ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
เถรคาถา อัฏฐกนิบาต
๑. มหากัจจายนเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระมหากัจจายนเถระ
[๓๖๖] ภิกษุไม่ควรทำการงานให้มาก ควรหลีกเร้นหมู่ชน ไม่ควรขวน ขวายเพื่อยังปัจจัยให้เกิด เพราะภิกษุใดเป็นผู้ติดรสอาหาร ภิกษุนั้นชื่อ ว่าเป็นผู้ขวนขวายเพื่อยังปัจจัยให้เกิด และชื่อว่าละทิ้งประโยชน์อัน จะนำความสุขมาให้ พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวการไหว้การบูชาในสกุลทั้งหลายว่า เป็นเปือกตม เป็นลูกศร อันละเอียดถอนได้ยาก เพราะสักการะอันบุรุษชั่วละได้ยาก ภิกษุ ไม่ควรแนะนำสัตว์อื่นให้ทำกรรมอันเป็นบาป และไม่พึงซ่องเสพ กรรมนั้นด้วยตนเอง เพราะสัตว์มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คนเราย่อม ไม่เป็นโจรเพราะคำของบุคคลอื่น ไม่เป็นมุนีเพราะคำของบุคคลอื่น บุคคลรู้จักตนเองว่าเป็นอย่างไร แม้เทพเจ้าทั้งหลายก็รู้จักบุคคลนั้น ว่าเป็นอย่างนั้น ก็คนพวกอื่นย่อมไม่รู้สึกตัวว่า พวกเราที่สมาคมนี้ จักพากันยุบยับในหมู่ชนพวกนั้น พวกใดมารู้สึกตัวว่า พวกเราจักพา กันไปสู่ที่ใกล้มัจจุราช ความทะเลาะวิวาท ย่อมระงับไปเพราะพวกนั้น บุคคลผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ก็ยังเป็นอยู่ได้ ส่วนบุคคลถึงจะมีทรัพย์ ก็เป็นอยู่ไม่ได้ เพราะไม่ได้ปัญญา บุคคลย่อมได้ยินเสียงทุกอย่างด้วยหู ย่อมเห็นสิ่งทั้งปวงด้วยจักษุ แต่นักปราชญ์ย่อมไม่ควรละทิ้งสิ่งทั้งปวง ที่ได้เห็นได้ฟังมาแล้ว ผู้มีปัญญาถึงมีตาดี ก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงมีหูดีก็ทำเป็นดังคนหูหนวก ถึงมีปัญญาก็ทำดังคนใบ้ ถึงมีกำลังก็ทำ เป็นดังคนทุรพล แต่เมื่อประโยชน์เกิดขึ้น ถึงจะนอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังทำประโยชน์นั้นได้.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๖๘๐๖-๖๘๒๘ หน้าที่ ๒๙๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=6806&Z=6828&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=26&siri=366              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=366              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [366] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=26&item=366&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=3662              The Pali Tipitaka in Roman :- [366] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=26&item=366&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=3662              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/tipitaka/kn/thag/thag.08.01.bodh.html https://suttacentral.net/thag8.1/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :