บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
ไม่ถึงฉันทาคติ [๑๑๐๓] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ? ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงธรรมว่าธรรม ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงอวินัยว่าอวินัย ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงวินัยว่าวินัย ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิตว่า พระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิต ชื่อว่าไม่ ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตตรัสภาษิตว่า พระตถาคตตรัสภาษิต ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมาว่า พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตประพฤติมาว่า พระตถาคตประพฤติมา ชื่อว่าไม่ถึงฉัน- *ทาคติ ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติว่า พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติ ชื่อว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงสิ่งที่พระตถาคตทรงบัญญัติว่า พระตถาคตทรงบัญญัติ ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงอนาบัติว่าอนาบัติ ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงอาบัติว่าอาบัติ ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงอาบัติเบาว่าอาบัติเบา ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงอาบัติหนักว่าอาบัติหนัก ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าอาบัติมีส่วนเหลือ ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่าอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าไม่ถึงฉันทาคติ.ไม่ถึงโทสาคติ [๑๑๐๔] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าไม่ถึงโทสาคติ? ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่าไม่ถึงโทสาคติ ภิกษุแสดงธรรมว่าธรรม ชื่อว่าไม่ถึงโทสาคติ ... ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ถึงโทสาคติ ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ถึงโทสาคติ อย่างนี้ชื่อว่าภิกษุไม่ถึงโทสาคติ.ไม่ถึงโมหาคติ [๑๑๐๕] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าไม่ถึงโมหาคติ? ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่าไม่ถึงโมหาคติ ภิกษุแสดงธรรมว่าธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ ... ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ถึงโมหาคติ ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ถึงโมหาคติ อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าไม่ถึงโมหาคติ.ไม่ถึงภยาคติ [๑๑๐๖] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าไม่ถึงภยาคติ? ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่าไม่ถึงภยาคติ ภิกษุแสดงธรรมว่าธรรม ชื่อว่าไม่ถึงภยาคติ ... ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ถึงภยาคติ ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าไม่ถึงภยาคติ อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าไม่ถึงภยาคติ.นิคมคาถา [๑๑๐๗] ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะชอบ เพราะชัง เพราะกลัว เพราะหลง ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยมเหมือนดวงจันทร์ในวันข้างขึ้น ฉะนั้นเนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๙๘๙๕-๙๙๔๒ หน้าที่ ๓๗๙-๓๘๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=9895&Z=9942&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1103&items=5 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1103&items=5&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1103&items=5 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1103&items=5 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1103 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]