ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๑๑. ทสุตตรสูตร (๓๔)
---------------------
[๓๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ - สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ประทับอยู่ ณ ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อคัคครา เขตนครจัมปา ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวว่า [๓๖๕] เราจักกล่าวธรรมอย่างสูงสิบหมวด สำหรับ เปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหมด เพื่อถึง พระนิพพาน เพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ฯ [๓๖๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งมีอุปการะมาก ธรรมอย่าง- *หนึ่งควรให้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งควรกำหนดรู้ ธรรมอย่างหนึ่งควรละ ธรรม อย่างหนึ่งเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ธรรม อย่างหนึ่งแทงตลอดได้ยาก ธรรมอย่างหนึ่งควรให้บังเกิดขึ้น ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ ยิ่ง ธรรมอย่างหนึ่งควรทำให้แจ้ง ฯ [๓๖๗] ธรรมอย่างหนึ่งที่มีอุปการะมากเป็นไฉน คือความไม่ประมาทใน กุศลธรรมทั้งหลาย นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่มีอุปการะมาก ฯ [๓๖๘] ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือกายคตาสติอันประกอบ ด้วยความสำราญ นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรให้เจริญ ฯ [๓๖๙] ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คือผัสสะที่ยังมีอาสวะ มีอุปาทาน นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรกำหนดรู้ ฯ [๓๗๐] ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรละเป็นไฉน คืออัสมิมานะ นี้ธรรมอย่างหนึ่ง ที่ควรละ ฯ [๓๗๑] ธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน คือการกระทำ ไว้ในใจโดยไม่แยบคาย นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ฯ [๓๗๒] ธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน คือการกระทำ ไว้ในใจโดยแยบคาย นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ฯ [๓๗๓] ธรรมอย่างหนึ่งที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน คือเจโตสมาธิเป็น อนันตริก ๑- นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่แทงตลอดได้ยาก ฯ [๓๗๔] ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน คือญาณที่ไม่กำเริบ นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรให้บังเกิดขึ้น ฯ [๓๗๕] ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน คือสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมี อาหารเป็นที่ตั้ง นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรรู้ยิ่ง ฯ [๓๗๖] ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือเจโตวิมุตติอันไม่ กำเริบ นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรทำให้แจ้ง ฯ ธรรมทั้งสิบดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ [๓๗๗] ธรรม ๒ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๒ อย่างควรให้เจริญ ธรรม ๒ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๒ อย่างควรละ ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วน ข้างเสื่อม ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๒ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๒ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๒ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๒ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ [๓๗๘] ธรรม ๒ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน คือ สติ ๑ สัมปชัญญะ ๑ ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ [๓๗๙] ธรรม ๒ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ [๓๘๐] ธรรม ๒ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คือ นาม ๑ รูป ๑ ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ฯ @๑. คือจิตเป็นสมาธิเป็นลำดับติดต่อกันไป หาธรรมอื่นจะบังจะกั้นมิได้ อธิบาย @ว่า ผลจิตบังเกิดในลำดับแห่งมัคคจิตมรรค บังเกิดขณะจิตหนึ่งแล้วก็ถึงผล จะได้มีจิตอื่น @เข้ากั้น กางอยู่หามิได้ [๓๘๑] ธรรม ๒ อย่างที่ควรละเป็นไฉน คือ อวิชชา ๑ ภวตัณหา ๑ ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ควรละ ฯ [๓๘๒] ธรรม ๒ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน คือ ความ เป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วน ข้างเสื่อม ฯ [๓๘๓] ธรรม ๒ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน คือความเป็น ผู้ว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ฯ [๓๘๔] ธรรม ๒ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน คือ สิ่งใดเป็นเหตุ ปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองของเหล่าสัตว์ ๑ สิ่งใดเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความ บริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ ๑ ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก ฯ [๓๘๕] ธรรม ๒ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน คือ ญาณ ๒ ได้แก่ ญาณในความสิ้นไป ๑ ญาณในความไม่บังเกิดขึ้น ๑ ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ควร ให้บังเกิดขึ้น ฯ [๓๘๖] ธรรม ๒ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน คือ ธาตุ ๒ ได้แก่สังขตธาตุ ๑ อสังขตธาตุ ๑ ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯ [๓๘๗] ธรรม ๒ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑ ธรรม ๒ เหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ ธรรมทั้งยี่สิบดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ [๓๘๘] ธรรม ๓ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๓ อย่างควรให้เจริญ ธรรม ๓ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๓ อย่างควรละ ธรรม ๓ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๓ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๓ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๓ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๓ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๓ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ [๓๘๙] ธรรม ๓ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน คือ การคบหาสัตบุรุษ ๑ การฟังธรรมของสัตบุรุษ ๑ การปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ๑ ธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ [๓๙๐] ธรรม ๓ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือ สมาธิ ๓ ได้แก่สมาธิ มีวิตกมีวิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ๑ ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ [๓๙๑] ธรรม ๓ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คือ เวทนา ๓ ได้แก่สุข เวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ฯ [๓๙๒] ธรรม ๓ อย่างที่ควรละเป็นไฉน คือ ตัณหา ๓ ได้แก่กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรละ ฯ [๓๙๓] ธรรม ๓ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน คือ อกุศลมูล ๓ ได้แก่อกุศลมูลคือโลภะ ๑ อกุศลมูลคือโทสะ ๑ อกุศลมูลคือโมหะ ๑ ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ฯ [๓๙๔] ธรรม ๓ ที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน คือกุศลมูล ๓ อย่าง ได้แก่กุศลมูลคืออโลภะ ๑ กุศลมูลคืออโทสะ ๑ กุศลมูลคือ อโมหะ ๑ ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ฯ [๓๙๕] ธรรม ๓ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน คือธาตุเป็นที่ตั้งแห่ง ความสลัดออก ๓ คือเนกขัมมะเป็นที่ถ่ายถอนกาม ๑ อรูปเป็นที่ถ่ายถอนรูป ๑ นิโรธเป็นที่ถ่ายถอนสิ่งที่เกิดแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยเหตุเกิดขึ้นแล้ว อย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก ฯ [๓๙๖] ธรรม ๓ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน คือญาณ ๓ ได้แก่ อตีตังสญาณ ๑ อนาคตังสญาณ ๑ ปัจจุปันนังสญาณ ๑ ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ ควรให้บังเกิดขึ้น ฯ [๓๙๗] ธรรม ๓ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน คือธาตุ ๓ ได้แก่กามธาตุ ๑ รูปธาตุ ๑ อรูปธาตุ ๑ ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง ฯ [๓๙๘] ธรรม ๓ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือวิชชา ๓ ได้แก่วิชชา คือความรู้ระลึกถึงชาติหนหลังได้ ๑ (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ) วิชชาคือความรู้ใน การจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ๑ (จุตูปปาตญาณ) วิชชาคือความรู้ในความสิ้น ไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ๑ (อาสวักขยญาณ) ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ ธรรมทั้ง ๓๐ ดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ [๓๙๙] ธรรม ๔ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๔ อย่างควรเจริญ ธรรม ๔ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๔ อย่างควรละ ธรรม ๔ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๔ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๔ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๔ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๔ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๔ อย่างควรกระทำให้แจ้ง ฯ [๔๐๐] ธรรม ๔ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน คือจักร ๔ ได้แก่การอยู่ ในประเทศอันสมควร ๑ การคบสัตบุรุษ ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑ ความเป็นผู้มีบุญ กระทำไว้แล้วในปางก่อน ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ [๔๐๑] ธรรม ๔ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือสติปัฏฐาน ๔ ดูกรผู้มี อายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด ความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความ เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด ความยินดีความยินร้ายในโลกเสียได้ ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ [๔๐๒] ธรรม ๔ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คืออาหาร ๔ ได้แก่กวฬิง- *การาหาร ๑- ที่หยาบหรือละเอียด ๑ ผัสสาหาร ๑ มโนสัญเจตนาหาร ๒- ๑ วิญ- *ญาณาหาร ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ฯ @๑. อาหารคือคำข้าว ๒. อาหารคือความตั้งใจ [๔๐๓] ธรรม ๔ อย่างที่ควรละเป็นไฉน คือโอฆะ ๔ ได้แก่โอฆะคือ กาม ๑ โอฆะคือภพ ๑ โอฆะคือทิฐิ ๑ โอฆะคืออวิชชา ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ควรละ ฯ [๔๐๔] ธรรม ๔ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน คือ โยคะ ๔ ได้แก่โยคะคือกาม โยคะคือภพ โยคะคือทิฐิ โยคะ คืออวิชชา ธรรม ๔ อย่าง เหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ฯ [๔๐๕] ธรรม ๔ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน คือความพราก ๔ ได้แก่ความพรากจากกาม ๑ ความพรากจากภพ ๑ ความพรากจากทิฐิ ๑ ความ พรากจากอวิชชา ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ฯ [๔๐๖] ธรรม ๔ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน คือสมาธิ ๔ ได้แก่ สมาธิเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ๑ สมาธิเป็นไปในส่วนข้างทรงอยู่ ๑ สมาธิเป็น ไปในส่วนข้างวิเศษ ๑ สมาธิเป็นไปในส่วนข้างแทงตลอด ๑ ธรรม ๔ อย่าง เหล่านี้แทงตลอดได้ยาก ฯ [๔๐๗] ธรรม ๔ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน คือญาณ ๔ ได้แก่ ญาณในธรรม ๑ ญาณในความคล้อยตาม ๑ ญาณในความกำหนด ๑ ญาณใน สมมติ ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรให้บังเกิดขึ้น ฯ [๔๐๘] ธรรม ๔ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน คือ อริยสัจ ๔ ได้แก่ทุกข อริยสัจ ๑ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทา อริยสัจ ๑ ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯ [๔๐๙] ธรรม ๔ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือสามัญผล ๔ ได้แก่ โสดาปัตติผล ๑ สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตตผล ๑ ธรรม ๔ อย่าง เหล่านี้ควรกระทำให้แจ้ง ฯ ธรรมทั้งสี่สิบดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่เป็นอย่างอื่น ไม่ผิดพลาด อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ [๔๑๐] ธรรม ๕ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๕ อย่างควรให้เจริญ ธรรม ๕ อย่างควรกำหนดให้รู้ ธรรม ๕ อย่างควรละ ธรรม ๕ อย่างเป็นไปในส่วนข้าง- *เสื่อม ธรรม ๕ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๕ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๕ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๕ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๕ อย่างควรทำ ให้แจ้ง ฯ [๔๑๑] ธรรม ๕ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน คือองค์เป็นที่ตั้งแห่ง ความเพียร ๕ คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไป ดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ๑ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยไฟธาตุมีผลสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก พอปานกลาง ควรแก่การตั้ง ความเพียร ๑ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา กระทำตนให้แจ้งตามเป็นจริงในพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ๑ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบ ด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดและความดับเป็นอริยะ เป็นไปเพื่อความแทงตลอด อันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบ ๑ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ [๔๑๒] ธรรม ๕ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือสัมมาสมาธิ อัน- *ประกอบด้วยองค์ ๕ ได้แก่ปีติแผ่ไป ๑ สุขแผ่ไป ๑ การกำหนดใจผู้อื่นแผ่ไป ๑ แสงสว่างแผ่ไป ๑ นิมิตเป็นเครื่องพิจารณา ๑ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ [๔๑๓] ธรรม ๕ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้ แก่อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทาน- *ขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ฯ [๔๑๔] ธรรม ๕ อย่างที่ควรละเป็นไฉน คือนิวรณ์ ๕ ได้แก่กามฉันท- *นิวรณ์ ๑ พยาปาทนิวรณ์ ๑ ถีนมิทธนิวรณ์ ๑ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑ วิจิกิจฉา นิวรณ์ ๑ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ควรละ ฯ [๔๑๕] ธรรม ๕ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน คือเจโตขีลธรรม ๕ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจไป ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น ภิกษุใดย่อมเคลือบ- *แคลง สงสัย ไม่น้อมไป ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อ ความตั้งมั่น จิตของภิกษุใดย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น อันนี้เป็นเจโตขีลธรรมข้อที่หนึ่ง ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจไป ไม่เลื่อมใส ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ในความศึกษา ... ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โกรธ มีใจไม่แช่มชื่น ขัดใจ มีใจกระด้าง ใน เพื่อนพรหมจรรย์ ภิกษุใดเป็นผู้โกรธ มีใจไม่แช่มชื่น ขัดใจ มีใจกระด้าง ใน เพื่อนพรหมจรรย์ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เนืองๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น จิตของภิกษุใดย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น อันนี้เป็นเจโตขีลธรรมข้อที่ ๕ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ฯ [๔๑๖] ธรรม ๕ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน คืออินทรีย์ ๕ ได้แก่อินทรีย์ คือศรัทธา ๑ อินทรีย์คือวิริยะ ๑ อินทรีย์ คือสติ ๑ อินทรีย์ คือสมาธิ ๑ อินทรีย์คือปัญญา ๑ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ฯ [๔๑๗] ธรรม ๕ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน คือธาตุเป็นที่ตั้ง แห่งความถ่ายถอน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ ในใจซึ่งกามทั้งหลาย จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกาม ทั้งหลาย แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่งเนกขัมมะ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในเนกขัมมะ จิตของเธอดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากแล้วจากกามทั้งหลาย อาสวะเหล่าใดบังเกิดขึ้นเพราะกามเป็น ปัจจัย มีความทุกข์และความเร่าร้อน เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวย เวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอนกามทั้งหลาย ฯ อีกข้อหนึ่ง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งความพยาบาท จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในความพยาบาท แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่ง ความไม่พยาบาท จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใสตั้งอยู่ น้อมไปในความไม่พยาบาท จิตของเธอดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พรากแล้วจากความพยาบาท อาสวะเหล่าใดบังเกิดขึ้น เพราะความพยาบาทเป็นปัจจัย มีความทุกข์และความ เร่าร้อน เธอพ้นจากอาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอนความพยาบาท ฯ อีกข้อหนึ่ง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งความเบียดเบียน จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในความเบียดเบียน แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจ ซึ่งความไม่เบียดเบียน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในความไม่ เบียดเบียน จิตของเธอดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากแล้วจากความเบียดเบียน อาสวะเหล่าใดบังเกิดขึ้น เพราะความเบียดเบียน เป็นปัจจัย มีความทุกข์และความเร่าร้อน เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่ต้อง เสวยเวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอนความเบียดเบียน ฯ อีกข้อหนึ่ง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งรูปทั้งหลาย จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่ง อรูป จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอรูป จิตของเธอดำเนินไปดี แล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากแล้วจากรูปทั้งหลาย อาสวะ เหล่าใดบังเกิดขึ้น เพราะรูปเป็นปัจจัย มีความทุกข์และความเร่าร้อน เธอพ้น แล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็น ที่ถ่ายถอนรูปทั้งหลาย ฯ อีกข้อหนึ่ง เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งกายของตน จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกายของตน แต่เมื่อเธอกระทำไว้ในใจซึ่ง ความดับกายของตน จิตย่อมแล่นไปเลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในความดับกาย ของตน จิตของเธอดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากแล้วจากกายของตน อาสวะเหล่าใดบังเกิดขึ้นเพราะกายของตนเป็นปัจจัย มี ความทุกข์และความเร่าร้อน เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่ต้องเสวยเวทนา นั้น อันนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นที่ถ่ายถอนกายของตน ธรรม ๕ อย่าง เหล่านี้แทงตลอดได้ยาก ฯ [๔๑๘] ธรรม ๕ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน คือสัมมาสมาธิประ- *กอบด้วยญาณ ๕ ได้แก่ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และ มีสุขเป็นวิบากต่อไป ๑ ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้เป็นอริยะไม่มีอามิส ๑ ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้อันบุรุษผู้ไม่ต่ำช้าเสพแล้ว ๑ ญาณบังเกิด ขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้สงบ ประณีต มีปฏิปัสสัทธิอันได้แล้ว ถึงความเป็น ธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่ข่มขี่ห้ามด้วยจิตเป็นสสังขาร ๑ ญาณบังเกิดขึ้นเฉพาะตน ว่า ก็เรานั้น มีสติ เข้าสมาธินี้ และมีสติ ออกจากสมาธินี้ ๑ ธรรม ๕ อย่าง เหล่านี้ควรให้บังเกิดขึ้น ฯ [๔๑๙] ธรรม ๕ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน คือวิมุตตายตนะ ๕ ดูกรผู้มี- *อายุทั้งหลาย พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง แสดง ธรรมแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ภิกษุย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น ตามที่ท่านแสดง เมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อ ปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ กายสงบย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่หนึ่ง ฯ อีกข้อหนึ่ง พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุเลย แต่ว่าภิกษุอื่นแสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุ แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรม ทั่วถึง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ กายสงบย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุต- *ตายตนะข้อที่สอง ฯ อีกข้อหนึ่ง พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุเลย ภิกษุอื่นก็มิได้แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ ผู้อื่นโดยพิสดาร แต่ว่ากระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุกระทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึง ปราโมทย์ ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ กาย สงบย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่สาม ฯ อีกข้อหนึ่ง พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุเลย ภิกษุอื่นก็มิได้แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ ผู้อื่นโดยพิสดาร และมิได้กระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดย พิสดาร แต่ว่าเธอตรึกตามตรองตาม เพ่งตาม ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมา ด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจ เธอย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น ตามที่ เธอตรึกตาม ตรองตาม ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาด้วยจิต เพ่งตามด้วยใจ เมื่อเธอรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อม เกิด เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ กายสงบย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่สี่ ฯ อีกข้อหนึ่ง พระศาสดาหรือสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุเลย ภิกษุอื่นก็มิได้แสดงธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาแก่ ผู้อื่นโดยพิสดาร และมิได้กระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังได้เรียนมาโดย พิสดาร และเธอมิได้ตรึกตาม ตรองตาม ซึ่งธรรมที่ได้ฟังได้เรียนมาด้วยจิต มิได้ เพ่งตามด้วยใจ แต่ว่าสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งที่ภิกษุนั้นเรียนดีแล้ว กระทำไว้ ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เธอย่อมรู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึงในธรรมนั้น โดยประการที่สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งที่เธอเรียนดี แล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เมื่อเธอ รู้อรรถทั่วถึง รู้ธรรมทั่วถึง ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อ มีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ กายสงบย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อม ตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ห้า ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯ [๔๒๐] ธรรม ๕ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คือธรรมขันธ์ ๕ ได้แก่ สีลขันธ์ ๑ สมาธิขันธ์ ๑ ปัญญาขันธ์ ๑ วิมุตติขันธ์ ๑ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ๑ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ ธรรมทั้ง ๕๐ อย่างดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอนไม่ผิด พลาด ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ [๔๒๑] ธรรม ๖ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๖ อย่างควรให้เจริญ ธรรม ๖ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๖ อย่างควรละ ธรรม ๖ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๖ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๖ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๖ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๖ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๖ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ [๔๒๒] ธรรม ๖ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน ได้แก่สาราณียธรรม ๖ คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบ ด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็น สาราณียธรรม กระทำให้เป็นที่รัก ให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียว กัน ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรม ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหม- *จรรย์ทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ... ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรม ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อน พรหมจรรย์ทั้งหลายทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ... ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมแบ่งปันลาภอันประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โดยที่สุดแม้มาตรว่าอาหารอันนับเนื่องในบาตร คือเฉลี่ยกันบริโภคกับเพื่อนพรหม- *จรรย์ ผู้มีศีลทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ... ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายทั้งต่อ หน้าและลับหลัง ในศีลอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อัน วิญญูชนสรรเสริญแล้ว อันตัณหาและทิฐิ ไม่แตะต้องแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ... ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีทิฐิเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายทั้งต่อ หน้าและลับหลัง ในทิฐิอันประเสริฐ นำออกจากทุกข์ นำผู้ปฏิบัติตามเพื่อความ สิ้นทุกข์ โดยชอบ แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม กระทำให้เป็นที่รัก ให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงกัน เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ [๔๒๓] ธรรม ๖ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คืออนุสติฐานะ ๖ ได้ แก่ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ๑ ระลึกถึงคุณพระธรรม ๑ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์ ๑ ระลึกถึงศีล ๑ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาค ๑ ระลึกถึงคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา ๑ ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ [๔๒๔] ธรรม ๖ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คืออายตนะ ภายใน ๖ ได้แก่อายตนะคือตา ๑ อายตนะคือหู ๑ อายตนะคือจมูก ๑ อายตนะคือลิ้น ๑ อายตนะคือกาย ๑ อายตนะคือใจ ๑ ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ฯ [๔๒๕] ธรรม ๖ อย่างที่ควรละเป็นไฉน คือตัณหา ๖ หมู่ได้แก่ตัณหา ในรูป ๑ ตัณหาในเสียง ๑ ตัณหาในกลิ่น ๑ ตัณหาในรส ๑ ตัณหาใน โผฏฐัพพะ ๑ ตัณหาในธรรม ๑ ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ควรละ ฯ [๔๒๖] ธรรม ๖ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน คือความไม่ เคารพ ๖ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่มีความเคารพ ไม่เชื่อ ฟังในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในความศึกษา ๑ ใน ความไม่ประมาท ๑ ในปฏิสันถาร ๑ ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้าง เสื่อม ฯ [๔๒๗] ธรรม ๖ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน คือความ เคารพ ๖ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีความเคารพเชื่อฟังใน พระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในความศึกษา ๑ ในความไม่ ประมาท ๑ ในความปฏิสันถาร ๑ ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ฯ [๔๒๘] ธรรม ๖ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน คือธาตุเป็นที่ตั้งแห่ง ความสลัดออก คือ ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ เมตตาเจโตวิมุตติเราให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำ ให้เป็นดุจที่ตั้ง คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น พยาบาทยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้ พูดอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การ กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ ภิกษุให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นดุจที่ตั้ง คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภ ดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น พยาบาทจักครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ ดังนี้นั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะว่าเมตตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นที่สลัดออก จากพยาบาท ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ กรุณาเจโตวิมุตติอันเราให้เจริญแล้ว ... ปรารภดีแล้วและเมื่อเป็นเช่นนั้น วิหิงสา ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้นพึงถูกกล่าวว่าอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มี พระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อกรุณาเจโตวิมุตติภิกษุให้เจริญแล้ว ... ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่น นั้น วิหิงสาจักครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ ดังนี้นั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ผู้มีอายุ ทั้งหลาย เพราะว่ากรุณาเจโตวิมุตตินี้ เป็นที่สลัดออกจากวิหิงสา ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ มุทิตาเจโตวิมุตติเราให้เจริญแล้ว ... ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น อรติยัง ครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มี พระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อมุทิตาเจโตวิมุตติภิกษุให้เจริญแล้ว ... ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็น เช่นนั้น อรติย่อมครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ดังนี้นั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ผู้มี- *อายุทั้งหลาย เพราะว่ามุทิตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นที่สลัดออกจากอรติ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าว กล่าวอย่าง นี้ว่า ก็อุเบกขาเจโตวิมุตติเราให้เจริญแล้ว ... ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น ราคะย่อมครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้พูด อย่างนี้ ท่านผู้มีอายุอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่ โอกาส คำที่ว่า เมื่ออุเบกขาเจโตวิมุตติ ภิกษุให้เจริญแล้ว ... ปรารภดีแล้ว และ เมื่อเป็นเช่นนั้น ราคะยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ ดังนี้นั้น มิใช่ฐานะที่จะมี ได้ ผู้มีอายุทั้งหลายเพราะว่าอุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ เป็นที่สลัดออกจากราคะ ฯ ๕. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุตติอันหานิมิตมิได้เราให้เจริญแล้ว ... ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น วิญญาณของเราย่อมไปตามนิมิต ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าพูดอย่าง นี้ ท่านผู้มีอายุ อย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่ โอกาส คำที่ว่า เมื่อเจโตวิมุตติอันหานิมิตมิได้ ภิกษุให้เจริญแล้ว ... ปรารภดี แล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น วิญญาณของภิกษุนั้น จักไปตามนิมิต ดังนี้นั้น มิใช่ ฐานะที่จะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะว่าเจโตวิมุตติอันหานิมิตมิได้นี้ เป็นที่สลัด ออกจากนิมิตทั้งปวง ฯ ๖. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อการถือว่าเรามีอยู่ ดังนี้ ของเราหมดไปแล้ว เราก็มิได้พิจารณาเห็นว่าเรานี้มี อยู่ และเมื่อเป็นเช่นนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยยังครอบงำจิตของเรา ตั้งอยู่ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุ อย่าได้ กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระ ผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อการยึดถือ ว่าเรามีอยู่ดังนี้หมดไปแล้ว และเมื่อเขามิได้พิจารณาเห็นว่าเรานี้มีอยู่ และเมื่อ เป็นเช่นนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย จักครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ ดังนี้นั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะว่าความถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะนี้ เป็นที่สลัดออกจากลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้แทง ตลอดได้ยาก ฯ [๔๒๙] ธรรม ๖ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน คือธรรมเป็นเครื่องอยู่ เนืองๆ ๖ อย่าง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑ สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ๑ ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ควรให้บังเกิดขึ้น ฯ [๔๓๐] ธรรม ๖ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน คืออนุตตริยะ ๖ ได้แก่ทัส- *สนานุตตริยะ ๑ สวนานุตตริยะ ๑ ลาภานุตตริยะ ๑ สิกขานุตตริยะ ๑ ปริจริยา นุตตริยะ ๑ อนุสสตานุตตริยะ ๑ ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯ [๔๓๑] ธรรม ๖ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน คืออภิญญา ๖ ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจ ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และ เสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ๑ เธอย่อมรู้กำหนดใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือ จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ๑- ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิต อื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิต ไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่ หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ๑ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึก ได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง @๑. มหรคตจิต ถึงความเป็นจิตใหญ่ ได้แก่จิตประกอบด้วยฌาน ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็น อันมากบ้าง ตลอดสังวัฏกัปวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่าง นั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจาก ภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้ง อาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ๑ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพย- *จักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์ เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉา- *ทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เขา เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจี สุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมา- *ทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็น หมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่ สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ๑ เธอทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน ปัจจุบันเทียวเข้าถึงอยู่ ๑ ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ ธรรมทั้ง ๖๐ ดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ [๔๓๒] ธรรม ๗ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๗ อย่างควรให้เจริญ ธรรม ๗ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๗ อย่างควรละ ธรรม ๗ อย่างเป็นไปในส่วน ข้างเสื่อม ธรรม ๗ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๗ อย่างแทงตลอด ได้ยาก ธรรม ๗ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๗ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๗ อย่าง ควรทำให้แจ้ง ฯ [๔๓๓] ธรรม ๗ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน ฯ ได้แก่อริยทรัพย์ ๗ คือ ทรัพย์คือศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ [๔๓๔] ธรรม ๗ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน ฯ ได้แก่โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริย- *สัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ ควรให้เจริญ ฯ [๔๓๕] ธรรม ๗ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ฯ ได้แก่วิญญาณฐิติ ๗ คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย มีสัตว์พวกหนึ่งมีกาย ต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกเปรตบางหมู่ นี้วิญญาณฐิติข้อที่หนึ่ง ฯ มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพผู้ นับเนื่องในพวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิปฐมฌาน นี้วิญญาณฐิติข้อที่สอง ฯ มีสัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่า อาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม ฯ มีสัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวก เทพเหล่าสุภกิณหะ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่ ฯ มีสัตว์พวกหนึ่ง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศ หาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา นี้วิญญาณฐิติข้อที่ห้า ฯ สัตว์เหล่าหนึ่ง เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณ หาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้วิญญาณฐิติ ข้อที่หก ฯ สัตว์เหล่าหนึ่ง เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้วิญญาณฐิติข้อที่เจ็ด ฯ ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ ควรกำหนดรู้ ฯ [๔๓๖] ธรรม ๗ อย่างที่ควรละเป็นไฉน ฯ ได้แก่อนุสัย ๗ คือ อนุสัยคือกามราคะ ปฏิฆะ ทิฐิ วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ อวิชชา ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ควรละ ฯ [๔๓๗] ธรรม ๗ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน ฯ ได้แก่อสัทธรรม ๗ คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีสัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ฯ [๔๓๘] ธรรม ๗ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน ฯ ได้แก่สัทธรรม ๗ คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีสุตะมาก ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีปัญญา ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ฯ [๔๓๙] ธรรม ๗ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน ได้แก่สัปปุริสธรรม ๗ คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้รู้เหตุ รู้ผล รู้จักตน รู้ประมาณ รู้กาลเวลา รู้บริษัท รู้จักเลือกบุคคล ธรรม ๗ อย่างนี้แทงตลอด ได้ยาก ฯ [๔๔๐] ธรรม ๗ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน ฯ ได้แก่สัญญา ๗ คืออนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนว- *สัญญา ปหานสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ ควร ให้บังเกิดขึ้น ฯ [๔๔๑] ธรรม ๗ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน ฯ ได้แก่นิททสวัตถุ ๗ อย่าง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีฉันทะกล้าในการสมาทานสิกขา และไม่ปราศจากความรักในการสมาทาน สิกขาต่อไป ๑ มีฉันทะกล้าในการพิจารณาธรรม และไม่ปราศจากความรัก ในการพิจารณาธรรมต่อไป ๑ มีฉันทะกล้าในการกำจัดความอยากและไม่ปราศจาก ความรักในการกำจัดความอยากต่อไป ๑ มีฉันทะกล้าในการหลีกออกเร้นอยู่ และ ไม่ปราศจากความรักในการหลีกออกเร้นอยู่ต่อไป ๑ มีฉันทะกล้าในการปรารภ ความเพียร และไม่ปราศจากความรักในการปรารภความเพียรต่อไป ๑ มีฉันทะ กล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน และไม่ปราศจากความรักในสติและปัญญา เครื่องรักษาตนต่อไป ๑ มีฉันทะกล้าในการแทงตลอดด้วยอำนาจความเห็นและไม่ ปราศจากความรักในการแทงตลอดด้วยอำนาจความเห็นต่อไป ๑ ธรรม ๗ อย่าง เหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯ [๔๔๒] ธรรม ๗ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน ฯ ได้แก่กำลังของพระขีณาสพ ๗ คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สังขารทั้งปวง อันภิกษุผู้ขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้ เห็นดีแล้วโดยความเป็นของไม่เที่ยงด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นดีแล้วซึ่งสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของ ภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ภิกษุผู้ขีณาสพอาศัยแล้ว ย่อมปฏิญญาความสิ้นอาสวะได้ว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง อันภิกษุผู้ขีณาสพ เห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นดีแล้วซึ่งกาม ทั้งหลายอันเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลัง ของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ภิกษุผู้ขีณาสพอาศัยแล้ว ย่อมปฏิญญาความสิ้นอาสวะได้ว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง จิตของภิกษุผู้ขีณาสพ น้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ สิ้นสุดแล้วจากอาสวัฏฐา- *นิยธรรมโดยประการทั้งปวง ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพมีจิตน้อมไปในวิเวก โอนไปใน วิเวก เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ สิ้นสุดแล้วจาก อาสวัฏฐานิยธรรมโดยประการทั้งปวงนี้ เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ภิกษุผู้ ขีณาสพอาศัยแล้ว ย่อมปฏิญญาความสิ้นอาสวะได้ว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุผู้ขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้วซึ่งสติปัฏฐาน ๔ นี้ เป็นกำลังของ ภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ภิกษุผู้ขีณาสพอาศัยแล้ว ย่อมปฏิญญาความสิ้นอาสวะได้ว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง อินทรีย์ ๕ อันภิกษุผู้ขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่ ภิกษุผู้ขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้วซึ่งอินทรีย์ ๕ นี้ เป็นกำลังของภิกษุผู้ ขีณาสพ ที่ภิกษุผู้ขีณาสพอาศัยแล้ว ย่อมปฏิญญาได้ว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุผู้ขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ซึ่งโพชฌงค์ ๗ นี้ เป็นกำลังของภิกษุ ผู้ขีณาสพที่ภิกษุผู้ขีณาสพอาศัยแล้ว ย่อมปฏิญญาความสิ้นอาสวะได้ว่า อาสวะ ของเราสิ้นแล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ ๘ อันภิกษุผู้ขีณาสพอบรมแล้ว อบรม ดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพอบรมแล้ว อบรมดีแล้ว ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ภิกษุผู้ขีณาสพอาศัยแล้ว ย่อมปฏิญญาความสิ้น อาสวะได้ว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ ธรรม ๗๐ ดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ
จบภาณวารที่หนึ่ง ฯ
[๔๔๓] ธรรม ๘ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๘ อย่างควรให้เจริญ ธรรม ๘ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๘ อย่างควรละ ธรรม ๘ อย่างเป็นไปในส่วน ข้างเสื่อม ธรรม ๘ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๘ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๘ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๘ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๘ อย่างควรทำ ให้แจ้ง ฯ [๔๔๔] ธรรม ๘ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน ได้แก่เหตุ ๘ ปัจจัย ๘ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อ ความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่ง ปัญญาที่ได้แล้ว เหตุและปัจจัย ๘ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ ย่อมอยู่อาศัยครู หรือสพรหมมจรรย์ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูรูปใด รูปหนึ่ง เธอเข้าไปตั้งไว้ซึ่งหิริโอตตัปปะ ความรักและความเคารพอย่างแรงกล้า ในท่านนั้น นี้เป็นเหตุข้อที่ ๑ เป็นปัจจัยข้อที่ ๑ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความ ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ก็ภิกษุนั้นอยู่ อาศัยครูหรือสพรหมจรรย์ผู้ตั้งอยู่ในฐานะแห่งครูรูปใดรูปหนึ่ง เธอเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง หิริ โอตตัปปะ ความรักและความเคารพอย่างแรงกล้าในท่านนั้นแล้ว ย่อมเข้าไปหา ท่านเสมอๆ สอบถามไต่ถามว่า ท่านผู้เจริญ ข้อนี้อย่างไร เนื้อความของข้อนี้ เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมจะเปิดเผยสิ่งที่ยังมิได้เปิดเผย กระทำให้ง่ายซึ่งสิ่ง ที่ยังมิได้กระทำให้ง่าย บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลาย อย่างแก่เธอ นี้เป็นเหตุข้อที่ ๒ เป็นปัจจัยข้อที่ ๒ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความ ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ภิกษุนั้นฟังธรรม นั้นแล้ว ย่อมยังความหลีกออก ๒ ประการให้ถึงพร้อม คือความหลีกออกแห่ง กาย ๑ ความหลีกออกแห่งจิต ๑ นี้เป็นเหตุข้อที่ ๓ เป็นปัจจัยข้อที่ ๓ เป็นไป เพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญา ที่ได้แล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจรอยู่ เห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย นี้เป็นเหตุข้อที่ ๔ เป็นปัจจัยข้อที่ ๔ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความ ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้มีสุตะมาก ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมไว้ซึ่งสุตะ ธรรม ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นสิ่งอันภิกษุนั้นสดับแล้ว มาก ทรงไว้ คล่องปาก ตามพิจารณาด้วยใจ แทงตลอดด้วยความเห็น นี้เป็น เหตุข้อที่ ๕ เป็นปัจจัยข้อที่ ๕ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่ง พรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความ ถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมอยู่ เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรม นี้เป็นเหตุข้อที่ ๖ เป็นปัจจัยข้อที่ ๖ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความ ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตน อันยอดเยี่ยม ระลึก ตามระลึก ถึงสิ่งที่ได้ทำ คำที่ได้พูดไว้แล้วแม้นานได้ นี้ เป็นเหตุข้อที่ ๗ เป็นปัจจัยข้อที่ ๗ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อ ความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นความเกิดความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้เวทนา ดังนี้ ความเกิดแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญา ดังนี้สังขาร ดังนี้ความเกิดแห่งสังขาร ดังนี้ความดับ แห่งสังขาร ดังนี้วิญญาณ ดังนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ นี้เป็นเหตุข้อที่ ๘ เป็นปัจจัยข้อที่ ๘ เป็นไปเพื่อความได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความมียิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความ เจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ [๔๔๕] ธรรม ๘ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน ได้แก่อริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ ควรให้เจริญ ฯ [๔๔๖] ธรรม ๘ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ได้แก่โลกธรรม ๘ คือ ความได้ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ความได้ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ฯ [๔๔๗] ธรรม ๘ อย่างที่ควรละเป็นไฉน ได้แก่มิจฉัตตะ ๘ คือ ความ เห็นผิด ความดำริผิด เจรจาผิด การงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึก ผิด ตั้งใจมั่นผิด ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ควรละ ฯ [๔๔๘] ธรรม ๘ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน ได้แก่เหตุ เป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน ๘ อย่าง คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การงานเป็นสิ่ง อันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกระทำ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานจักเป็น สิ่งที่เราควรกระทำ เมื่อเรากระทำการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสียไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้ง แห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๑ ฯ อีกข้อหนึ่ง การงานเป็นสิ่งอันภิกษุกระทำแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่าง นี้ว่า เราได้กระทำการงานแล้ว ก็เมื่อเรากระทำการงานอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อย แล้ว ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้ แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๒ ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะ ต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ช่างเถิด เรา จะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้ แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๓ ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ เดินทางมาถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ช่างเถิด เราจะ นอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๔ ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์ แห่งโภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอย่อมมีความคิดอย่าง นี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะอัน เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ กายของเรานั้นเหน็ดเหนื่อยแล้ว ไม่ ควรแก่การงาน ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๕ ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่ง โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการแล้ว เธอย่อมมีความคิด อย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะอัน เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก เหมือนถั่ว ทองที่เขาหมักไว้ ไม่ควรแก่การงาน ช่างเถิด เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่ง ความเกียจคร้านข้อที่ ๖ ฯ อีกข้อหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ความสมควรเพื่อจะนอนมีอยู่ ช่างเถิด เราจะ นอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๗ ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุหายอาพาธแล้ว หายจากความเป็นผู้อาพาธยังไม่นาน เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายอาพาธแล้ว หายจากความเป็นผู้อาพาธยังไม่ นาน กายของเรานั้นยังมีกำลังน้อย ไม่ควรแก่การงาน ช่างเถิด เราจะนอน เธอ นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ... เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน ข้อที่ ๘ ฯ ธรรม ๘ อย่างนี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ฯ [๔๔๙] ธรรม ๘ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน ได้แก่เหตุ เป็นที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียร ๘ คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย การงานเป็นสิ่งอัน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พึงกระทำ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานจักเป็นสิ่ง ที่เราควรกระทำ ก็เมื่อเรากระทำการงานอยู่ ความกระทำไว้ในใจซึ่งคำสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มิใช่กระทำได้โดยง่าย ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังมิได้ ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อธรรมให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งการ ปรารภความเพียรข้อที่ ๑ ฯ อีกข้อหนึ่ง การงานย่อมเป็นสิ่งอันภิกษุกระทำเสร็จแล้ว เธอย่อมมีความ คิดอย่างนี้ว่า เราได้กระทำการงานเสร็จแล้ว ก็เรากระทำการงานอยู่ ไม่อาจกระทำ ไว้ในใจซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยัง มิได้ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง มิได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งการ ปรารภความเพียรข้อที่ ๒ ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะต้อง เดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ความกระทำไว้ในใจ ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย มิใช่กระทำได้โดยง่าย ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้ แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียรข้อที่ ๓ ฯ อีกข้อหนึ่ง หนทางที่ภิกษุเดินไปถึงแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เดินทางมาถึงแล้ว ก็เราเมื่อเดินทางไปอยู่ ไม่อาจกระทำไว้ในใจซึ่งคำสอน ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียรข้อที่ ๔ ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะอัน เศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยว ไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะอันเศร้าหมองหรือ ประณีตพอแก่ความต้องการ กายของเรานั่นเบา ควรแก่การงาน ช่างเถิด เราจัก ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือ เหตุเป็นที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียรข้อที่ ๕ ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่ง โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะอันเศร้าหมอง หรือประณีตพอแก่ความต้องการ กายของเรานั่น มีกำลัง ควรแก่การงาน ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียรข้อที่ ๖ ฯ อีกข้อหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ข้อที่อาพาธของเราจะพึงมากขึ้น เป็นฐานะที่จะ มีได้ ช่างเถิด เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยัง มิได้ทำให้แจ้ง นี้คือเหตุเป็นที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียรข้อที่ ๗ ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุหายอาพาธแล้ว หายจากความเป็นผู้อาพาธยังไม่นาน เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายอาพาธแล้ว หายจากความเป็นผู้อาพาธยังไม่ นาน ข้อที่อาพาธของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ช่างเถิด เราจะ ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังมิได้บรรลุ เพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้งนี้คือ เหตุเป็นที่ตั้งแห่งการปรารภความเพียรข้อที่ ๘ ฯ ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ฯ [๔๕๐] ธรรม ๘ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน ได้แก่กาลที่มิใช่ ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไป เพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระ สุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงนรกเสีย นี้เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑ ฯ อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึง กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย นี้เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหม- *จรรย์ข้อที่ ๒ ฯ อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และ พระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึง ความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงปิตติวิสัย เสีย นี้เป็นการมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๓ ฯ อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และ พระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึง ความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเทพนิกาย ซึ่งมีอายุยืนอย่างใดอย่างหนึ่งเสีย นี้เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ข้อที่ ๔ ฯ อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และ พระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึง ความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เกิดในปัจจันต- *ชนบท อันเป็นถิ่นของชนมิลักขะผู้ไม่รู้ความ ซึ่งมิใช่คติของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๕ ฯ อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และ พระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึง ความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว ส่วนบุคคลนี้เป็นผู้เกิดในมัชฌิม- *ชนบท แต่เขาเป็นมิจฉาทิฐิ มีความเห็นผิดไปว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การ บูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติโดยชอบ ซึ่งกระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้รู้ ไม่มีในโลกนี้ นี้เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๖ ฯ อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกนี้ และ พระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ให้ถึง ความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว ส่วนบุคคลนี้เป็นผู้เกิดในมัชฌิม- *ชนบท แต่เขาเป็นคนมีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นใบ้ ไม่สามารถจะรู้เนื้อความ ของถ้อยคำที่เป็นสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗ ฯ อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติในโลก และพระองค์ยังไม่ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ยังสัตว์ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว ส่วนบุคคลนี้เป็นผู้เกิดใน มัชฌิมชนบท และเขาเป็นคนมีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นใบ้ สามารถจะรู้เนื้อ ความของถ้อยคำที่เป็นสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่อ อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๘ ฯ ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก ฯ [๔๕๑] ธรรม ๘ อย่าง ที่ควรให้เกิดขึ้น เป็นไฉน ได้แก่ มหาปุริสวิ- *ตก ๘ คือ ธรรมนี้ของผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของผู้มีความปรารถนาใหญ่ ธรรม นี้ของผู้สันโดษ มิใช่ของผู้ไม่สันโดษ ธรรมนี้ของผู้สงัด มิใช่ของผู้ยินดีในความ คลุกคลี ธรรมนี้ของผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของผู้เกียจคร้าน ธรรมนี้ของผู้เข้า ไปตั้งสติไว้ มิใช่ของผู้มีสติหลง ธรรมนี้ของผู้มีจิตตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีจิตไม่ตั้ง มั่น ธรรมนี้ของผู้มีปัญญา มิใช่ของผู้มีปัญญาทราม ธรรมนี้ของผู้ไม่มีธรรมเป็น เครื่องหน่วงให้เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในธรรมไม่เป็นเครื่องหน่วงให้เนิ่น ช้า มิใช่ของผู้มีธรรมเป็นเครื่องหน่วงให้เนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีในธรรมเป็น เครื่องหน่วงให้เนิ่นช้า ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ ควรให้บังเกิดขึ้น ฯ [๔๕๒] ธรรม ๘ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง เป็นไฉน ได้แก่อภิภายตนะ ๘ คือ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก มีผิวพรรณดีและผิวพรรณ ทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็น อภิภายตนะข้อที่ ๑ ฯ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ มีผิวพรรณดีและ ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ ๒ ฯ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก มีผิวพรรณดีและ ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ ๓ ฯ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ มีผิวพรรณ ดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ ๔ ฯ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมี เขียว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงอันเขียว มีวรรณ เขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็น รูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะ ข้อที่ ๕ ฯ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณ เหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิกาอันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองอัน เกลี้ยง อันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลือง ล้วน มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ ๖ ฯ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ดอกชบาอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภาย นอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูป เหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ ๗ ฯ ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ดาวประกายพฤกษ์อันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสองเกลี้ยงอันขาว มีวรรณขาว ขาว ล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้น แล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ ๘ ฯ ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯ [๔๕๓] ธรรม ๘ อย่างที่ควรทำให้แจ้ง เป็นไฉน ได้แก่วิโมกข์ ๘ คือ ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑ ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๒ บุคคลย่อมน้อมใจไปว่า สิ่งนี้งามทีเดียว อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓ เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการ ทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา บุคคลย่อมเข้า ถึงซึ่งอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็น วิโมกข์ข้อที่ ๔ เพราะล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อม เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้เป็น วิโมกข์ข้อที่ ๕ เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคลย่อม เข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรดังนี้อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖ เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะ บุคคลย่อมเข้าถึงซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ อยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗ เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดย ประการทั้งปวง บุคคลย่อมเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘ ฯ ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ ธรรมทั้ง ๘๐ ดังพรรณามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ [๔๕๔] ธรรม ๙ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๙ อย่างควรให้เจริญ ธรรม ๙ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๙ อย่างควรละ ธรรม ๙ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๙ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๙ อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๙ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๙ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๙ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ [๔๕๕] ธรรม ๙ อย่างที่มีอุปการะมาก เป็นไฉน ได้แก่ธรรมอันมีมูลมา แต่โยนิโสมนสิการ ๙ คือ เมื่อกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ปราโมทย์ย่อมเกิด ปีติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์ กายของผู้มีใจกอปรด้วยปิติย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อม เสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง ผู้รู้เห็น ตามเป็นจริง ตนเองย่อมหน่าย เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ [๔๕๖] ธรรม ๙ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน ได้แก่องค์เป็นที่ตั้งแห่ง ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๙ คือ ความหมดจดแห่งศีล ชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่ง ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ความหมดจดแห่งจิต ชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความ เพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ความหมดจดแห่งทิฐิ ชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ชื่อว่า องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่อง เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง ชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ความ หมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ ชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อ ความบริสุทธิ์ ความหมดจดแห่งญาณทัสนะ ชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ ความหมดจดแห่งปัญญา ชื่อว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ ความหมดจดแห่งวิมุตติ ชื่อว่าเป็นองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ [๔๕๗] ธรรม ๙ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ได้แก่สัตตาวาส ๙ คือ มีอยู่ ผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวก มนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกเปรตบางหมู่ นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๑ สัตว์พวก หนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๒ สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่าอาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๓ สัตว์พวก หนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหะ นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๔ สัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เช่นพวก เทพเหล่าอสัญญีสัตว์ นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๕ สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงชั้น อากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดย ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญา นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่ ๖ สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็น สัตตาวาสข้อที่ ๗ สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า ไม่ มีอะไร เพราะล่วงชั้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสข้อ ที่ ๘ สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะด้วยมนสิการว่า นี้สงบ นี้ประณีต เพราะล่วงชั้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาส ข้อที่ ๙ ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ฯ [๔๕๘] ธรรม ๙ อย่างที่ควรละเป็นไฉน ได้แก่ธรรมอันมีมูลมาแต่ ตัณหา ๙ คือ ความแสวงหาย่อมเป็นไปเพราะอาศัยตัณหา ความได้ย่อมเป็นไป เพราะอาศัยความแสวงหา ความตกลงใจย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความได้ ความ กำหนัดด้วยสามารถแห่งความพอใจ ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความตกลงใจ ความ กล้ำกลืนย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความกำหนัดด้วยสามารถแห่งความพอใจ ความ หวงแหนย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความกล้ำกลืน ความตระหนี่ย่อมเป็นไปเพราะ อาศัยความหวงแหน ความรักษาย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความตระหนี่ อกุศลธรรม อันลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือศัสตรา ความทะเลาะแก่งแย่งวิวาทกัน กล่าว ส่อเสียดว่าท่านๆ และการพูดเท็จ ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความรักษาเป็นเหตุ ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรละ ฯ [๔๕๙] ธรรม ๙ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน ได้แก่เหตุ เป็นที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๙ คือ บุคคลย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ประพฤติ แล้วซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่ง ที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติซึ่งสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่เรา ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ประพฤติแล้วซึ่งสิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ย่อมผูก ความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ประพฤติแล้วซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ ของเรา ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็น ที่รักที่ชอบใจของเรา ย่อมผูกอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ฯ [๔๖๐] ธรรม ๙ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน ได้แก่ความ กำจัดความอาฆาต ๙ คือ บุคคลย่อมกำจัดความอาฆาตด้วยทำไว้ในใจว่า ผู้นี้ได้ ประพฤติแล้วซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ย่อม กำจัดความอาฆาตด้วยทำไว้ในใจว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้นจะ หาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ย่อมกำจัดความอาฆาตด้วยทำไว้ในใจว่า ผู้นี้จัก ประพฤติซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการ ประพฤติซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ย่อม กำจัดความอาฆาตด้วยทำไว้ในใจว่า ผู้นี้ได้ประพฤติแล้วซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ย่อมกำจัดความอาฆาตด้วยทำไว้ในใจว่า ผู้นี้ ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ย่อมกำจัด ความอาฆาตด้วยทำไว้ในใจว่า ผู้นี้จักประพฤติซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็น ที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหา ได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ย่อมกำจัดความอาฆาตด้วยทำไว้ในใจว่า ผู้นี้ได้ประพฤติ แล้วซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่ จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ย่อมกำจัดความ อาฆาตด้วยทำไว้ในใจว่า ผู้นี้ประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ใน บุคคลนี้แต่ที่ไหน ย่อมกำจัดความอาฆาตด้วยทำไว้ในใจว่า ผู้นี้จักประพฤติซึ่งสิ่ง ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มี การประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้เป็นไป ในส่วนข้างวิเศษ ฯ [๔๖๑] ธรรม ๙ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน ได้แก่ความต่างกัน ๙ คือความต่างแห่งผัสสะ ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่ง เวทนา ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ ความต่างแห่งสัญญา ย่อม บังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่งเวทนา ความต่างแห่งความดำริ ย่อมบังเกิดเพราะ อาศัยความต่างแห่งสัญญา ความต่างแห่งความพอใจ ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความ ต่างแห่งความดำริ ความต่างแห่งความเร่าร้อน ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่าง แห่งความพอใจ ความต่างแห่งความแสวงหา ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่าง แห่งความเร่าร้อน ความต่างแห่งความได้ ย่อมบังเกิดเพราะอาศัยความต่างแห่ง ความแสวงหา ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก ฯ [๔๖๒] ธรรม ๙ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน ได้แก่สัญญา ๙ คือ ความกำหนดหมายว่าไม่งาม ความกำหนดหมายในความตาย ความกำหนดหมาย ในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล ความกำหนดหมายความไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ความ กำหนดหมายว่าไม่เที่ยง ความกำหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ความ กำหนดหมายในทุกข์ว่าไม่ใช่ตัวตน ความกำหนดหมายในการละ ความกำหนด หมายในวิราคธรรม ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรให้บังเกิดขึ้น ฯ [๔๖๓] ธรรม ๙ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน ได้แก่อนุบุพพวิหาร ๙ คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มี ความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ อนึ่ง เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่ พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วย มนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับ ปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาอยู่ บรรลุวิญญาณัญจายตน- *ฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย ประการทั้งปวงอยู่ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะ ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงอยู่ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงอยู่ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงอยู่ ธรรม ๙ อย่าง เหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯ [๔๖๔] ธรรม ๙ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน ได้แก่อนุบุพพนิโรธ ๙ คือ เมื่อเข้าปฐมฌาน กามสัญญาดับ เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารดับ เมื่อเข้า ตติยฌาน ปีติดับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสปัสสาสะดับ เมื่อเข้า อากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาดับ เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญ- *จายตนสัญญาดับ เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาดับ เมื่อ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนะดับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิต- *นิโรธ สัญญาและเวทนาดับ ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ ธรรม ๙๐ ดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่ เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ [๔๖๕] ธรรม ๑๐ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๑๐ อย่างควรให้เจริญ ธรรม ๑๐ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๑๐ อย่างควรละ ธรรม ๑๐ อย่างเป็นไป ในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๑๐ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๑๐ อย่างแทง ตลอดได้ยาก ธรรม ๑๐ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๑๐ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๑๐ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ [๔๖๖] ธรรม ๑๐ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน ได้แก่ธรรมกระทำที่ พึ่ง ๑๐ อย่าง คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัย ในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและ โคจรอยู่ มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีธรรมอันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็น ปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทง ตลอดด้วยดีด้วยความเห็น ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีธรรมอันสดับ แล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรมที่งามใน เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อม ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรง ไว้แล้ว คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น นี้ก็เป็นธรรม กระทำที่พึ่ง ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีเพื่อนดี มีสหายดี นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดยเบื้องขวา ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็น ผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับ อนุศาสนีโดยเบื้องขวา นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง พิจารณา อันเป็นอุบายในกรณียะนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัด ในกรณียะกิจ ใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นคน ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียะ นั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดในกรณียะกิจใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งใน อภิธรรม ในอภิวินัย ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจา น่ารัก มีความปราโมทย์ยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ เภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้ ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยแก่คน ไข้ตามมีตามได้ นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อจะยัง กุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ เป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระ ในธรรมที่เป็นกุศล ผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อ ละอกุศลธรรม เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล นี้ก็เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตน อย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ระลึกได้ ผู้มี อายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตน อย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ระลึกได้ นี้ก็ เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง ฯ อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็น ความเกิด และความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ผู้มีอายุ ทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความ ดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นธรรม กระทำที่พึ่ง ฯ ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ [๔๖๗] ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน ได้แก่แดนแห่งกสิณ ๑๐ คือ ผู้หนึ่งย่อมจำปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หาประมาณมิได้ ผู้หนึ่งย่อมจำอาโปกสิณได้ ... ผู้หนึ่งย่อมจำเตโชกสิณได้ ... ผู้หนึ่ง ย่อมจำวาโยกสิณได้ ... ผู้หนึ่งย่อมจำนีลกสิณได้ ... ผู้หนึ่งย่อมจำปีตกสิณได้ ... ผู้หนึ่ง ย่อมจำโลหิตกสิณได้ ... ผู้หนึ่งย่อมจำโอทาตกสิณได้ ... ผู้หนึ่งย่อมจำอากาสกสิณได้ ผู้หนึ่งย่อมจำวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเบื้องขวาง ตามลำดับ หา ประมาณมิได้ ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ [๔๖๘] ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ได้แก่อายตนะ ๑๐ คือ นัยน์ตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ธรรม ๑๐ อย่าง เหล่านี้ควรกำหนดรู้ ฯ [๔๖๙] ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรละเป็นไฉน ได้แก่มิจฉัตตะ ๑๐ คือ ความ เห็นผิด ความดำริผิด เจรจาผิด การงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจมั่นผิด ความรู้ผิด ความพ้นผิด ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรละ ฯ [๔๗๐] ธรรม ๑๐ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน ได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูด ส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของเขา ปองร้ายเขา เห็นผิด ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ฯ [๔๗๑] ธรรม ๑๐ อย่างที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติผิด ในกาม เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูด เพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของเขา ไม่ปองร้ายเขา เห็นชอบ ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ฯ [๔๗๒] ธรรม ๑๐ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน ได้แก่อริยวาส ๑๐ คือ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ ๖ มีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา มีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาแล้ว มีความแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้วโดยชอบ มีความดำริไม่ขุ่นมัว มีกายสังขารอันระงับแล้ว มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว มีปัญญา หลุดพ้นดีแล้ว ฯ ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นโทษอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ละได้ แล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว ฯ ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่าประกอบด้วยองค์ ๖ ภิกษุในพระศาสนานี้เห็น รูปด้วยนัยน์ตา ... ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ... ไม่ยินดียินร้าย เป็นผู้วางเฉย มี สติสัมปชัญญะอยู่ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าประกอบด้วยองค์ ๖ ฯ ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา ภิกษุในพระ- *ธรรมวินัยนี้ ประกอบแล้วด้วยใจมีสติเป็นเครื่องรักษา อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามี ธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา ฯ ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน ภิกษุในพระธรรม วินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีสัจจะเฉพาะอย่าง อันบรรเทาแล้ว สัจจะ เฉพาะอย่างเป็นอันมาก ของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก เป็นของอันภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้บรรเทาแล้ว บรรเทาดีแล้ว สละ คาย ปล่อย ละ สละคืน เสียหมดสิ้นแล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาแล้ว ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีความแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้วโดยชอบ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ละการแสวงหากาม ละการแสวงหาภพ ละการแสวงหา พรหมจรรย์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีความแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้วโดยชอบ ฯ ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีความดำริไม่ขุ่นมัว ความดำริในกาม ความ ดำริในความพยาบาท ความดำริในความเบียดเบียน เป็นโทษอันภิกษุในพระธรรม วินัยนี้ละได้แล้ว อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีความดำริไม่ขุ่นมัว ฯ ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีกายสังขารอันระงับแล้ว ภิกษุในพระธรรม วินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละทุกข์ละสุขและดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามี กายสังขารอันระงับแล้ว ฯ ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีจิตหลุดพ้นดีแล้ว จิตของภิกษุในพระธรรม วินัยนี้ พ้นแล้วจากราคะ โทสะ โมหะ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีจิตหลุดพ้น ดีแล้ว ฯ ก็อย่างไร ภิกษุจึงจะชื่อว่ามีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุในพระธรรมวินัย นี้ย่อมรู้ชัดว่า ราคะ ... โทสะ ... โมหะอันเราละแล้ว มีรากอันเราถอนขึ้นแล้ว กระทำให้เป็นดุจต้นตาลอันไม่มีที่ตั้ง กระทำไม่ให้มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น ธรรมดา อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีปัญญาอันหลุดพ้นดีแล้ว ฯ ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก ฯ [๔๗๓] ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรให้บังเกิดขึ้นเป็นไฉน ได้แก่สัญญา ๑๐ คือ ความกำหนดหมายว่าไม่งาม ความกำหนดหมายในความตาย ความกำหนด หมายในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล ความกำหนดหมายความไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง ความกำหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ความ กำหนดหมายในทุกข์ว่าไม่ใช่ตัวตน ความกำหนดหมายในการละ ความกำหนด หมายในวิราคธรรม ความกำหนดหมายในความดับ ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควร ให้บังเกิดขึ้น ฯ [๔๗๔] ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน ได้แก่นิชชิณวัตถุ ๑๐ คือ ความเห็นผิดอันบุคคลผู้เห็นชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่ น้อย ที่บังเกิดเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยเขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย ความดำริผิดอันบุคคลผู้ ดำริชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความ ดำริผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัย การเจรจาผิดอันบุคคลผู้เจรจาชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะเจรจาผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะเจรจาชอบเป็นปัจจัย การ งานผิดอันบุคคลผู้ทำการงานชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่ น้อยที่บังเกิดเพราะการงานผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อม ถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการงานชอบเป็นปัจจัย การเลี้ยงชีพผิดอันบุคคล ผู้เลี้ยงชีพชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะ การเลี้ยงชีพผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญ บริบูรณ์ เพราะการเลี้ยงชีพชอบเป็นปัจจัย ความพยายามผิดอันบุคคลผู้พยายาม ชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความพยายาม ผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความพยายามชอบเป็นปัจจัย ความระลึกผิดอันบุคคลผู้ระลึกชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความระลึกผิดเป็นปัจจัย เขา ก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความระลึกชอบ เป็นปัจจัย ความตั้งใจมั่นผิดอันบุคคลผู้ตั้งใจมั่นชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรม อันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความตั้งใจมั่นผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วน กุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความตั้งใจมั่นชอบเป็นปัจจัย ความรู้ผิดอันบุคคลผู้รู้ชอบย่อมละได้ อนึ่ง แม้อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่ บังเกิดเพราะความรู้ผิดเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึง ความเจริญบริบูรณ์ เพราะความรู้ชอบเป็นปัจจัย ความพ้นผิดอันบุคคลผู้พ้นชอบ ย่อมละได้ อนึ่ง อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่บังเกิดเพราะความพ้นผิดเป็น ปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมเจริญบริบูรณ์ เพราะความพ้น ชอบเป็นปัจจัย ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯ [๔๗๕] ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน ได้แก่อเสขธรรม ๑๐ คือ ความเห็นชอบเป็นของพระอเสขะ ความดำริชอบ ... เจรจาชอบ ... การงาน ชอบ ... เลี้ยงชีพชอบ ... พยายามชอบ ... ระลึกชอบ ... ตั้งใจมั่นชอบ ... ความรู้ชอบ ... ความ พ้นชอบ เป็นของพระอเสขะ ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ ธรรมร้อยหนึ่งดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวสูตรนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นดีใจ ชื่นชมภาษิตของ ท่านพระสารีบุตร ดังนี้แล ฯ
จบ ทสุตตรสูตร ที่ ๑๑
จบ ปาฏิกวรรค
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในวรรคนี้ มี ๑๑ สูตร คือ
๑. ปาฏิกสูตร ๒. อุทุมพลิกสูตร ๓. จักกวัตติสูตร ๔. อัคคัญญสูตร ๕. สัมปสาทนียสูตร ๖. ปาสาทิกสูตร ๗. ลักขณสูตร ๘. สิงคาลกสูตร ๙. อาฏานาฏิยสูตร ๑๐. สังคีติสูตร ๑๑. ทสุตตรสูตร ฯ
ทีฆนิกายซึ่งประดับด้วยสูตร ๓๔ สูตร จบ
ทีฆนิกายนี้มีพระสูตร ๓๔ สูตร จัดเป็น ๓ วรรค ชื่อว่าทีฆนิกาย เป็น นิกายต้น เป็นไปโดยสมควร ก็เพราะเหตุไร นิกายนี้จึงเรียกว่า ทีฆนิกาย เพราะเป็นที่รวมเป็นที่อยู่แห่งพระสูตรขนาดยาวๆ จึงเรียกว่า ทีฆนิกาย ดังนี้แล ฯ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๗๐๑๖-๘๑๓๗ หน้าที่ ๒๘๙-๓๓๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=7016&Z=8137&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=364&items=112              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=364&items=112&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=11&item=364&items=112              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=11&item=364&items=112              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_11 https://84000.org/tipitaka/english/?index_11

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]