บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
อัจจันตนิยามกถา [๑๗๙๒] สกวาที ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. บุคคลผู้ทำมาตุฆาตเป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว บุคคลผู้ทำปิตุฆาต ฯลฯ บุคคลผู้ทำอรหันตฆาต ฯลฯ บุคคลผู้ทำโลหิตุบาท ฯลฯ บุคคลผู้ทำสังฆ- เภท เป็นผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วิจิกิจฉา พึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า วิจิกิจฉา พึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว ก็ต้องไม่กล่าว ว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว [๑๗๙๓] ส. วิจิกิจฉา ไม่พึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ละวิจิกิจฉาได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ละวิจิกิจฉาได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ละได้ด้วยอนาคามิมรรค ฯลฯ ละได้ ด้วยอรหัตมรรค หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ละได้ด้วยมรรคไหน ป. ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล ส. มรรคฝ่ายอกุศลเป็นธรรมนำออก ให้ถึงความสิ้นทุกข์ ให้ถึงความตรัสรู้ ให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของ สังกิเลส หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. มรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นธรรมนำออก ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลส มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า มรรคฝ่ายอกุศลไม่เป็นธรรมนำออก ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสัง กิเลส ก็ต้องไม่กล่าวว่า วิจิกิจฉา อันบุคคลผู้แน่นอนโดยส่วนเดียวละ ได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล [๑๗๙๔] ส. อุจเฉททิฏฐิพึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า อุจเฉททิฏฐิพึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ ก็ต้องไม่ กล่าวว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว [๑๗๙๕] ส. อุจเฉททิฏฐิไม่พึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยสัสสตทิฏฐิ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ละอุจเฉททิฏฐิได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ละอุจเฉททิฏฐิได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอนาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอรหัตมรรค หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ละได้ด้วยมรรคไหน ป. ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล ส. มรรคฝ่ายอกุศล ฯลฯ ก็ต้องไม่กล่าวว่า อุจเฉททิฏฐิอันบุคคลผู้แน่นอน โดยสัสสตทิฏฐิละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล [๑๗๙๖] ป. สัสสตทิฏฐิพึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า สัสสตทิฏฐิพึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิ ก็ต้องไม่ กล่าวว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว [๑๗๙๗] ส. สัสสตทิฏฐิไม่พึงเกิดแก่บุคคลผู้แน่นอนโดยอุจเฉททิฏฐิ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ละสัสสตทิฏฐิได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ละสัสสตทิฏฐิได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ละได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯลฯ ด้วยอรหัตมรรค หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ด้วยมรรคไหน ป. ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล ส. มรรคฝ่ายอกุศล ฯลฯ ก็ต้องไม่กล่าวว่า สัสสตทิฏฐิ อันบุคคลผู้แน่นอน โดยอุจเฉททิฏฐิ ละได้ด้วยมรรคฝ่ายอกุศล [๑๗๙๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วนเดียว หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลก นี้ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมฝ่ายอกุศล เป็นธรรมดำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้จมลงแล้วครั้งหนึ่ง ก็จมลงอยู่นั่นเอง ดังนี้ ๑- เป็นสูตร มีอยู่จริง มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น ปุถุชนก็มีความแน่นอนโดยส่วนเดียว น่ะสิ [๑๗๙๙] ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลก นี้ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมฝ่ายอกุศล เป็นธรรมดำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้จมลงแล้วครั้งหนึ่ง ก็จมอยู่นั่นเอง เพราะทำอธิบายดังนี้ และโดยเหตุนั้น ท่านจึงสันนิษฐานว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วน เดียว หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลก นี้ ผุดขึ้นแล้ว กลับจมลง ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลผุดขึ้นแล้ว กลับจมลงทุกครั้ง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๘๐๐] ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลก นี้ เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมฝ่ายอกุศล เป็นธรรมดำโดยส่วนเดียว บุคคลนั้นเป็นผู้จมลงแล้วครั้งหนึ่ง ก็จมอยู่นั่นเอง เพราะทำอธิบายดังนี้ และโดยเหตุนั้น ท่านจึงสันนิษฐานว่า ปุถุชนมีความแน่นอนโดยส่วน เดียว หรือ? ป. ถูกแล้ว @๑. อํ. สตฺตก. ข้อ ๑๕ หน้า ๑๑ ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลก นี้ ผุดขึ้นแล้วทรงตัวอยู่ ผุดขึ้นแล้วเห็นแจ้งเหลียวแลดูว่ายข้ามไป ผุดขึ้นแล้ว ไปถึงที่พำนักได้ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลผุดขึ้นแล้ว ไปถึงที่พำนักได้ทุกครั้ง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯอัจจันตนิยามกถา จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๘๙๗๓-๑๙๐๗๙ หน้าที่ ๗๘๙-๗๙๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=18973&Z=19079&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1792&items=9 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=1792&items=9&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=1792&items=9 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=1792&items=9 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1792 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_37 https://84000.org/tipitaka/english/?index_37
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]