ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
ว่าด้วยให้เข้าใจ
[๑๑๐๘] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ? ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่าให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ ภิกษุแสดงธรรมว่าธรรม ชื่อว่าให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ ... ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าให้เข้าใจในสถานะควรให้ เข้าใจ อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจฯ
ว่าด้วยพินิจ
[๑๑๐๙] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ? ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่าย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ ภิกษุแสดงธรรมว่าธรรม ชื่อว่าย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ ... ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ.
ว่าด้วยเพ่งเล็ง
[๑๑๑๐] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าย่อมเพ็งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง? ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่าย่อมเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง. ภิกษุแสดงธรรมว่าธรรม ชื่อว่าย่อมเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง ... ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าย่อมเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าย่อมเพ่งเล็งในสถานะควร เพ่งเล็ง อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าย่อมเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง.
ว่าด้วยความเลื่อมใส
[๑๑๑๑] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส? ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่าย่อมเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส ภิกษุแสดงธรรมว่าธรรม ชื่อว่าย่อมเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส ... ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่าย่อมเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่าย่อมเลื่อมใสในสถานะควร เลื่อมใส อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าย่อมเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส.
ว่าด้วยดูหมิ่นพรรคพวกอื่น
[๑๑๑๒] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าย่อมดูหมิ่นพรรคพวกอื่นด้วยเข้าใจว่า เราได้พรรค- *พวกแล้ว? ตอบว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้พรรคพวก ได้บริวาร มีพรรคพวก มีญาติ คิดว่า ผู้นี้ไม่ได้พรรคพวก ไม่ได้บริวาร ไม่มีพรรคพวก ไม่มีญาติ จึงดูหมิ่นภิกษุนั้น ย่อมแสดงอธรรมว่า ธรรม แสดงธรรมว่า อธรรม ... แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่นพรรคพวกอื่น ด้วยเข้าใจว่า เราได้พรรคพวกแล้ว.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๙๙๔๓-๙๙๘๑ หน้าที่ ๓๘๑-๓๘๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=9943&Z=9981&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1108&items=5              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1108&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1108&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1108&items=5              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1108              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]