ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
๕. อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๓๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวชวนภิกษุผู้เป็น สัทธิวิหาริกของพระพี่ชายว่า มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน แล้วสั่งไม่ให้ เขาถวายอะไรแก่เธอ ซ้ำส่งกลับด้วยบอกว่า กลับเถิด อาวุโส การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเรา กับคุณไม่นำความสำราญมาให้ การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเราคนเดียว ย่อมจะสำราญ ขณะนั้น เป็นเวลาใกล้เที่ยงแล้ว ภิกษุนั้นไม่สามารถเที่ยวหาบิณฑบาตฉันได้ แม้จะไปฉันที่โรงฉันก็ไม่ ทันกาล จำต้องอดภัตตาหาร ครั้นเธอไปถึงอารามแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ท่านอุปนันทศากยบุตร กล่าวชวนภิกษุว่า มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน แล้วไฉนจึงสั่งไม่ให้เขา ถวายอะไรแก่เธอ ซ้ำยังส่งกลับอีกเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่า เธอชวน ภิกษุว่า มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน แล้วสั่งไม่ให้เขาถวายอะไรแก่เธอ ซ้ำยังส่งกลับอีก จริงหรือ? ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอกล่าวชวนภิกษุว่า มาเถิด อาวุโส เราจักเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน แล้วไฉนจึงได้สั่งไม่ให้เขาถวายอะไรแก่เธอ ซ้ำยัง ส่งกลับอีกเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๙๑.๒. อนึ่ง ภิกษุใด กล่าวต่อภิกษุอย่างนี้ว่า ท่านจงมาเข้าไปสู่บ้านหรือ สู่นิคมเพื่อบิณฑบาตด้วยกัน. เธอยังเขาให้ถวายแล้วก็ดี ไม่ให้ถวายแล้วก็ดี แก่เธอ แล้วส่งไปด้วยคำว่า ท่านจงไปเถิด การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเรากับท่าน ไม่เป็น ผาสุกเลย การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเราคนเดียว ย่อมเป็นผาสุก ทำความหมาย อย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๕๓๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรง ประสงค์ในอรรถนี้. บทว่า ต่อภิกษุ หมายถึงภิกษุรูปอื่น. คำว่า ท่านจงมา ... สู่บ้าน หรือสู่นิคม ความว่า บ้านก็ดี นิคมก็ดี เมืองก็ดี ชื่อว่าบ้านและนิคม. บทว่า ยังเขาให้ถวายแล้ว ... แก่เธอ คือ ให้เขาถวายข้าวต้ม หรือข้าวสวย ของเคี้ยว หรือของฉัน. บทว่า ไม่ให้ถวายแล้ว คือ ไม่ให้เขาถวายอะไรๆ สักอย่าง. บทว่า ส่งไป ความว่า ปรารถนาจะกระซิกกระซี้ ปรารถนาจะเล่น ปรารถนาจะนั่งใน ที่ลับ ปรารถนาจะประพฤติอนาจารกับมาตุคาม พูดอย่างนี้ว่า กลับไปเถิด อาวุโส การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเรากับท่าน ไม่เป็นผาสุก การพูดก็ดี การนั่งก็ดี ของเราคนเดียว ย่อมเป็น ผาสุก ดังนี้ ให้กลับ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อเธอกำลังจะละอุปจารแห่งการเห็น หรืออุปจาร แห่งการฟัง ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อละแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์. คำว่า ทำความหมายอย่างนี้เท่านั้นแลให้เป็นปัจจัย หาใช่อย่างอื่นไม่ ความว่า ไม่มีเหตุจำเป็นอย่างอื่นเพื่อจะส่งไป.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๕๓๓] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ส่งกลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. อุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ส่งกลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ส่งกลับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
จักกะทุกกฏ
ทำเป็นโกรธ ส่งกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ. ส่งอนุปสัมบันกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ. ทำเป็นโกรธ ส่งกลับ ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๕๓๔] ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่าเรา ๒ รูป รวมกันจักไม่พอฉัน ๑ ภิกษุส่งกลับไป ด้วยคิดว่า รูปนั้นพบสิ่งของมีราคามากแล้ว จักยังความโลภให้เกิด ๑ ภิกษุส่งกลับไปด้วยคิดว่า รูปนั้นเห็นมาตุคามแล้วจักยังความกำหนัดให้เกิด ๑ ภิกษุส่งกลับไปด้วยสั่งว่า จงนำข้าวต้ม หรือข้าวสวย ของเคี้ยวหรือของฉันไปให้แก่ภิกษุผู้อาพาธ แก่ภิกษุผู้ตกค้างอยู่ หรือแก่ภิกษุผู้เฝ้า วิหาร ๑ ภิกษุไม่ประสงค์จะประพฤติอนาจาร แต่เมื่อมีกิจจำเป็นจึงส่งกลับไป ๑ ภิกษุวิกล- *จริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อเจลกวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๑๒๓๑-๑๑๒๙๘ หน้าที่ ๔๗๓-๔๗๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=11231&Z=11298&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=78              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=531              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [531-534] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=531&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9386              The Pali Tipitaka in Roman :- [531-534] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=2&item=531&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9386              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc42/en/brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :