ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๕. ปัญจกวาร

๕. ปัญจกวาร
ว่าด้วยหมวด ๕
[๓๒๕] อาบัติมี ๕ กองอาบัติมี ๕ วินีตวัตถุมี ๕ อนันตริยกรรมมี ๕ บุคคล ที่แน่นอนมี ๕ อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรมมี ๕ ต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ อาบัติ เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัยมี ๕ ภิกษุไม่เข้ากรรมด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ตนเองไม่ทำกรรม ๒. ไม่เชิญภิกษุอื่น ๓. ไม่ให้ฉันทะหรือปาริสุทธิ ๔. เมื่อสงฆ์ทำกรรมย่อมคัดค้าน ๕. เมื่อสงฆ์ทำกรรมเสร็จแล้วกลับเห็นว่าไม่เป็นธรรม ภิกษุเข้ากรรมด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ตนเองทำกรรม ๒. เชิญภิกษุอื่น ๓. ให้ฉันทะหรือปาริสุทธิ ๔. เมื่อสงฆ์ทำกรรมไม่คัดค้าน ๕. เมื่อสงฆ์ทำกรรมเสร็จแล้ว ก็เห็นว่าเป็นธรรม กิจ ๕ อย่าง สมควรแก่ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต คือ ๑. เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒. ฉันคณโภชนะได้ ๓. ฉันปรัมปรโภชนะได้ ๔. การไม่ต้องอธิษฐาน ๕. การไม่ต้องวิกัป ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ จะเป็นภิกษุเลวทรามก็ดี จะเป็นภิกษุมีธรรมอัน ไม่กำเริบก็ดี ย่อมถูกระแวง ถูกรังเกียจ คือ ๑. มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ๒. มีหญิงม่ายเป็นโคจร ๓. มีสาวเทื้อเป็นโคจร ๔. มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร ๕. มีภิกษุณีเป็นโคจร น้ำมันมี ๕ ชนิด คือ ๑. น้ำมันงา ๒. น้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๖๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๕. ปัญจกวาร

๓. น้ำมันมะซาง ๔. น้ำมันระหุ่ง ๕. น้ำมันเปลวสัตว์ มันเหลวสัตว์มี ๕ ชนิด คือ ๑. มันเหลวหมี ๒. มันเหลวปลา ๓. มันเหลวปลาฉลาม ๔. มันเหลวหมู ๕. มันเหลวลา ความเสื่อมมี ๕ อย่าง คือ ๑. ความเสื่อมญาติ ๒. ความเสื่อมโภคสมบัติ ๓. ความเสื่อมคือโรค ๔. ความเสื่อมศีล ๕. ความเสื่อมทิฏฐิ ความถึงพร้อมมี ๕ อย่าง คือ ๑. ญาติสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งญาติ) ๒. โภคสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งโภคสมบัติ) ๓. อาโรคยสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งความไม่มีโรค) ๔. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งศีล) ๕. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ) นิสัยระงับจากพระอุปัชฌาย์มี ๕ คือ ๑. พระอุปัชฌาย์หลีกไป ๒. พระอุปัชฌาย์สึก ๓. พระอุปัชฌาย์มรณภาพ ๔. พระอุปัชฌาย์ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ๕. พระอุปัชฌาย์สั่งบังคับ บุคคล ๕ จำพวก ไม่ควรให้อุปสมบท คือ ๑. มีกาลบกพร่อง ๒. มีอวัยวะบกพร่อง ๓. มีวัตถุวิบัติ ๔. มีการกระทำอันเสียหาย ๕. ไม่บริบูรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๖๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๕. ปัญจกวาร

ผ้าบังสุกุลมี ๕ อย่าง คือ ๑. ผ้าตกที่ป่าช้า ๒. ผ้าตกที่ตลาด ๓. ผ้าหนูกัด ๔. ผ้าปลวกกัด ๕. ผ้าถูกไฟไหม้ ผ้าบังสุกุลแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ ๑. ผ้าที่โคกัด ๒. ผ้าที่แพะกัด ๓. ผ้าที่ห่มสถูป ๔. ผ้าที่เขาทิ้งในสถานที่อภิเษก ๕. ผ้าที่เขานำไปสู่ป่าช้าแล้วนำกลับมา อวหารมี ๕ อย่าง คือ ๑. เถยยาวหาร ๒. ปสัยหาวหาร ๓. ปริกัปปาวหาร ๔. ปฏิจฉันนาวหาร ๕. กุสาวหาร มหาโจรที่มีปรากฏอยู่ในโลกมี ๕ จำพวก สิ่งของที่ไม่ควรจ่ายมี ๕ อย่าง สิ่งของที่ไม่ควรแบ่งมี ๕ อย่าง อาบัติที่เกิดทางกาย มิใช่เกิดทางวาจา มิใช่เกิดทางจิตมี ๕ อย่าง อาบัติที่เกิดทางกายกับวาจา มิใช่เกิดทางจิตมี ๕ อย่าง อาบัติที่เป็นเทสนาคามินีมี ๕ อย่าง สงฆ์มี ๕ จำพวก ปาติโมกขุทเทสมี ๕ อย่าง ในปัจจันตชนบททุกแห่ง คณะมีพระวินัยธรครบ ๕ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้ ในการกรานกฐินมีอานิสงส์ ๕ อย่าง กรรมมี ๕ อย่าง อาบัติมี ๕ อย่าง จนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ ๕ อย่าง ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ ๕ อย่าง ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่ผู้อื่นไม่ให้ด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๖๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๕. ปัญจกวาร

ภิกษุไม่ควรบริโภคอกัปปิยวัตถุ ๕ อย่าง คือ ๑. ของที่เขาไม่ให้ ๒. ไม่ทราบ ๓. เป็นอกัปปิยะ ๔. ยังไม่ได้รับประเคน ๕. ไม่ได้ทำให้เป็นเดน ภิกษุควรบริโภคกัปปิยวัตถุ ๕ อย่าง คือ ๑. ของที่เขาให้ ๒. ทราบแล้ว ๓. เป็นกัปปิยะ ๔. รับประเคนแล้ว ๕. ทำให้เป็นเดนแล้ว การให้ที่ไม่จัดเป็นบุญ แต่ชาวโลกสมมติว่าเป็นบุญ มี ๕ อย่าง คือ ๑. ให้น้ำเมา ๒. ให้มหรสพ ๓. ให้สตรี ๔. ให้โคผู้ ๕. ให้รูปภาพ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยากมี ๕ อย่าง คือ ๑. ราคะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ๒. โทสะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ๓. โมหะเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ๔. ปฏิภาณเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก ๕. จิตที่คิดจะไปเกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก การกวาดมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ ๑. จิตของตนเลื่อมใส ๒. จิตของผู้อื่นเลื่อมใส ๓. เทวดาชื่นชม ๔. สั่งสมกรรมที่เป็นไปเพื่อให้เกิดความเลื่อมใส ๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ การกวาดแม้อื่นอีกก็มีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ ๑. จิตของตนเลื่อมใส ๒. จิตของผู้อื่นเลื่อมใส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๖๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๕. ปัญจกวาร

๓. เทวดาชื่นชม ๔. เป็นอันทำตามคำสั่งสอนของพระศาสนา ๕. ชนรุ่นหลังยึดถือเป็นแบบอย่าง
ว่าด้วยองค์คุณของพระวินัยธร
พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ ๑. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๒. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น ๓. ไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของตนทั้งไม่กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น แล้วปรับอาบัติ ๔. ปรับอาบัติโดยไม่ชอบธรรม ๕. ปรับอาบัติไม่ตามปฏิญญา พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ ๑. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตน ๒. กำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น ๓. กำหนดที่สุดถ้อยคำของตนทั้งกำหนดที่สุดถ้อยคำของผู้อื่น แล้วปรับอาบัติ ๔. ปรับอาบัติตามธรรม ๕. ปรับอาบัติตามปฏิญญา พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ ๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้มูลของอาบัติ ๓. ไม่รู้เหตุเกิดอาบัติ ๔. ไม่รู้การระงับอาบัติ ๕. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอาบัติ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้มูลของอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๖๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๕. ปัญจกวาร

๓. รู้เหตุเกิดอาบัติ ๔. รู้การระงับอาบัติ ๕. รู้ข้อปฏิบัติ อันให้ถึงการระงับอาบัติ พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ ๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้มูลของอธิกรณ์ ๓. ไม่รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้การระงับอธิกรณ์ ๕. ไม่รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอธิกรณ์ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ ๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้มูลของอธิกรณ์ ๓. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์ ๔. รู้การระงับอธิกรณ์ ๕. รู้ข้อปฏิบัติอันให้ถึงการระงับอธิกรณ์ พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ ๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้เหตุเค้ามูล ๓. ไม่รู้บัญญัติ ๔. ไม่รู้อนุบัญญัติ ๕. ไม่รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ ๑. รู้วัตถุ ๒. รู้เหตุเค้ามูล ๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้อนุบัญญัติ ๕. รู้ถ้อยคำแห่งอนุสนธิ พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ ๑. ไม่รู้ญัตติ ๒. ไม่รู้ตั้งญัตติ ๓. ไม่ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ไม่ฉลาดในเบื้องปลาย ๕. ไม่รู้กาล พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ ๑. รู้ญัตติ ๒. รู้ตั้งญัตติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๖๘}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๕. ปัญจกวาร

๓. ฉลาดในเบื้องต้น ๔. ฉลาดในเบื้องปลาย ๕. รู้กาล พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ ๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. ไม่ยึดถือ ไม่ใส่ใจ ไม่ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ให้ดี พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ ๑. รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. ยึดถือ ใส่ใจ ใคร่ครวญถ้อยคำที่สืบต่อจากอาจารย์ด้วยดี พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ ๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารไม่ดี จำแนกไม่ดี ไม่คล่องแคล่ว วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะไม่ดี พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ ๑. รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๖๙}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๕. ปัญจกวาร

๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ โดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะได้ดี พระวินัยธรประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ นับว่าเป็นผู้โง่เขลา คือ ๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ พระวินัยธรประกอบด้วยองค์ ๕ นับว่าเป็นผู้ฉลาด คือ ๑. รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์
ว่าด้วยภิกษุอยู่ป่า เป็นต้น
ภิกษุผู้ถืออยู่ป่ามี ๕ จำพวก คือ ๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลา งมงาย จึงอยู่ป่า ๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงอยู่ป่า ๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงอยู่ป่า ๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงอยู่ป่า ๕. เพราะอาศัยความมักน้อยสันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และ เพราะอาศัยว่าการอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติอันงามนี้ จึงอยู่ป่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๗๐}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๕. ปัญจกวาร

ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้มี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้ามี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่กลางแจ้งมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือผ้า ๓ ผืนมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการนั่งมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้มี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียวมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานำมาถวายเมื่อ ภายหลังมี ๕ จำพวก ฯลฯ ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรมี ๕ จำพวก คือ ๑. เพราะเป็นผู้โง่เขลา งมงาย จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร ๒. เป็นผู้ปรารถนาเลวทราม ถูกความอยากครอบงำ จึงถือการฉัน เฉพาะในบาตร ๓. เพราะมัวเมา จิตฟุ้งซ่าน จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร ๔. เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าสรรเสริญ จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร ๕. เพราะอาศัยความมักน้อยสันโดษ ขัดเกลา ความเงียบ สงัด และ เพราะอาศัยว่าการฉันเฉพาะในบาตรมีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติอัน งามนี้ จึงถือการฉันเฉพาะในบาตร
ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ จะพึงอยู่โดยไม่ถือนิสัยไม่ได้ คือ ๑. ไม่รู้อุโบสถ ๒. ไม่รู้อุโบสถกรรม ๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส ๕. มีพรรษาหย่อน ๕ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ ๑. รู้อุโบสถ ๒. รู้อุโบสถกรรม ๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส ๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๗๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๕. ปัญจกวาร

ภิกษุผู้ประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ ๑. ไม่รู้ปวารณา ๒. ไม่รู้ปวารณากรรม ๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส ๕. มีพรรษาหย่อน ๕ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ ๑. รู้ปวารณา ๒. รู้ปวารณากรรม ๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส ๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ ภิกษุผู้ประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ ๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. มีพรรษาหย่อน ๕ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ ๑. รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ ๑. ไม่รู้อุโบสถ ๒. ไม่รู้อุโบสถกรรม ๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส ๕. มีพรรษาหย่อน ๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๗๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๕. ปัญจกวาร

ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ ๑. รู้อุโบสถ ๒. รู้อุโบสถกรรม ๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส ๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ ภิกษุณีประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ ๑. ไม่รู้ปวารณา ๒. ไม่รู้ปวารณากรรม ๓. ไม่รู้ปาติโมกข์ ๔. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทส ๕. มีพรรษาหย่อน ๕ ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ ๑. รู้ปวารณา ๒. รู้ปวารณากรรม ๓. รู้ปาติโมกข์ ๔. รู้ปาติโมกขุทเทส ๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ ภิกษุณีประกอบแม้ด้วยองค์อื่นอีก ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ไม่ควรอยู่ คือ ๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. มีพรรษาหย่อน ๕ ภิกษุณีประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่ถือนิสัยแล้ว ควรอยู่ได้ คือ ๑. รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. มีพรรษาครบ ๕ หรือมีพรรษาเกิน ๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๗๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๕. ปัญจกวาร

ว่าด้วยโทษในกรรมไม่น่าเลื่อมใส เป็นต้น
กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสมีโทษ ๕ อย่าง คือ ๑. ตนเองก็ติเตียนตน ๒. ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียน ๓. กิตติศัพท์อันชั่วย่อมขจรไป ๔. หลงลืมสติตาย ๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก กรรมที่น่าเลื่อมใสมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ ๑. ตนเองก็ไม่ติเตียนตน ๒. ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็สรรเสริญ ๓. กิตติศัพท์อันดีย่อมขจรไป ๔. ไม่หลงลืมสติตาย ๕. หลังจากตายแล้ว ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสมีโทษแม้อื่นอีก ๕ อย่าง คือ ๑. ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส ๒. บางพวกที่เลื่อมใสแล้วกลับแปรเป็นอื่นไป ๓. ไม่เป็นอันทำตามคำสอนพระศาสดา ๔. ชนรุ่นหลังย่อมไม่ยึดถือเป็นแบบอย่าง ๕. จิตของเขาไม่เลื่อมใส กรรมที่น่าเลื่อมใสมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ ๑. ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส ๒. ผู้ที่เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป ๓. เป็นอันทำตามคำสอนพระศาสดา ๔. ชนรุ่งหลัง ย่อมยึดถือเป็นแบบอย่าง ๕. จิตของเขาย่อมเลื่อมใส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๗๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๕. ปัญจกวาร

ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูลมีโทษ ๕ อย่าง คือ ๑. ต้องอาบัติเพราะเที่ยวไปไม่บอกลา ๒. ต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับ ๓. ต้องอาบัติเพราะอาสนะกำบัง ๔. แสดงธรรมแก่มาตุคามเกิน ๕-๖ คำต้องอาบัติ ๕. เป็นผู้มากด้วยความดำริในกามอยู่ ภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล คลุกคลีอยู่ในตระกูลเกินเวลา มีโทษ ๕ อย่าง คือ ๑. พบมาตุคามเป็นประจำ ๒. เมื่อมีการพบก็มีการเกี่ยวข้อง ๓. เมื่อมีการเกี่ยวข้องก็มีความสนิทสนม ๔. เมื่อมีความสนิทสนมก็มีจิตกำหนัด ๕. เมื่อมีจิตกำหนัดก็เป็นอันหวังข้อนี้ได้ คือ เธอจักไม่ยินดีประพฤติ พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจัก บอกลาสิกขาเพื่อเป็นคฤหัสถ์
ว่าด้วยพืชและผลไม้
พืชพันธุ์มี ๕ ชนิด คือ ๑. พืชพันธุ์เกิดจากเหง้า ๒. พืชพันธุ์เกิดจากลำต้น ๓. พืชพันธุ์เกิดจากตา ๔. พืชพันธุ์เกิดจากยอด ๕. พืชพันธุ์เกิดจากเมล็ด ผลไม้ที่ควรบริโภคด้วยวิธีอันควรแก่สมณะ มี ๕ คือ ๑. ผลไม้ที่ลนไฟ ๒. ผลไม้ที่กรีดด้วยศัสตรา ๓. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ ๔. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด ๕. ผลไม้ที่ปล้อนเอาเมล็ดออกแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๗๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๕. ปัญจกวาร

ว่าด้วยวิสุทธิ ๕
วิสุทธิมี ๕ แบบ คือ ๑. ยกนิทานขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็น วิสุทธิแบบที่ ๑ ๒. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทส ที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๒ ๓. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓ ขึ้น แสดงจบแล้วพึงสวดอุทเทสที่เหลือด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๓ ๔. ยกนิทานขึ้นแสดง ยกปาราชิก ๔ ขึ้นแสดง ยกสังฆาทิเสส ๑๓ ขึ้นแสดง ยกอนิยต ๒ ขึ้นแสดงจบแล้ว พึงสวดอุทเทสที่เหลือ ด้วยสุตบท นี้เป็นวิสุทธิแบบที่ ๔ ๕. ยกขึ้นแสดงโดยพิสดารทั้งหมด เป็นวิสุทธิแบบที่ ๕ วิสุทธิแม้อื่นอีกมี ๕ แบบ คือ ๑. สุตตุทเทสอุโบสถ ๒. ปาริสุทธิอุโบสถ ๓. อธิษฐานอุโบสถ ๔. สามัคคีอุโบสถ ๕. ปวารณา
ว่าด้วยอานิสงส์การทรงวินัย เป็นต้น
การทรงวินัยมีอานิสงส์ ๕ อย่าง คือ ๑. เป็นอันคุ้มครองรักษากองศีลของตนไว้ดีแล้ว ๒. ผู้ที่ถูกความรังเกียจครอบงำย่อมหวนระลึกได้ ๓. กล้าพูดในท่ามกลางสงฆ์ ๔. ข่มด้วยดีซึ่งข้าศึกโดยสหธรรม ๕. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรมมี ๕ อย่าง การงดปาติโมกข์ชอบธรรมมี ๕ อย่าง
ปัญจกวาร จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๗๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

หัวข้อประจำวาร

หัวข้อประจำวาร
อาบัติ กองอาบัติ วินีตวัตถุ อนันตริยกรรม บุคคลที่แน่นอน อาบัติมีการตัดเป็นวินัยกรรม ต้องอาบัติด้วยอาการ ๕ ต้องอาบัติเพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย ภิกษุไม่เข้ากรรม ภิกษุเข้ากรรม กิจที่ควร ภิกษุถูกระแวง น้ำมัน มันเหลว ความเสื่อม ความถึงพร้อม นิสัยระงับ บุคคลไม่ควรให้อุปสมบท ผ้าตกที่ป่าช้า ผ้าที่โคกัด การลัก โจร สิ่งของไม่ควรจ่าย สิ่งของไม่ควรแบ่ง อาบัติที่เกิดทางกาย เกิดทางกายกับวาจา อาบัติเป็นเทสนาคามินี สงฆ์ ปาติโมกขุทเทส ปัจจันตชนบท อานิสงส์กฐิน กรรม อาบัติจนกระทั่งสงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ ๓ ครั้ง ปาราชิก ถุลลัจจัย ทุกกฏ อกัปปิยวัตถุ กัปปิยวัตถุ สิ่งที่ให้แล้วไม่เป็นบุญ สิ่งที่บรรเทาได้ยาก การกวาด การกวาดอย่างอื่นอีก ถ้อยคำ อาบัติ อธิกรณ์ วัตถุ ญัตติ อาบัติและอนาบัติ ปาติโมกข์ทั้ง ๒ อาบัติเบา จงทราบฝ่ายดำและฝ่ายขาวดังข้างต้นนี้ ภิกษุถืออยู่ป่า ถือเที่ยวบิณฑบาต ถือผ้าบังสุกุล ถืออยู่โคนไม้ ถืออยู่ป่าช้า ถืออยู่กลางแจ้ง ถือผ้า ๓ ผืน ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับ ถือการนั่ง ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่จัดไว้ ถือนั่งฉัน ณ อาสนะแห่งเดียว ถือการห้ามภัตรที่ถวายทีหลัง ถือฉันข้าวเฉพาะในบาตร อุโบสถ ปวารณา อาบัติและอนาบัติ บทฝ่ายดำและฝ่ายขาวดังข้างต้นนี้สำหรับภิกษุณีก็เหมือนกัน กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใส กรรมที่น่าเลื่อมใส กรรมที่ไม่น่าเลื่อมใสและน่าเลื่อมใสอื่นอีก ๒ อย่าง ภิกษุเข้าไปสู่สกุลคลุกคลีอยู่เกินเวลา พืชพันธุ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๔๗๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [เอกุตตริกนัย]

๖. ฉักกวาร

ผลไม้ควรแก่สมณะ วิสุทธิ วิสุทธิแม้อื่นอีก อานิสงส์การทรงพระวินัย การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
๕ หมวดล้วนที่กล่าวแล้ว จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๔๖๓-๔๗๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=80              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=8062&Z=8286                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=979              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=979&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=10434              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=979&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=10434                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/brahmali#pli-tv-pvr7:63.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr7/en/horner-brahmali#Prv.7.5.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :