอาบัติ เป็นต้น
อาบัติที่ภิกษุเป็นไข้ต้อง แต่ไม่เป็นไข้ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุไม่เป็นไข้ต้อง แต่เป็นไข้ไม่ต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุเป็นไข้ และไม่เป็นไข้ต้อง มีอยู่ อาบัติที่ภิกษุทั้งเป็นไข้ ทั้งไม่เป็นไข้ต้อง มีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๖๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

หัวข้อประจำวาร

ว่าด้วยงดปาติโมกข์
การงดปาติโมกข์ที่ไม่ชอบธรรมมี ๔ อย่าง การงดปาติโมกข์ที่ชอบธรรมมี ๔ อย่าง
จตุกกวาร จบ
หัวข้อประจำวาร
อาบัติที่ต้องด้วยวาจาของตน อาบัติที่ต้องด้วยกาย อาบัติที่หลับแล้วต้อง อาบัติที่ไม่ตั้งใจต้อง อาบัติที่ต้องด้วยกรรม โวหาร ๔ อย่าง ปาราชิกของภิกษุ ปาราชิกของภิกษุณี บริขาร อาบัติที่ต้องต่อหน้า อาบัติที่ไม่รู้จึงต้อง อาบัติที่ต้องทางกาย อาบัติที่ต้องในท่ามกลาง การออกจากอาบัติ ๒ หมวด ได้เพศใหม่ การโจท ปริวาส มานัต รัตติเฉทของภิกษุผู้ประพฤติมานัต พระบัญญัติที่ทรงยกขึ้นแสดงเอง กาลิกที่รับประเคน ยามหาวิกัฏ กรรม ๒ หมวด วิบัติ อธิกรณ์ ภิกษุผู้ทุศีล ภิกษุผู้มีศีลดีงาม อาบัติที่ภิกษุอาคันตุกะต้อง อาบัติที่ภิกษุผู้เตรียมไปต้อง ความที่สิกขาบทมีวัตถุต่างกัน ความที่สิกขาบทมีวัตถุเสมอกัน อาบัติที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ต้อง ปัจจัยแห่งการขาดพรรษา วจีทุจริต วจีสุจริต การถือเอาทรัพย์ บุคคลควรอภิวาท บุคคลควรแก่อาสนะ อาบัติที่ต้องในกาล ของที่ควร อาบัติที่ต้องในปัจจันตชนบท ของที่ควรในปัจจันตชนบท อาบัติที่ต้องในภายใน อาบัติที่ต้องในภายในสีมา อาบัติที่ต้องในหมู่บ้าน การโจท บุพพกิจ ความพรั่งพร้อมที่ถึงแล้ว อาบัติปาจิตตีย์ไม่มีอะไรอื่น การสมมติ การถึงอคติ การไม่ถึงอคติ ภิกษุอลัชชี ภิกษุมีศีลดีงาม ภิกษุผู้ไม่ควรถาม ๒ หมวด ภิกษุที่ไม่ควรได้รับคำตอบ ๒ หมวด ภิกษุที่ควรได้รับคำซักถาม ภิกษุที่ไม่ควรสนทนาด้วย อาบัติที่ภิกษุเป็นไข้ต้อง การงดปาติโมกข์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๖๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๔๕๑-๔๖๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=79              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=7851&Z=8061                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=965              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=965&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=10270              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=965&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=10270                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/brahmali#pli-tv-pvr7:46.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/horner-brahmali#Prv.7.4.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :