บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
โวหารวรรคที่ ๓ ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์ [๑๑๗๐] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ไม่พึงพูดในสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ไม่พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ไม่รู้อาบัติ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานอาบัติ ๓. ไม่รู้ประโยคอาบัติ ๔. ไม่รู้ความระงับอาบัติ ๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุควรพูดในสงฆ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. รู้อาบัติ ๒. รู้สมุฏฐานอาบัติ ๓. รู้ประโยคอาบัติ ๔. รู้ความระงับอาบัติ ๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอาบัติ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ไม่รู้อธิกรณ์ ๒. ไม่รู้สมุฏฐานอธิกรณ์ ๓. ไม่รู้ประโยคอธิกรณ์ ๔. ไม่รู้ความระงับอธิกรณ์ ๕. ไม่ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุควรพูดในสงฆ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. รู้อธิกรณ์ ๒. รู้สมุฏฐานอธิกรณ์ ๓. รู้ประโยคอธิกรณ์ ๔. รู้ความระงับอธิกรณ์ ๕. ฉลาดในการวินิจฉัยอธิกรณ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. พูดข่มขู่ ๒. พูดไม่ให้โอกาสผู้อื่น ๓. ไม่โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๔. ไม่ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๕. ไม่ชี้แจงตามความเห็น ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุควรพูดในสงฆ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ไม่พูดข่มขู่ ๒. พูดให้โอกาสผู้อื่น ๓. โจทตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๔. ปรับตามอาบัติในธรรมและวินัยอันสมควร ๕. ชี้แจงตามความเห็น ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ๔. ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. ไม่รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุควรพูดในสงฆ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. รู้อาบัติและอนาบัติ ๒. รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ๓. รู้อาบัติมีส่วนเหลือและอาบัติหาส่วนเหลือมิได้ ๔. รู้อาบัติชั่วหยาบและอาบัติไม่ชั่วหยาบ ๕. รู้อาบัติที่ทำคืนได้และทำคืนไม่ได้ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ไม่รู้กรรม ๒. ไม่รู้การทำกรรม ๓. ไม่รู้วัตถุของกรรม ๔. ไม่รู้วัตรของกรรม ๕. ไม่รู้ความระงับกรรม ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุควรพูดในสงฆ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. รู้กรรม ๒. รู้การทำกรรม ๓. รู้วัตถุของกรรม ๔. รู้วัตรของกรรม ๕. รู้ความระงับกรรม ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน ๓. ไม่รู้บัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกในภายหลัง ๕. ไม่รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุควรพูดในสงฆ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน ๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกในภายหลัง ๕. รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่ควรพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ถึงฉันทาคติ ๒. ถึงโทสาคติ ๓. ถึงโมหาคติ ๔. ถึงภยาคติ ๕. เป็นอลัชชี ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุควรพูดในสงฆ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ไม่ถึงฉันทาคติ ๒. ไม่ถึงโทสาคติ ๓. ไม่ถึงโมหาคติ ๔. ไม่ถึงภยาคติ ๕. เป็นลัชชี ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ถึงฉันทาคติ ๒. ถึงโทสาคติ ๓. ถึงโมหาคติ ๔. ถึงภยาคติ ๕. ไม่ฉลาดในวินัย ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุควรพูดในสงฆ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ไม่ถึงฉันทาคติ ๒. ไม่ถึงโทสาคติ ๓. ไม่ถึงโมหาคติ ๔. ไม่ถึงภยาคติ ๕. ฉลาดในวินัย ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ไม่รู้ญัตติ ๒. ไม่รู้การทำญัตติ ๓. ไม่รู้อนุสาวนาแห่งญัตติ ๔. ไม่รู้สมถะแห่งญัตติ ๕. ไม่รู้ความระงับแห่งญัตติ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุควรพูดในสงฆ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์ องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. รู้ญัตติ ๒. รู้การทำญัตติ ๓. รู้อนุสาวนาแห่งญัตติ ๔. รู้สมถะแห่งญัตติ ๕. รู้ความระงับแห่งญัตติ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ไม่รู้สุตตะ ๒. ไม่รู้สุตตานุโลม ๓. ไม่รู้วินัย ๔. ไม่รู้วินยานุโลม ๕. ไม่ฉลาดในฐานะและอฐานะ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุควรพูดในสงฆ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. รู้สุตตะ ๒. รู้สุตตานุโลม ๓. รู้วินัย ๔. รู้วินยานุโลม ๕. ฉลาดในฐานะและอฐานะ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์.ภิกษุไม่ควรพูดในสงฆ์อีกนัยหนึ่ง ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ แม้อื่นอีก ไม่พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ไม่รู้ธรรม ๒. ไม่รู้ธรรมานุโลม ๓. ไม่รู้วินัย ๔. ไม่รู้วินยานุโลม ๕. ไม่ฉลาดในคำต้นและคำปลาย ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ไม่พึงพูดในสงฆ์ภิกษุควรพูดในสงฆ์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ พึงพูดในสงฆ์. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. รู้ธรรม ๒. รู้ธรรมานุโลม ๓. รู้วินัย ๔. รู้วินยานุโลม ๕. ฉลาดในคำต้นและคำปลาย ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล พึงพูดในสงฆ์.โวหารวรรค ที่ ๓ จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๐๗๙๒-๑๐๙๘๑ หน้าที่ ๔๑๔-๔๒๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=10792&Z=10981&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1170&items=1 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1170&items=1&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1170&items=1 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1170&items=1 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1170 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]