บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา [๔๓๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทานิมนต์พระเถระทั้งหลายมาประชุมกัน ด้วยกล่าวว่า ดิฉันจักบวชสิกขมานา ครั้นเห็นอาหารของเคี้ยวของฉันมากมาย จึงส่งพระเถระทั้ง หลายกลับด้วยกล่าวว่าดิฉันจักยังไม่บวชสิกขมานาก่อน แล้วนิมนต์พระเทวทัต พระโกกาลิกะ พระ กฏโมรกติสสกะ และพระสมุทททัตตะ ผู้โอรสของพระนางขัณฑเทวี มาประชุมกันบวชสิกขมานา. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา จึงได้บวชสิกขมานาด้วยให้ฉันทะค้างเล่า ...ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา บวชสิกขมานาด้วยให้ฉันทะค้าง จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้บวช สิกขมานาด้วยให้ฉันทะค้างเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๑๓๖. ๑๑. อนึ่ง ภิกษุณีใดยังสิกขมานาให้บวชด้วยให้ฉันทะค้างเป็นปาจิตตีย์.เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ. สิกขาบทวิภังค์ [๔๓๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. บทว่า ด้วยให้ฉันทะค้าง คือ เมื่อที่ประชุมเลิกไปแล้ว. ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สตรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแล้ว. บทว่า ให้บวช คือ ให้อุปสมบท. ตั้งใจว่า จักให้อุปสมบท แล้วแสวงหาคณะก็ดี อาจารย์ก็ดี บาตรก็ดี จีวรก็ดี สมมติ- *สีมาก็ดี ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา สองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ภิกษุณีผู้อุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.อนาปัตติวาร [๔๓๗] ให้อุปสมบทในเมื่อที่ประชุมยังไม่เลิก ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง- *อาบัติแล.กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๕๙๖๗-๖๐๐๓ หน้าที่ ๒๗๐-๒๗๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=3&A=5967&Z=6003&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=3&A=5967&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=3&siri=109 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=435 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=3&A=4834 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11846 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=3&A=4834 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11846 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.435 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc81/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc81/en/horner
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]