ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
ไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒

หน้าที่ ๑.

พระวินัยปิฎก
เล่ม ๗
จุลวรรค ภาค ๒
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขุททกวัตถุขันธกะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ วัตรในการอาบน้ำ
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน วิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำ สีกาย คือ ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่ต้นไม้ ชาวบ้านเห็นแล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระ ศากยบุตรทั้งหลายอาบน้ำ จึงสีกาย คือ ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่ต้นไม้ เหมือนพวกนักมวยผู้ชกกันด้วยหมัด เหมือนพวกชาวบ้านผู้ชอบแต่งผิว เล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ ... จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้า มูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์อาบน้ำ สีกาย คือ ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่ต้นไม้ จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒.

ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของ โมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะสม ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน โมฆบุรุษเหล่านั้นอาบน้ำจึงสีกาย คือ ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่ต้นไม้เล่า การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาบน้ำ ไม่พึงสีกาย ที่ต้นไม้ รูปใดสี ต้อง อาบัติทุกกฏ ฯ [๒] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำ สีกาย คือ ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่เสา ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ- *สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลายอาบน้ำ จึงได้สีกาย คือ ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่เสา เหมือนพวกนักมวยผู้ชกกันด้วยหมัด เหมือนพวกชาว บ้านผู้ชอบแต่งผิวเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ ... จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ... จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาบน้ำไม่พึงสีกายที่เสา รูปใดสี ต้อง อาบัติทุกกฏ ฯ [๓] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำ สีกาย คือ ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่ฝา ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ- *สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลายอาบน้ำ จึงได้สีกาย คือ ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่ฝา เหมือนพวกนักมวยผู้ชกกันด้วยหมัด เหมือนพวกชาวบ้านผู้ ชอบแต่งผิวเล่า ...

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓.

พระผู้มีพระภาค ... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ อาบน้ำ ไม่พึงสีกายที่ฝา รูปใดสี ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำ ย่อมอาบในสถานที่อันไม่สม- *ควร ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ ... จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ... จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาบน้ำ ไม่พึงอาบในสถานที่อันไม่ สมควร รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๕] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำถูด้วยมือที่ทำด้วยไม้ ชาวบ้าน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้ง- *หลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ ... จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ไม่พึงอาบน้ำถูด้วยมือที่ทำด้วยไม้ รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๖] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำถูด้วยก้อนจุรณหินสีดั่งพลอยแดง ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุ ทั้งหลาย ... จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ไม่พึงอาบน้ำถูด้วยก้อนจุรณหินสีดั่งพลอยแดง รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๗] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ผลัดกันถูตัว ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔.

โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย ... จึงกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ พึงผลัดกันถูตัว รูปใดให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๘] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำถูด้วยไม้บังเวียนที่จักเป็นฟันมังกร ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย ... จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ไม่พึงอาบน้ำถูด้วยไม้บังเวียนที่จักเป็นฟันมังกร รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๙] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคหิด ภิกษุนั้นเว้นไม้บังเวียน ที่จักเป็นฟันมังกรเสีย ย่อมไม่สบาย ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา- *อนุญาตไม้บังเวียนที่มิได้จักเป็นฟันมังกรแก่ภิกษุอาพาธ ฯ [๑๐] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งทุพพลภาพเพราะชรา เมื่ออาบน้ำ ไม่ สามารถจะถูกายของตนได้ ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตเกลียวผ้า ฯ [๑๑] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งรังเกียจเพื่อจะทำการถูหลัง ... ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา อนุญาตการถูหลังด้วยมือ ฯ
เรื่องเครื่องประดับต่างชนิด
[๑๒] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ทรงเครื่องประดับหู ... ทรงสังวาล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕.

ทรงสร้อยคอ ทรงเครื่องประดับเอว ทรงวลัย ทรงสร้อยตาบ ทรงเครื่องประดับ ข้อมือ ทรงแหวนประดับนิ้วมือ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ ... จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ทรงเครื่องประดับหู ทรงสังวาล ทรงสร้อยคอ ทรงเครื่องประดับ- *เอว ทรงวลัย ทรงสร้อยตาบ ทรงเครื่องประดับข้อมือ ทรงแหวนประดับนิ้วมือ จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงเครื่องประดับหู ไม่พึงทรง สังวาล ไม่พึงทรงสร้อยคอ ไม่พึงทรงเครื่องประดับเอว ไม่พึงทรงวลัย ไม่พึง ทรงสร้อยตาบ ไม่พึงทรงเครื่องประดับข้อมือ ไม่พึงทรงแหวนประดับนิ้วมือ รูปใด ทรง ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
เรื่องไว้ผมยาว
[๑๓] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ไว้ผมยาว ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย ... กราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... รับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไว้ผมยาว รูปใดไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไว้ผมได้สองเดือน หรือยาวสององคุลี ฯ [๑๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์เสยผมด้วยแปรง เสยผมด้วยหวี เสยผมด้วยนิ้วมือต่างหวี เสยผมด้วยน้ำมันผสมกับขี้ผึ้ง เสยผมด้วยน้ำมันผสม กับน้ำ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค กาม ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๖.

พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเสยผมด้วย แปรง ไม่พึงเสยผมด้วยหวี ไม่พึงเสยผมด้วยนิ้วมือต่างหวี ไม่พึงเสยผมด้วย น้ำมันผสมกับขี้ผึ้ง ไม่พึงเสยผมด้วยน้ำมันผสมกับน้ำ รูปใดเสย ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
เรื่องส่องดูเงาหน้า
[๑๕] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ส่องดูเงาหน้าในแว่นบ้าง ในภาชนะ น้ำบ้าง ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค กาม ... ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงดูเงาหน้าใน แว่นหรือในภาชนะน้ำ รูปใดดู ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๑๖] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง เป็นแผลที่หน้า เธอถามภิกษุทั้งหลายว่า แผลของผมเป็นเช่นไร ขอรับ ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า แผลของคุณเป็นเช่นนี้ ขอรับ เธอไม่เชื่อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดูเงาหน้า ที่แว่นหรือที่ภาชนะน้ำได้ เพราะเหตุอาพาธ ฯ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ทาหน้าเป็นต้น
[๑๗] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ทาหน้า ถูหน้า ผัดหน้า เจิมหน้า ด้วยมโนศิลา ย้อมตัว ย้อมหน้า ย้อมทั้งตัวและหน้า ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย ... กราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทาหน้า ไม่ พึงถูหน้า ไม่พึงผัดหน้า ไม่พึงเจิมหน้าด้วยมโนศิลา ไม่พึงย้อมตัว ไม่พึงย้อม- *หน้า ไม่พึงย้อมทั้งตัวและหน้า รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๑๘] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธด้วยโรคนัยน์ตา ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗.

พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทาหน้าได้ เพราะเหตุอาพาธ ฯ [๑๙] สมัยต่อมา ที่พระนครราชคฤห์ มีงานมหรสพบนยอดเขา พระ ฉัพพัคคีย์ได้ไปเที่ยวดูงานมหรสพ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง และการ ประโคมดนตรี เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย ... กราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง หรือการประโคมดนตรี รูปใดไป ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
เรื่องสวดพระธรรมด้วยทำนอง
[๒๐] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้าย เพลงขับ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากย- *บุตรเหล่านี้ สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ เหมือนพวกเราขับ ภิกษุ ทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้สวดพระธรรม ด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ... จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่ง กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลง ขับ มีโทษ ๕ ประการนี้ คือ:- ๑. ตนยินดีในเสียงนั้น ๒. คนอื่นก็ยินดีในเสียงนั้น ๓. ชาวบ้านติเตียน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘.

๔. สมาธิของผู้พอใจการทำเสียงย่อมเสียไป ๕. ภิกษุชั้นหลังจะถือเป็นเยี่ยงอย่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล ของภิกษุผู้สวดพระธรรมด้วย ทำนองยาวคล้ายเพลงขับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
เรื่องการสวดสรภัญญะ
[๒๑] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรังเกียจในการสวดสรภัญญะ จึงกราบ ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สวดเป็น ทำนองสรภัญญะได้ ฯ [๒๒] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ห่มผ้าขนสัตว์ มีขนข้างนอก ชาวบ้าน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงห่มผ้าขนสัตว์ มีขนข้างนอก รูปใดห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ
เรื่องทรงห้ามฉันมะม่วง
[๒๓] สมัยต่อมา มะม่วงที่พระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสารจอม เสนามาคธราช กำลังมีผล พระองค์ทรงอนุญาตไว้ว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้า ทั้งหลาย ฉันผลมะม่วงตามสบายเถิด พระฉัพพัคคีย์สอยผลมะม่วงกระทั่ง ผลอ่อนๆ ฉัน พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชต้องพระประสงค์ผลมะม่วง จึงรับ สั่งกับมหาดเล็กว่า ไปเถิด พนาย จงไปสวนเก็บมะม่วงมา มหาดเล็กรับพระ บรมราชโองการแล้ว ไปสู่พระราชอุทยาน บอกคนรักษาพระราชอุทยานว่า ในหลวง มีพระประสงค์ผลมะม่วง ท่านจงถวายผลมะม่วง คนรักษาพระราชอุทยานตอบว่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙.

ผลมะม่วงไม่มี ภิกษุทั้งหลายเก็บไปฉันหมด กระทั่งผลอ่อนๆ มหาดเล็กเหล่านั้น จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระเจ้าพิมพิสารๆ รับสั่งว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายฉันผล มะม่วงหมดก็ดีแล้ว แต่พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญความรู้จักประมาณ ชาวบ้าน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงไม่ รู้จักประมาณ ฉันผลมะม่วงของในหลวงหมด ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ ... จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันผลมะม่วง รูปใดฉันต้องอาบัติทุกกฏ ฯ [๒๔] สมัยต่อมา สัปบุรุษหมู่หนึ่งถวายภัตตาหารแก่สงฆ์ เขาจัดผล มะม่วงเป็นชิ้นๆ ไว้ในกับข้าว ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่รับประเคน ... พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคน ฉันเถิด เราอนุญาตผลมะม่วงเป็นชิ้นๆ ฯ
สมณกัปปะ ๕ อย่าง
[๒๕] สมัยต่อมา สัปบุรุษหมู่หนึ่งถวายภัตตาหารแก่สงฆ์ เขาไม่ได้ฝาน มะม่วงเป็นชิ้นๆ ในโรงอาหารล้วนแล้วไปด้วยผลมะม่วงทั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย รังเกียจไม่รับประเคน ... พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคน ฉันเถิด เราอนุญาตให้ฉันผลไม้โดยสมณกัปปะ ๕ อย่าง คือ ๑. ผลไม้ที่ลนด้วยไฟ ๒. ผลไม้ที่กรีดด้วยศัสตรา ๓. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ ๔. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด ๕. ผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้โดยสมณกัปปะ ๕ อย่างนี้ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐.

เรื่องภิกษุถูกงูกัด
[๒๖] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดถึงมรณภาพ ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นไม่ได้แผ่ เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ เป็นแน่ เพราะถ้าภิกษุรูปนั้นแผ่เมตตาจิตไปสู่ ตระกูลพญางูทั้ง ๔ ภิกษุรูปนั้นจะไม่พึงถูกงูกัดถึงมรณภาพ ตระกูลพญางูทั้ง ๔ อะไรบ้าง คือ ๑. ตระกูลพญางูวิรูปักขะ ๒. ตระกูลพญางูเอราปถะ ๓. ตระกูลพญางูฉัพยาปุตตะ ๔. ตระกูลพญางูกัณหาโคตมกะ ภิกษุรูปนั้นไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้เป็นแน่ เพราะถ้า ภิกษุนั้นแผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถูกงูกัดถึงมรณภาพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน ก็แล พึงทำการแผ่อย่างนี้:-
คาถาแผ่เมตตากันงูกัด
[๒๗] เรากับพญางูตระกูลวิรูปักขะ จงมีเมตตาต่อกัน เรากับพญางูตระกูลเอราปถะ จงมีเมตตาต่อกัน เรากับพญางูตระกูลฉัพยาปุตตะ จงมีเมตตาต่อกัน เรากับพญางูตระกูลกัณหาโคตมกะ จงมีเมตตาต่อกัน เรากับฝูงสัตว์ที่ไม่มีเท้า จงมีเมตตาต่อกัน เรากับฝูงสัตว์ ๒ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน เรากับฝูงสัตว์ ๔ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน เรากับฝูงสัตว์มีเท้ามาก จงมีเมตตาต่อกัน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑.

สัตว์ไม่มีเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา สัตว์ ๒ เท้าอย่า ได้เบียดเบียนเรา สัตว์ ๔ เท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา สัตว์มีเท้ามากอย่าได้เบียดเบียนเรา แลสัตว์ที่เกิด แล้วยังมีชีวิตทั้งมวลทุกหมู่เหล่า จงประสพความ เจริญ อย่าได้พบเห็นสิ่งลามกสักน้อยหนึ่งเลย พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ พระธรรมมีพระคุณหาประมาณมิได้ พระ สงฆ์มีพระคุณหาประมาณมิได้ แต่สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย คือ งู แมงป่อง ตะขาบ แมงมุม ตุ๊กแก หนู มีคุณพอประมาณ ความรักษาอันเราทำแล้ว ความป้องกันอันเราทำแล้ว ขอฝูงสัตว์ทั้งหลายจงถอยกลับไปเถิด เรานั้นขอนมัส การแด่พระผู้มีพระภาค ขอนมัสการแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ ฯ
เรื่องภิกษุตัดองค์กำเนิด
[๒๘] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งถูกความกระสันเบียดเบียน ได้ตัดองค์ กำเนิดของตนเสีย ภิกษุทั้งหลาย ... กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้น เมื่อสิ่งที่ จะพึงตัดอย่างอื่นยังมี ไพล่ไปตัดเสียอีกอย่าง ภิกษุไม่พึงตัดองค์กำเนิดของตน รูปใดตัด ต้องอาบัติถุลลัจจัย ฯ
เรื่องบาตรปุ่มไม้จันทน์
[๒๙] สมัยต่อมา ปุ่มไม้แก่นจันทน์มีราคามาก ได้บังเกิดแก่เศรษฐี ชาวเมืองราชคฤห์ จึงราชคหเศรษฐีได้คิดว่า ถ้ากระไรเราจะให้กลึงบาตรด้วยปุ่มไม้ แก่นจันทน์นี้ ส่วนที่กลึงเหลือเราจักเก็บไว้ใช้ และเราจักให้บาตรเป็นทาน หลัง จากนั้น ท่านราชคหเศรษฐีให้กลึงบาตรด้วยปุ่มไม้แก่นจันทน์นั้น แล้วใส่สาแหรก แขวนไว้ที่ปลายไม้ไผ่ผูกต่อๆ กันขึ้นไป แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใด เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ จงปลดบาตรที่เราให้แล้วไปเถิด ฯ [๓๐] ขณะนั้น ปูรณะกัสสปเข้าไปหาท่านราชคหเศรษฐีแล้ว กล่าวว่า

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒.

ท่านคหบดี อาตมานี้แหละเป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ ขอท่านจงให้บาตรแก่ อาตมาเถิด ท่านเศรษฐีตอบว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้าเป็นพระอรหันต์และ มีฤทธิ์ ก็จงปลดบาตรที่ข้าพเจ้าให้แล้วนั่นแลไปเถิด ต่อมา ท่านมักขลิโคสาล ท่านอชิตเกสกัมพล ท่านปกุธกัจจายนะ ท่านสัญชัยเวลัฏฐบุตร ท่านนิครนถ์นาฏบุตร ได้เข้าไปหาท่านราชคหเศรษฐี แล้วกล่าวว่า ท่านคหบดี อาตมานี้แหละเป็นพระอรหันต์ และมีฤทธิ์ ขอท่าน จงให้บาตรแก่อาตมาเถิด ท่านเศรษฐีตอบว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้าเป็นพระ อรหันต์และมีฤทธิ์ ก็จงปลดบาตรที่ข้าพเจ้าให้แล้วนั่นแลไปเถิด ฯ
เรื่องพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
[๓๑] สมัยต่อมา ท่านพระมหาโมคคัลลานะกับท่านพระปิณโฑลภาร- *ทวาชะ ครองอันตรวาสกในเวลาเช้าแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตในเมือง ราชคฤห์ อันที่แท้ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ จึงท่านพระปิณโฑลภาร ทวาชะ ได้กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ไปเถิด ท่านโมคคัลลานะ จงปลดบาตรนั้นลง บาตรนั้นของท่าน แม้ท่านพระโมคคัลลานะก็กล่าวกะท่าน พระปิณโฑลภารทวาชะว่า ไปเถิด ท่านภารทวาชะ จงปลดบาตรนั้นลง บาตรนั้น ของท่าน จึงท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นสู่เวหาส ถือบาตรนั้นเวียนไป รอบเมืองราชคฤห์ ๓ รอบ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๑-๒๘๑ หน้าที่ ๑-๑๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=1&Z=281&pagebreak=1 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=7&item=1&items=31&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=7&item=1&items=31&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=7&item=1&items=31&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=7&item=1&items=31&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7 https://84000.org/tipitaka/english/?index_7

ไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]