ทิพพจักขุกถา
[๗๙๕] สกวาที มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว
ส. มังสจักษุ ก็คือทิพยจักษุ ทิพยจักษุ ก็คือมังสจักษุ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๙๖] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. มังสจักษุเป็นเช่นใด ทิพยจักษุก็เป็นเช่นนั้น ทิพยจักษุเป็นเช่นใด
มังสจักษุก็เป็นเช่นนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๙๗] ส. มังสจักษุอันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. มังสจักษุอันนั้น ทิพยจักษุก็อันนั้นแหละ ทิพยจักษุอันนั้น มังสจักษุก็
อันนั้นแหละ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๙๘] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. วิสัย อานุภาพ โคจร ของมังสจักษุ เป็นเช่นใด วิสัย อานุภาพ โคจร
ของทิพยจักษุ ก็เป็นเช่นนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๙๙] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. เป็นอุปาทินนะแล้วเป็นอนุปาทินนะ ๑- หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
@๑. อุปาทินนะ-อนุปาทินนะ ดูนิเทศในธรรมสังคณี ข้อ ๗๗๙ และข้อ ๙๕๕
[๘๐๐] ส. เป็นอุปาทินนะแล้วเป็นอนุปาทินนะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. เป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจร หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๐๑] ส. เป็นกามาวจรแล้วเป็นรูปาวจร หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจร หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๐๒] ส. เป็นรูปาวจรแล้วเป็นอรูปาวจร หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. เป็นปริยาปันนะแล้วเป็นอปริยาปันนะ ๑- หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๐๓] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ทิพยจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว ก็เป็นมังสจักษุ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๐๔] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ทิพยจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นปัญญาจักษุ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๐๕] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ทิพยจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นมังสจักษุ หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
@๑. ปริยาปันนะ-อปริยาปันนะ ดูนิเทศในธรรมสังคณี ข้อ ๘๓๑ และข้อ ๙๘๓
[๘๐๖] ส. มังสจักษุ อันธรรมอุปถัมภ์แล้ว เป็นทิพยจักษุ หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. จักษุ มี ๒ อย่างเท่านั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๘๐๗] ส. จักษุ มี ๒ อย่างเท่านั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสจักษุว่ามี ๓ คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ
มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. หากว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสจักษุว่ามี ๓ คือ มังสจักษุ ทิพยจักษุ
ปัญญาจักษุ ก็ต้องไม่กล่าวว่า จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น
[๘๐๘] ส. จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว
ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุนี้มี ๓ อย่าง, ๓
อย่างเป็นไฉน มังสจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ จักษุมี ๓ อย่าง
ฉะนี้แล
พระผู้มีพระภาคผู้ปุริโสดม ได้ตรัสจักษุ ๓ อย่างนี้ คือ
มังสจักษุ ทิพยจักษุ และปัญญาจักษุ อันยอดเยี่ยมไว้แล้ว ความ
เกิดขึ้นแห่งมังสจักษุ เป็นทางแห่งทิพยจักษุ ก็เมื่อใด ญาณ คือ
ปัญญาจักษุ อันยอดเยี่ยมเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้ง
ปวงได้ เพราะการได้จักษุนั้น ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
@๑. ขุ. อิติวุตตะ ข้อ ๒๓๙ หน้า ๒๗๐
ป. ถูกแล้ว
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า จักษุมี ๒ อย่างเท่านั้น
ทิพพจักขุกถา จบ
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๘๑๙๙-๘๒๗๔ หน้าที่ ๓๓๙-๓๔๒.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=8199&Z=8274&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=795&items=14
อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :-
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=37&item=795&items=14&mode=bracket
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :-
http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=37&item=795&items=14
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :-
http://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=37&item=795&items=14
ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=795
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗
http://84000.org/tipitaka/read/?index_37
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com