ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๖ จุลวรรค ภาค ๑
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ เมื่อสงฆ์จำนงพึงลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการ วิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ เป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงพึงลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๒
[๒๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์ จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือเป็นผู้มีศีลวิบัติ ในอธิศีล ๑ เป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร ๑ เป็นผู้มีทิฐิวิบัติ ในอติทิฐิ ๑

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๘.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงพึงลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๓
[๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ แม้อื่นอีก เมื่อสงฆ์ จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ กล่าวติเตียนพระธรรม ๑ กล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล เมื่อสงฆ์จำนงพึงลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๔
[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูป คือรูปหนึ่งเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ทำความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ๑ รูปหนึ่งเป็นพาล ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมรรยาทไม่สมควร ๑ รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ ด้วยการคลุกคลี อันไม่สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล ฯ
หมวดที่ ๕
[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐาน ไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุ ๓ รูป แม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งเป็นผู้มีศีลวิบัติในอธิศีล ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติในอัธยาจาร ๑ รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฐิวิบัติ ในอติทิฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๙.

หมวดที่ ๖
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปแม้อื่นอีก คือ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ รูป หนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืน อาบัติแก่ภิกษุ ๓ รูปนี้แล ฯ
ข้อที่สงฆ์จำนง ๖ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ
-----------------------------------------------------
วัตร ๔๓ ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ ทำคืนอาบัติแล้ว ต้องประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัตินั้นดังนี้:- ๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย ๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี ๖. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เพราะอาบัติใด ไม่พึง ต้องอาบัตินั้น ๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๙. ไม่พึงติกรรม ๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๐.

๑๑. ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ ๑๒. ไม่พึงยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ ๑๓. ไม่พึงยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ ๑๔. ไม่พึงยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ ๑๕. ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ ๑๖. ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ ๑๗. ไม่พึงยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตะ ภิกษุ ๑๘. ไม่พึงยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ ๑๙. ไม่พึงยินดีการรับบาตร จีวร ของปกตัตตะภิกษุ ๒๐. ไม่พึงยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ ๒๑. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ ๒๒. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ ๒๓. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฐิวิบัติ ๒๔. ไม่พึงกำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ ๒๕. ไม่พึงยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน ๒๖. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ ๒๗. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์ ๒๘. ไม่พึงคบพวกเดียรถีย์ ๒๙. พึงคบพวกภิกษุ ๓๐. พึงศึกษาสิกขาของภิกษุ ๓๑. ไม่พึงอยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ ๓๒. ไม่พึงอยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ ๓๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาส หรือในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะ ภิกษุ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๑.

๓๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ ๓๕. ไม่พึงรุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร ๓๖. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓๗. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓๘. ไม่พึงทำการไต่สวน ๓๙. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๔๐. ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๔๑. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น ๔๒. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๔๓. ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ฯ
วัตร ๔๓ ข้อ ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ
-----------------------------------------------------
สงฆ์ลงโทษและระงับ
[๒๕๘] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่ พระฉันนะ คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติแล้ว ได้ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสอื่น ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นนั้น ไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่ เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ท่านอันภิกษุทั้งหลาย ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่ นับถือ ไม่บูชาอยู่ เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึงได้ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาส อื่น แม้ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ท่านอันภิกษุทั้ง หลาย ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึง ได้ไปจากอาวาสนั้น สู่อาวาสอื่น แม้ภิกษุทั้งหลายในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ยืนรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม ไม่ทำสามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๒.

ไม่บูชา ท่านอันภิกษุทั้งหลายไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาอยู่ เป็น ผู้ไม่มีใครทำสักการะ จึงกลับมาสู่พระนครโกสัมพีอีกตามเดิม ได้ประพฤติโดย ชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ผมจะพึงปฏิบัติอย่างไรต่อไป ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุ ฉันนะ ฯ
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:- ๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย ๓. ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้รับสมมติแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๒
[๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:- ๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เพราะอาบัติใด ต้อง อาบัตินั้น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๓.

๒. ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๔. ติกรรม ๕. ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๓
[๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:- ๑. ยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ ๒. ยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ ๓. ยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ ๔. ยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ ๕. ยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๔
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:- ๑. ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ ๒. ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ ๓. ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ ๔. ยินดีการรับบาตรและจีวร ของปกตัตตะภิกษุ ๕. ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๔.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๕
[๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:- ๑. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ ๒. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ ๓. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฐิวิบัติ ๔. กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ ๕. ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๖
[๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:- ๑. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ ๒. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์ ๓. คบพวกเดียรถีย์ ๔. ไม่คบพวกภิกษุ ๕. ไม่ศึกษาสิกขาของภิกษุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๗
[๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๕.

๑. อยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ ๒. อยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ ๓. อยู่ในอาวาส หรือในอนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ ๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วไม่ลุกจากอาสนะ ๕. รุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๘
[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:- ๑. ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๒. ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๖. โจทภิกษุอื่น ๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์ไม่พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
วัตรที่ไม่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๖.

วัตรที่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
หมวดที่ ๑
[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:- ๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย ๓. ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี ๕. แม้ได้รับสมมติแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๒
[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:- ๑. สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ เพราะอาบัติใด ไม่ ต้องอาบัตินั้น ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน ๓. ไม่ต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ติกรรม ๕. ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๓
[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๗.

๑. ไม่ยินดีการกราบไหว้ ของปกตัตตะภิกษุ ๒. ไม่ยินดีการยืนรับ ของปกตัตตะภิกษุ ๓. ไม่ยินดีอัญชลีกรรม ของปกตัตตะภิกษุ ๔. ไม่ยินดีสามีจิกรรม ของปกตัตตะภิกษุ ๕. ไม่ยินดีการนำอาสนะมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๔
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:- ๑. ไม่ยินดีการนำที่นอนมาให้ ของปกตัตตะภิกษุ ๒. ไม่ยินดีการนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้าให้ ของปกตัตตะ ภิกษุ ๓. ไม่ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ ของปกตัตตะภิกษุ ๔. ไม่ยินดีการรับบาตรจีวร ของปกตัตตะภิกษุ ๕. ไม่ยินดีการถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๕
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:- ๑. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ ๒. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาจารวิบัติ ๓. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยทิฐิวิบัติ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๘.

๔. ไม่กำจัดปกตัตตะภิกษุ ด้วยอาชีววิบัติ ๕. ไม่ยุภิกษุกับภิกษุให้แตกกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๖
[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติคือ:- ๑. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ ๒. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์ ๓. ไม่คบพวกเดียรถีย์ ๔. คบพวกภิกษุ ๕. ศึกษาสิกขาของภิกษุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
หมวดที่ ๗
[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก สงฆ์ พึงระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:- ๑. ไม่อยู่ในอนาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ ๒. ไม่อยู่ในอาวาสมีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ ๓. ไม่อยู่ในอาวาส หรือในอนาวาส มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ ๔. เห็นปกตัตตะภิกษุแล้วลุกจากอาสนะ ๕. ไม่รุกรานปกตัตตะภิกษุ ข้างในหรือข้างนอกวิหาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๙.

หมวดที่ ๘
[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ คือ:- ๑. ไม่ห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ ๒. ไม่ห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ ๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ๕. ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น ๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ฯ
วัตรที่ควรระงับ ๔๓ ข้อ ๘ หมวด
ในอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ จบ
-----------------------------------------------------
วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำ คืนอาบัติพึงระงับอย่างนี้ ภิกษุฉันนะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุ ผู้แก่กว่า นั่งกระหย่งประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอระงับกรรมนั้นอย่างนี้ ว่า ดังนี้:-
คำขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๐.

ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ ข้าพเจ้าขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่คืนอาบัติ พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หาย เย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมฐานไม่ทำ คืนอาบัติ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า พระฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ ทำคืนอาบัติแล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ระงับ อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ การระงับอุกเขป- *นียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่าน ผู้นั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟัง ข้าพเจ้า พระฉันนะนี้ ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ แล้ว ประพฤติโดยชอบ หายเย่อหยิ่ง ประพฤติแก้ตัวได้ บัดนี้ ขอ ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ การระงับอุกเขปนียกรรม ฐานไม่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๑.

ทำคืนอาบัติแก่พระฉันนะ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ อันสงฆ์ระงับแล้วแก่พระ- *ฉันนะ ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ ไว้ด้วยอย่างนี้ ฯ
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติ ที่ ๖ จบ
-----------------------------------------------------
อุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฐิอันเป็นบาป
เรื่องพระอริฏฐะ
[๒๗๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถีครั้งนั้น พระอริฏฐะผู้เกิดใน ตระกูลพรานแร้ง มีทิฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี พระภาคทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้น หาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ภิกษุหลายรูปด้วยกันได้ทราบข่าวว่า พระ อริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง มีทิฐิอันเป็นบาปเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เรารู้ทั่วถึง ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ แล้วพากันเข้าไปหาพระอริฏฐะ ผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง ถามว่า อาวุโสอริฏฐะข่าวว่า ท่านมีทิฐิอันเป็นบาป เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดย ประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพ ได้จริงไม่ดังนี้ จริงหรือ พระอริฏฐะตอบว่า จริงเหมือนอย่างนั้นแล อาวุโสทั้งหลาย ผมรู้ทั่วถึง ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริงไม่ ภิกษุทั้งหลายกล่าวห้ามว่า อาวุโสอริฏฐะ ท่านอย่าได้พูดเช่นนั้น ท่าน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๒.

อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีแน่ พระผู้มีพระภาค ไม่ได้ตรัสอย่างนั้นเลย พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมอันทำอันตรายไว้โดยปริยายเป็น อันมาก ก็แลธรรมเหล่านั้นอาจทำอันตรายแก่ผู้เสพได้จริง กามทั้งหลายพระผู้มี พระภาคตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกาม ทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบเหมือนร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เปรียบเหมือนคบหญ้า ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบ เหมือนหลุมถ่านเพลิง ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบเหมือน ความฝัน ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบเหมือนของยืม ... กาม ทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบเหมือนผลไม้ ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาค ตรัสว่า เปรียบเหมือนเขียงสำหรับสับเนื้อ ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบเหมือนหอกและหลาว ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่าเปรียบเหมือน ศีรษะงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามทั้งหลายนี้มากยิ่งนัก พระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูลพรานแร้ง แม้อันภิกษุเหล่านั้น ว่ากล่าวอยู่ อย่างนี้ ก็ยังยึดถือทิฐิอันเป็นบาปนั้นด้วยความยึดถือมั่นอย่างเดิม กล่าวยืนยันว่า ผมกล่าวอย่างนั้นจริง ท่านทั้งหลายผมรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ตรัสว่า เป็นธรรมทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นหาอาจทำอันตรายแก่ ผู้เสพได้จริงไม่ ก็เพราะเหตุที่ภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจเปลื้องพระอริฏฐะผู้เกิดในตระกูล พรานแร้งจากทิฐิอันเป็นบาปนั้นได้ จึงภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๒๗๒๔-๓๐๙๒ หน้าที่ ๑๑๗-๑๓๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=2724&Z=3092&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=6&item=251&items=26&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=6&item=251&items=26&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=6&item=251&items=26&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=6&item=251&items=26&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=251              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_6 https://84000.org/tipitaka/english/?index_6

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]