ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
อุบาลีคาถา
[๒๖๐] อุ. เมื่อกิจของสงฆ์ การปรึกษาวินัย การตีความ วินัย และการวินิจฉัยความแห่งวินัยเกิดขึ้นแล้ว ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เป็นคนชนิดไร จึงมีอุปการะมาก เป็นคน ชนิดไร จึงควรยกย่อง ในพระธรรมวินัยนี้ พ. เบื้องต้น ภิกษุไม่ถูกตำหนิโดยศีล หมั่นตรวจตรา มารยาท และสำรวมอินทรีย์เรียบร้อย ศัตรูติเตียนไม่ได้ โดยธรรม เพราะเธอไม่มีความผิดที่ฝ่ายศัตรูจะพึงกล่าวถึง เธอผู้เช่นนั้น ตั้งอยู่ในศีลวิสุทธิ เป็นผู้แกล้วกล้า พูด จาฉาดฉาน เข้าที่ประชุมไม่สะดุ้ง ไม่ประหม่า กล่าว ถ้อยคำมีเหตุ ไม่ให้เสียความ ถึงถูกถามปัญหาในที่ประชุม ก็เช่นนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่นิ่งอั้น ไม่เก้อ เธอเป็นผู้ เชี่ยวชาญ กล่าวถ้อยคำถูกกาล เหมาะแก่การพยากรณ์ ย่อมยังหมู่วิญญูชนให้พอใจ มีความเคารพในภิกษุทั้งหลาย ที่แก่พรรษากว่า เป็นผู้แกล้วกล้าในอาจริยวาทของตน สามารถเพื่อจะวิจารณ์ ชำนาญในถ้อยคำที่จะพึงกล่าว ฉลาด จับข้อพิรุธของฝ่ายศัตรู เป็นเหตุให้ฝ่ายศัตรูถึงความถูก ปราบ และมหาชนก็ยินยอม อนึ่ง ภิกษุนี้ย่อมไม่ลบล้าง ลัทธิเป็นที่เชื่อถือ คืออาจริยวาทของตน แก้ปัญหาได้ ไม่ติดขัด สามารถในหน้าที่ทูต และยอมรับทำกิจของสงฆ์ ดุจรับบิณฑบาตของที่เขานำมาบูชาฉะนั้น ถูกคณะภิกษุส่ง ไปให้ทำหน้าที่เจรจา ก็ไม่ทะนงตัวว่า ตนทำได้ เพราะ การทำหน้าที่เจรจานั้น ภิกษุต้องอาบัติเพราะวัตถุมีประมาณ เท่าใด และการออกจากอาบัติย่อมมีด้วยวิธีใด วิภังค์ ทั้งสองนั้นมาแล้วด้วยดีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาด ในวิธีการออกจากอาบัติ อนึ่ง ภิกษุทำกรรมมีก่อความ บาดหมางเป็นต้นเหล่าใด ย่อมถึงการขับออก และถูกขับ ออก ด้วยเรื่องเช่นใด เธอฉลาดในวิภังค์ ย่อมเข้าใจ วิธีการรับเข้าหมู่ แม้นั้น ที่ควรทำแก่ภิกษุผู้ประพฤติวัตร นั้นเสร็จแล้ว มีความเคารพในพระผู้เจริญกว่า คือที่เป็น ผู้ใหญ่ ปานกลาง และผู้ใหม่ เป็นบัณฑิต ประพฤติ ประโยชน์แก่มหาชนในโลกนี้ ภิกษุผู้เช่นนั้นนั่น จึงควร ยกย่องในธรรมวินัยนี้แล.
โกสัมพิขันธกะ ที่ ๑๐ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๖๗๒๑-๖๗๕๕ หน้าที่ ๒๗๖-๒๗๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=6721&Z=6755&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=5&item=260&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=5&item=260&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=5&item=260&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=5&item=260&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=260              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_5 https://84000.org/tipitaka/english/?index_5

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]