ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ปริวาร
๘. สังสัฏฐวาร
ว่าด้วยวาระที่ว่าด้วยการรวมกัน
[๓๕๑] ถาม : ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี รวมกันหรือแยกกัน ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันได้หรือ ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี รวมกันหรือแยกกัน ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันได้หรือ ตอบ : ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี รวมกันไม่แยกจากกัน ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันไม่ได้ ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๓๑}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๙. สัตตสมถนิทาน

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี รวมกัน ไม่แยกจากกัน ก็แลนักปราชญ์ยักย้ายบัญญัติธรรมเหล่านี้ให้แยกออกจากกันไม่ได้
๙. สัตตสมถนิทาน
ว่าด้วยนิทานแห่งสมถะ ๗
[๓๕๒] ถาม : สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน ตอบ : สัมมุขาวินัยมีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็นชาติ มีนิทานเป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ ติณวัตถารกะ มีนิทานเป็นนิทาน มีนิทานเป็นสมุทัย มีนิทานเป็นชาติ มีนิทาน เป็นแดนเกิดก่อน มีนิทานเป็นองค์ มีนิทานเป็นสมุฏฐาน ถาม : สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไร เป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๓๒}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๙. สัตตสมถนิทาน

ตอบ : สัมมุขาวินัย มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุ เป็นแดนเกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ ติณวัตถารกะ มีเหตุเป็นนิทาน มีเหตุเป็นสมุทัย มีเหตุเป็นชาติ มีเหตุเป็นแดน เกิดก่อน มีเหตุเป็นองค์ มีเหตุเป็นสมุฏฐาน ถาม : สัมมุขาวินัย มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ ติณวัตถารกะ มีอะไรเป็นนิทาน มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็น แดนเกิดก่อน มีอะไรเป็นองค์ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน ตอบ : สัมมุขาวินัย มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัยเป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน สติวินัย ฯลฯ อมูฬหวินัย ฯลฯ ปฏิญญาตกรณะ ฯลฯ เยภุยยสิกา ฯลฯ ตัสสปาปิยสิกา ฯลฯ ติณวัตถารกะ มีปัจจัยเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นสมุทัย มีปัจจัยเป็นชาติ มีปัจจัย เป็นแดนเกิดก่อน มีปัจจัยเป็นองค์ มีปัจจัยเป็นสมุฏฐาน
ว่าด้วยมูลเหตุ และสมุฏฐานแห่งสมถะ
[๓๕๓] ถาม : สมถะ ๗ มีมูลเหตุเท่าไร มีสมุฏฐานเท่าไร ตอบ : สมถะ ๗ มีมูลเหตุ ๒๖ มีสมุฏฐาน ๓๖ ถาม : สมถะ ๗ มีมูลเหตุ ๒๖ อะไรบ้าง ตอบ : สัมมุขาวินัย มีมูลเหตุ ๔ คือ ความพร้อมหน้าสงฆ์ ๑ ความพร้อม หน้าธรรม ๑ ความพร้อมหน้าวินัย ๑ ความพร้อมหน้าบุคคล ๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๓๓}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ

สติวินัย มีมูลเหตุ ๔ อมูฬหวินัย มีมูลเหตุ ๔ ปฏิญญาตกรณะ มีมูลเหตุ ๒ คือ (๑) ผู้แสดง (๒) ผู้รับ เยภุยยสิกา มีมูลเหตุ ๔ ตัสสปาปิยสิกา มีมูลเหตุ ๔ ติณวัตถารกะ มีมูลเหตุ ๔ คือ (๑) ความพร้อมหน้าสงฆ์ (๒) ความพร้อมหน้าธรรม (๓) ความพร้อมหน้าวินัย (๔) ความพร้อมหน้าบุคคล สมถะ ๗ มีมูลเหตุ ๒๖ นี้ ถาม : สมถะ ๗ มีสมุฏฐาน ๓๖ อะไรบ้าง ตอบ : การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่ คัดค้าน กรรม คือ สติวินัย การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน กรรม คือ อมูฬหวินัย การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน กรรม คือ ปฏิญญาตกรณะ การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน กรรม คือ เยภุยยสิกา การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน กรรม คือ ตัสสปาปิยสิกา การประกอบ การกระทำ การเข้าถึง การขอร้อง กิริยาที่ยอมรับ ไม่คัดค้าน กรรม คือ ติณวัตถารกะ สมถะ ๗ มีสมุฏฐาน ๓๖ นี้
๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ
ว่าด้วยสมถะ ๗ มีอรรถต่างกัน เป็นต้น
[๓๕๔] ถาม : ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี มีอรรถต่างกัน มี พยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๓๔}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ

ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ ต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน ตอบ : ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี สติวินัยก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ ต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน แต่พยัญชนะต่างกัน ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี ฯลฯ ธรรมเหล่านี้คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี ก็มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ ต่างกัน
วิวาทาธิกรณ์
[๓๕๕] วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท เป็น อธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ก็มี วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ ไม่เป็นวิวาทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วยก็มี ในข้อนั้น วิวาทอย่างไรเป็นวิวาทาธิกรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้วิวาทกันว่า นี้เป็น ธรรม นี้ไม่เป็นธรรม ฯลฯ นี้อาบัติชั่วหยาบ นี้อาบัติไม่ชั่วหยาบ ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าวต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้ม ความหมายมั่นในเรื่องนั้น วิวาท นี้เป็นวิวาทาธิกรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๓๕}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ

ในข้อนั้น วิวาทอย่างไรไม่จัดเป็นอธิกรณ์ มารดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตร ทะเลาะกับมารดาบ้าง บิดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตรทะเลาะกับบิดาบ้าง พี่ชายทะเลาะ กับน้องชายบ้าง น้องชายทะเลาะกับพี่สาวบ้าง พี่สาวทะเลาะกับน้องสาวบ้าง เพื่อน ทะเลาะกับเพื่อนบ้าง วิวาทนี้ไม่เป็นอธิกรณ์ ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหนไม่เป็นวิวาท อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็นวิวาท ในข้อนั้น อย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย วิวาทาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย
อนุวาทาธิกรณ์
[๓๕๖] การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ การโจทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็น การโจท เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ก็มี การโจท ไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นการโจทก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วยก็มี ในข้อนั้น การโจทอย่างไรเป็นอนุวาทาธิกรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมโจทภิกษุ ด้วยสีลวิบัติหรืออาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติหรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความพยายามโจท การให้กำลังสนับสนุนในเรื่องนั้น การโจทนี้เป็นอนุวาทาธิกรณ์ ในข้อนั้น การโจทอย่างไรไม่เป็นอธิกรณ์ มารดาฟ้องบุตรบ้าง บุตรฟ้องมารดาบ้าง บิดาฟ้องบุตรบ้าง บุตรฟ้องบิดาบ้าง พี่ชายฟ้องน้องชายบ้าง น้องชายฟ้องพี่สาวบ้าง พี่สาวฟ้องน้องชายบ้าง เพื่อนฟ้องเพื่อนบ้าง การโจทนี้ไม่เป็นอธิกรณ์ ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหนไม่เป็นการโจท อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็นการโจท ในข้อนั้น อย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย อนุวาทาธิกรณ์ เป็น อธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๓๖}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

๑๐. สัตตสมถนานัตถาทิ

อาปัตตาธิกรณ์
[๓๕๗] อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ก็มี อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นอาบัติก็มี เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วยก็มี ในข้อนั้น อาบัติอย่างไหนเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๕ กอง เป็นอาปัตตา- ธิกรณ์ อาบัติทั้ง ๗ กอง เป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัตินี้เป็นอาปัตตาธิกรณ์ ในข้อนั้น อาบัติอย่างไหนไม่เป็นอธิกรณ์ โสดาบัติ สมาบัติ อาบัตินี้ไม่เป็นอธิกรณ์ ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหนไม่เป็นอาบัติ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็น อาบัติ ในข้อนั้น อย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย อาปัตตาธิกรณ์เป็น อธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย
กิจจาธิกรณ์
[๓๕๘] กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ กิจไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย กิจเป็นกิจจาธิกรณ์ก็มี กิจไม่เป็นอธิกรณ์ก็มี อธิกรณ์ไม่เป็นกิจก็มี เป็น อธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วยก็มี ในข้อนั้น กิจอย่างไหนเป็นกิจจาธิกรณ์ ความที่สงฆ์มีกิจ ความที่สงฆ์มีกิจอันจะพึงทำ คือ อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม กิจนี้เป็นกิจจาธิกรณ์ ในข้อนั้น กิจอย่างไหนไม่เป็นอธิกรณ์ กิจที่พึงทำแก่พระอาจารย์ กิจที่พึงทำแก่พระอุปัชฌาย์ กิจที่พึงทำแก่ภิกษุ ปูนอุปัชฌาย์ กิจที่พึงทำแก่ภิกษุปูนอาจารย์ กิจนี้ไม่เป็นอธิกรณ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๓๗}

พระวินัยปิฎก ปริวาร [อธิกรณเภท]

หัวข้อประจำเรื่อง

ในข้อนั้น อธิกรณ์อย่างไหน ไม่เป็นกิจ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ อธิกรณ์นี้ไม่เป็นกิจ ในข้อนั้น กิจอย่างไหนเป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย กิจจาธิกรณ์เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย
อธิกรณเภท จบ
หัวข้อประจำเรื่อง
การรื้อฟื้น อธิกรณ์ รื้อฟื้นด้วยอาการเท่าไร บุคคลรื้อฟื้น มีอะไรเป็นนิทาน เหตุ ปัจจัย มูล สมุฏฐาน เป็นอาบัติ มีอธิกรณ์ ในที่ใด แยกจากกัน มีนิทาน เหตุ ปัจจัย มูล สมุฏฐาน มีพยัญชนะ วิวาท อธิกรณ์ ดังที่กล่าวมานี้ จัดลงในประเภทอธิกรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๘ หน้า : ๕๓๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๘ หน้าที่ ๕๓๑-๕๓๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=8&siri=95              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=9272&Z=9496                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1060              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=8&item=1060&items=9              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=8&item=1060&items=9                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr11/en/brahmali#pli-tv-pvr11:38.0 https://suttacentral.net/pli-tv-pvr11/en/horner-brahmali#Prv.11.1.15



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :