![]() |
|||||
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |||||
![]() | |||||
![]() | |||||
|
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้าที่ ๒๙๕-๒๙๗.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]
สังคีติหมวด ๔
๓๙ [๓๑๓] ทักขิณาวิสุทธิ๑- (ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา) ๔ ๑. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก (ผู้ให้) แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก (ผู้รับ) ๒. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ๓. ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก ๔. ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก๔๐ สังคหวัตถุ๒- (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว) ๔ ๑. ทาน (การให้) ๒. เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก) ๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) ๔. สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ)๔๑ อนริยโวหาร(วิธีการพูดของผู้มิใช่อริยะ) ๔ ๑. มุสาวาท (พูดเท็จ) ๒. ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) ๓. ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) ๔. สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๗๘/๑๒๓ @๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๓๒/๕๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๙๕}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]
สังคีติหมวด ๔
๔๒ อริยโวหาร(วิธีการพูดของผู้เป็นอริยะ) ๔ ๑. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ) ๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด) ๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ) ๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ)๔๓ อนริยโวหาร๑- ๔ อีกนัยหนึ่ง ๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น ๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้๔๔ อริยโวหาร๒- ๔ อีกนัยหนึ่ง ๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๐/๓๖๘ @๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๑/๓๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๙๖}
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]
สังคีติหมวด ๔
๔๕ อนริยโวหาร๑- ๔ อีกนัยหนึ่ง ๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้๔๖ อริยโวหาร๒- ๔ อีกนัยหนึ่ง ๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น ๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้๔๗ [๓๑๔] บุคคล๓- ๔ ๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน ๒. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ๔. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้ เดือดร้อน เขาผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุขมีตนอันประเสริฐอยู่ในปัจจุบันเทียว @เชิงอรรถ : @๑ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๒/๓๖๙ @๒ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๕๓/๓๗๐ @๓ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๐๓, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๗๔-๑๗๗/๒๐๖-๒๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๒๙๗}
เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๒๙๕-๒๙๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=295&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=8394 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=8394#p295 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11
จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๙๕-๒๙๗.
![]() | ![]() ![]() |
บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]