บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
สัตตกนิเทศ [๑๐๐๕] ในสัตตกมาติกาเหล่านั้น อนุสัย ๗ เป็นไฉน กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เหล่านี้เรียกว่า อนุสัย ๗ [๑๐๐๖] ปริยุฏฐาน ๗ เป็นไฉน กามราคปริยุฏฐาน ปฏิฆปริยุฏฐาน มานปริยุฏฐาน ทิฏฐิปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน ภวราคปริยุฏฐาน อวิชชาปริยุฏฐาน เหล่านี้เรียกว่า ปริยุฏฐาน ๗ [๑๐๐๗] สัญโญชน์ ๗ เป็นไฉน กามราคสัญโญชน์ ปฏิฆสัญโญชน์ มานสัญโญชน์ ทิฏฐิสัญโญชน์ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ ภวราคสัญโญชน์ อวิชชาสัญโญชน์ เหล่านี้เรียกว่า สัญโญชน์ ๗ [๑๐๐๘] อสัทธรรม ๗ เป็นไฉน บุคคลเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีการศึกษาน้อย เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม เหล่านี้เรียกว่า อสัทธรรม ๗ [๑๐๐๙] ทุจริต ๗ เป็นไฉน ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ เหล่านี้เรียกว่า ทุจริต ๗ [๑๐๑๐] มานะ ๗ เป็นไฉน มานะ อติมานะ มานาติมานะ โอมานะ อธิมานะ อัสมิมานะ มิจฉา- *มานะ เหล่านี้เรียกว่า มานะ ๗ [๑๐๑๑] ทิฏฐิ ๗ เป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้มีรูป สำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ เกิดในสุกกะของมารดา เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์ พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้ สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้ เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี ก็ หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็ หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นเป็นทิพย์มีรูป ท่องเที่ยงอยู่ในกามภูมิ มีอาหารคือ คำข้าวเป็นภักษา มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อม พินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่าขาดสูญ ด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความ ไม่มีของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้ สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้ เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี ก็ หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็ หามิได้ ท่านผู้เจริญอัตตาอื่นเป็นทิพย์มีรูป สำเร็จแล้วด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ ครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เรา ย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานั้นแลเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตา นี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้ สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้ เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี ก็ หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไป แห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการซึ่งนานัตตสัญญา มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่ เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานั้นแล เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วย เหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวก หนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีของสัตว์ ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วย ประการอย่างนี้ สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้ เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี ก็ หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็ หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง มี อยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะ อัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่ มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะ หรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้ สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้ เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี ก็ หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน โดยบริกรรมว่า วิญญาณน้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เราย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะ อัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่ มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่า ขาดสูญด้วยดี สมณะ หรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ ผู้ปรากฏมีอยู่ ด้วยประการอย่างนี้ สมณะหรือพราหมณ์อื่นกล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้ เจริญ ท่านกล่าวอัตตาใด อัตตานั้นมีอยู่แล เราจะได้กล่าวว่า อัตตานั้นไม่มี ก็ หามิได้ ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้จะได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็ หามิได้ ท่านผู้เจริญ อัตตาอื่นที่เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะก้าวล่วง อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง มีอยู่แล ท่านย่อมไม่รู้ไม่เห็นอัตตานั้น เรา ย่อมรู้เห็นอัตตานั้น ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานั้นแล เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย แตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อัตตานี้จึงได้ชื่อว่าขาดสูญด้วยดี สมณะหรือพราหมณ์พวกหนึ่ง บัญญัติความ ขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มี ของสัตว์ผู้ปรากฏมีอยู่ด้วยประการอย่างนี้ เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ ๗เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๓๑๙๐-๑๓๒๘๐ หน้าที่ ๕๖๖-๕๗๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=13190&Z=13280&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=35&A=13190&pagebreak=0 ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2] อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=35&siri=72 ศึกษาอรรถกถาได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1005 พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=35&A=10444 อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=54&A=12980 The Pali Tipitaka in Roman :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_read.php?B=35&A=10444 The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=54&A=12980 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/vb17/en/thittila#pts-p-pi383
บันทึก ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึก ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. บันทึกล่าสุด ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]