ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
             [๘๑๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน.
วางท่าภาคภูมิ ...
พระบัญญัติ
๑๖๐. ๑๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่เดินโยกกายไปในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน พึงประคองกายเดินไป. ภิกษุใดอาศัย ความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน วางท่าภาคภูมิ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ.
-----------------------------------------------------
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๖
[๘๑๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งโคลงกายอยู่ในละแวกบ้าน วางท่า ภาคภูมิ ...
พระบัญญัติ
๑๖๑. ๑๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่นั่งโยกกายในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงนั่งโคลงกายในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองกาย. ภิกษุใดอาศัยความ ไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน วางท่าภาคภูมิ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
-----------------------------------------------------
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๗
[๘๑๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินไกวแขนไปในละแวกบ้าน แสดงท่ากรีดกราย ...
พระบัญญัติ
๑๖๒. ๑๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนไปในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน พึงประคองแขนเดินไป. ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน แสดงท่ากรีดกราย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๗ จบ.
-----------------------------------------------------
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๘
[๘๑๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งไกวแขน แสดงท่ากรีดกราย ในละแวกบ้าน ...
พระบัญญัติ
๑๖๓. ๑๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ไกวแขนนั่งในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงนั่งไกวแขนในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองแขน. ภิกษุใดอาศัยความไม่- *เอื้อเฟื้อ นั่งแกว่งไกวแขนในละแวกบ้าน แสดงท่ากรีดกราย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๘ จบ.
-----------------------------------------------------
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๙
[๘๑๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ทำท่าคอพับ ...
พระบัญญัติ
๑๖๔. ๑๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน พึงเดินประคองศีรษะไป ภิกษุใดอาศัย ความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ทำท่าคอพับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
-----------------------------------------------------
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
[๘๑๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน ทำท่า คอพับ ...
พระบัญญัติ
๑๖๕. ๒๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่โคลงศีรษะนั่งในละแวกบ้าน.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุไม่พึงนั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน พึงนั่งประคองศีรษะ ภิกษุใดอาศัยความไม่ เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน ทำศีรษะให้ห้อย ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ อยู่ในที่พัก ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อุชชัคฆิกวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
วรรคที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๕๓๗๕-๑๕๔๕๒ หน้าที่ ๖๖๗-๖๗๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=15375&Z=15452&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=2&A=15375&w=ัตีนิทาน&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=136              ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=810              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=2&A=9693#814top              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10446              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=2&A=9693#814top              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10446              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk11 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk12 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk13 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk14 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk15 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk16 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk17 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk18 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk19 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk20

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกชองแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]