บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
สมถขันธกะ เรื่องพระฉัพพัคคีย์ [๕๘๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ กระทำกรรม คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณีย- *กรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลัง บรรดาภิกษุที่เป็น ผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้กระทำกรรม คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลังเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคทรงสอบถาม ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์กระทำกรรม คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ลับหลัง จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้าทรงติเตียน พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ โมฆบุรุษเหล่านั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้กระทำกรรม คือ ตัชชนียกรรมบ้าง นิยสกรรมบ้าง ปัพพาชนียกรรมบ้าง ปฏิสารณียกรรมบ้าง อุกเขปนียกรรมบ้าง แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ อยู่ลับหลังเล่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น นั่นไม่เป็นไป เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนผู้ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะ- *ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรม คือ ตัชชนียกรรมก็ดี นิยสกรรมก็ดี ปัพพาชนียกรรมก็ดี ปฏิสารณียกรรมก็ดี อุกเขปนียกรรมก็ดี อันภิกษุไม่พึงทำ แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ลับหลัง ภิกษุใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯธรรมวาทีและอธรรมวาทีบุคคล [๕๘๖] อธรรมวาทีบุคคล ๑ ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ๑ สงฆ์อธรรมวาที ๑ ธรรมวาทีบุคคล ๑ ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ๑ สงฆ์ธรรมวาที ๑ ฯธรรมฝ่ายดำ ๙ อย่าง [๕๘๗] ๑. อธรรมวาทีบุคคล ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม ๒. อธรรมวาทีบุคคล ยังภิกษุธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่าน จงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม ๓. อธรรมวาทีบุคคล ยังสงฆ์ธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจง ถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม ๔. ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ อย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม ๕. ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ยังภิกษุธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดย ไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม ๖. ภิกษุอธรรมวาทีมากรูป ยังสงฆ์ธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ อย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม ๗. สงฆ์อธรรมวาที ยังธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ อย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม ๘. สงฆ์อธรรมวาที ยังภิกษุธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่าน จงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม ๙. สงฆ์อธรรมวาที ยังสงฆ์ธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ อย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่เป็นธรรม เป็นสัมมุขาวินัยเทียม ฯธรรมฝ่ายดำ ๙ อย่าง จบ ----------------------------------------------------- ธรรมฝ่ายขาว ๙ อย่าง [๕๘๘] ๑. ธรรมวาทีบุคคล ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย ๒. ธรรมวาทีบุคคล ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับ โดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย ๓. ธรรมวาทีบุคคล ยังสงฆ์อธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ อย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย ๔. ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ อย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย ๕. ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับ โดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย ๖. ภิกษุธรรมวาทีมากรูป ยังสงฆ์อธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ อย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย ๗. สงฆ์ธรรมวาที ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ อย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น สัมมุขาวินัย ๘. สงฆ์ธรรมวาที ยังภิกษุอธรรมวาทีมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็น ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่าน จงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย ๙. สงฆ์ธรรมวาที ยังสงฆ์อธรรมวาทีให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ ให้เห็นตามว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถืออย่างนี้ จงชอบอย่างนี้ ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย ฯธรรมฝ่ายขาว ๙ อย่าง จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๗๘๓๑-๗๙๓๖ หน้าที่ ๓๓๒-๓๓๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=7831&Z=7936&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=6&item=585&items=4 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=6&item=585&items=4&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=6&item=585&items=4 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=6&item=585&items=4 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=585 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_6 https://84000.org/tipitaka/english/?index_6
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]