บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
๔. สีหสูตร [๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงสามารถบัญญัติผลแห่งทานที่จะพึงเห็นได้ในปัจจุบัน หรือหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสามารถ ท่านสีหเสนาบดี แล้วจึงตรัสต่อไป ว่า ดูกรท่านสีหเสนาบดี ทายกผู้เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็น อันมาก แม้ข้อนี้เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ฯ อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาทายกผู้เป็นทานบดี แม้ข้อนี้ ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ฯ อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของทายกผู้เป็นทานบดีย่อมขจร แม้ข้อนี้ ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ฯ อีกประการหนึ่ง ทายกผู้เป็นทานบดี จะเข้าไปสู่ที่ประชุมใดๆ คือ ที่ประชุมกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ก็ย่อมเป็นผู้องอาจไม่เก้อเขิน เข้าไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ฯ อีกประการหนึ่ง ทายกผู้เป็นทานบดี เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงได้ในสัมปรายภพ ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้แล้ว สีหเสนาบดีจึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๔ ข้อ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอก แล้ว ข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคในผลแห่งทาน ๔ ข้อนี้ก็หามิได้ แม้ข้าพระองค์เองก็ทราบดี คือ ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาข้าพระองค์ ผู้เป็นทายก เป็นทานบดี กิตติศัพท์อันงามของข้าพระองค์ผู้เป็นทายก เป็นทานบดี ย่อมขจร ทั่วไปว่า สีหเสนาบดีเป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้บำรุงพระสงฆ์ ข้าพระองค์ ผู้เป็นทายก เป็นทานบดี จะเข้าไปสู่ที่ประชุมใดๆ คือ ที่ประชุมกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ก็ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขินเข้าไป ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๔ ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสบอกแล้ว ข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคในผลแห่งทาน ๔ ข้อนี้ ก็หามิได้ แม้ข้า พระองค์เองก็ย่อมทราบดี ส่วนผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง (ข้อที่ ๕) ที่พระผู้มี พระภาคตรัสบอกข้าพระองค์ว่า ทายกผู้เป็นทานบดีเมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบ ก็แต่ว่าข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อพระผู้มี พระภาคในข้อนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสย้ำว่า อย่างนั้นท่านสีหเสนาบดีๆ คือ ทายกผู้เป็นทานบดี เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ นรชนผู้ไม่ตระหนี่ให้ทาน ย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชนเป็นอันมากย่อมคบหานรชนนั้น นรชนนั้นย่อมได้เกียรติ มียศ เจริญ เป็นผู้ไม่เก้อเขินแกล้วกล้าเข้าสู่ที่ประชุมชน เพราะเหตุนี้แล บัณฑิตผู้หวังสุข จงขจัดมลทิน คือ ความ ตระหนี่แล้วให้ทาน บัณฑิตเหล่านั้นย่อมประดิษฐานใน ไตรทิพย์ ถึงความเป็นสหายของเทวดา ร่าเริงอยู่ตลอดกาล นาน บัณฑิตเหล่านั้น ได้ทำสิ่งที่มุ่งหวัง ได้ทำกุศลแล้ว จุติจากโลกนี้แล้ว ย่อมมีรัศมีเปล่งปลั่ง เที่ยวชมไปใน อุทยานชื่อนันทนวัน ย่อมเพรียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เพลิดเพลินรื่นเริงบันเทิงใจอยู่ในนันทนวัน สาวกทั้งปวง ของพระสุคตผู้ไม่มีกิเลส ผู้คงที่ ทำตามพระดำรัสของ พระองค์แล้ว ย่อมร่าเริงทุกเมื่อ ฯจบสูตรที่ ๔ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๘๔๑-๘๘๖ หน้าที่ ๓๗-๓๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=841&Z=886&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=22&A=841&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=34 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=34 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=22&A=852 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=491 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=22&A=852 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=491 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i031-e.php#sutta4 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an05/an05.034.than.html https://suttacentral.net/an5.34/en/sujato https://suttacentral.net/an5.34/en/bodhi
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]