ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

หน้าที่ ๓๙๘-๓๙๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๗ ประการ

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบ กายสงบใจ) ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้ง จิตมั่น) ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจ เป็นกลาง) นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรเจริญ (ค) ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร คือ วิญญาณฐิติ๑- ๗ ได้แก่ ๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑ ๒. มีสัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดใน ปฐมฌาน นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒ ๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวกเทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓ ๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔ ๕. มีสัตว์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “อากาศหาที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณ- ฐิติที่ ๕ ๖. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุด มิได้” นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๒ หน้า ๓๓๕-๓๓๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๙๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

                                                                 ธรรม ๗ ประการ

๗. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” นี้ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗ นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้ (ฆ) ธรรม ๗ ประการที่ควรละ คืออะไร คือ อนุสัย๑- ๗ ได้แก่ ๑. กามราคานุสัย (อนุสัยคือความกำหนัดในกาม) ๒. ปฏิฆานุสัย (อนุสัยคือความยินร้าย) ๓. ทิฏฐานุสัย (อนุสัยคือความเห็นผิด) ๔. วิจิกิจฉานุสัย (อนุสัยคือความลังเลสงสัย) ๕. มานานุสัย (อนุสัยคือความถือตัว) ๖. ภวราคานุสัย (อนุสัยคือความติดใจในภพ) ๗. อวิชชานุสัย (อนุสัยคือความไม่รู้แจ้ง) นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรละ (ง) ธรรม ๗ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร คือ อสัทธรรม๒- ๗ ได้แก่ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้มีสุตะน้อย ๕. เป็นผู้เกียจคร้าน ๖. เป็นผู้มีสติหลงลืม ๗. เป็นผู้มีปัญญาทราม นี้ คือธรรม ๗ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๒ หน้า ๓๓๗ ในเล่มนี้, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๑/๑๗ @ ดูเทียบข้อ ๓๓๐ หน้า ๓๓๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๙๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๙๘-๓๙๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=11&page=398&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=11440 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=11&A=11440#p398 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 11 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๙๘-๓๙๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]