บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
[๑๑๗๒] อุ. การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรม มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรมนี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:- ๑. ทำความเห็นแย้งในอนาบัติ ๒. ทำความเห็นแย้งในอาบัติที่ไม่เป็นเทสนาคามินี ๓. ทำความเห็นแย้งในอาบัติที่แสดงแล้ว ๔. ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔-๕ รูป ๕. ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล.การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรมนี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่าง อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ทำความเห็นแย้งในอาบัติ ๒. ทำความเห็นแย้งในอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๓. ทำความเห็นแย้งในอาบัติอันยังมิได้แสดง ๔. ไม่ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔-๕ รูป ๕. ไม่ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แลการทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรมอีกนัยหนึ่ง ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรม แม้อื่นอีก ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไร บ้าง? คือ:- ๑. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุนานาสังวาสก์ ๒. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกัน ๓. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุมิใช่ปกตัตตะ ๔. ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔-๕ รูป ๕. ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล.การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรมนี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:- ๑. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุสมานสังวาสก์ ๒. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาเดียวกัน ๓. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุผู้เป็นปกตัตตะ ๔. ไม่ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔-๕ รูป ๕. ไม่ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล.การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้ [๑๑๗๓] อุ. การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้นี้มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:- ๑. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย ๒. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย ๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย ๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย ๕. ของเขาให้ด้วยโยนให้ ไม่รับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย ดูกรอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้ มี ๕ อย่าง นี้แล.การรับประเคนที่ใช้ได้ ดูกรอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้นี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:- ๑. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย ๒. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย ๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย ๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย ๕. ของเขาให้ด้วยโยนให้ รับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย ดูกรอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้ ๕ อย่าง นี้แล.ของที่ไม่เป็นเดน [๑๑๗๔] อุ. ของที่ไม่เป็นเดน มีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า พ. ดูกรอุบาลี ของที่ไม่เป็นเดนนี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง คือ:- ๑. ภิกษุไม่ทำให้เป็นกัปปิยะ ๒. ไม่รับประเคน ๓. ไม่ยกส่งให้ ๔. ทำนอกหัตถบาส ๕. มิได้กล่าวว่า ทั้งหมดนั้นพอละ ดูกรอุบาลี ของที่ไม่เป็นเดนมี ๕ อย่าง นี้แล.ของที่เป็นเดน ดูกรอุบาลี ของที่เป็นเดนนี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:- ๑. ภิกษุทำให้เป็นกัปปิยะ ๒. รับประเคน ๓. ยกส่งให้ ๔. ทำในหัตถบาส ๕. กล่าวว่า ทั้งหมดนั่นพอละ ดูกรอุบาลี ของที่เป็นเดน ๕ อย่าง นี้แล.การห้ามภัตร [๑๑๗๕] อุ. การห้ามภัตรย่อมปรากฏด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี การห้ามภัตร ย่อมปรากฏด้วยอาการ ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? ๑. การฉันยังปรากฏอยู่ ๒. โภชนะปรากฏอยู่ ๓. ผู้ให้อยู่ในหัตถบาส ๔. เขาน้อมของเข้ามา ๕. การห้ามปรากฏ ดูกรอุบาลี การห้ามภัตร ย่อมปรากฏด้วยอาการ ๕ นี้แล.ทำตามปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรม [๑๑๗๖] อุ. การทำตามปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรม มีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี การทำตามปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรมนี้มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:- ๑. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่ปฏิญญาว่าต้อง อาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็นทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม ๒. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก แต่ปฏิญญาว่า ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ จัดเป็นทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม ๓. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่ปฏิญญา ว่า ต้องอาบัติทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุกกฏ จัดเป็นทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม ๔. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ เธอถูกโจทด้วย อาบัติทุกกฏ แต่ปฏิญญาว่า ต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาราชิก จัดเป็นทำตาม ปฏิญญาไม่เป็นธรรม ๕. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติทุกกฏ เธอถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ แต่ปฏิญญาว่าต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ จัดเป็นทำตาม ปฏิญญาไม่เป็นธรรม ดูกรอุบาลี การทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล.ทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม ดูกรอุบาลี การทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรมนี้มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:- ๑. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาราชิก เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก ปฏิญญาว่าต้องอาบัติ ปาราชิก สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาราชิก จัดเป็นทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม ๒. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เธอถูกโจทด้วยอาบัติสังฆาทิเสส ปฏิญญาว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็นทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม ๓. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาจิตตีย์ ปฏิญญาว่าต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาจิตตีย์ จัดเป็นทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม ๔. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ เธอถูกโจทด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ ปฏิญญาว่า ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ จัดเป็นทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม ๕. ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติทุกกฏ เธอถูกโจทด้วยอาบัติทุกกฏ ปฏิญญาว่าต้องอาบัติ ทุกกฏ สงฆ์ปรับเธอด้วยอาบัติทุกกฏ จัดเป็นทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรมไม่ควรทำโอกาส [๑๑๗๗] อุ. ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำ โอกาส พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. เป็นอลัชชี ๒. เป็นพาล ๓. ไม่ใช่เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้พูดประสงค์ให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์ ๕. ไม่เป็นผู้พูดประสงค์ให้ออกจากอาบัติ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ไม่ควรทำโอกาส.ควรทำโอกาส ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. เป็นลัชชี ๒. เป็นบัณฑิต ๓. เป็นปกตัตตะ ๔. เป็นผู้พูดประสงค์ให้ออกจากอาบัติ ๕. ไม่เป็นผู้พูดประสงค์ให้เคลื่อนจากพรหมจรรย์ ดูกรอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล ขอให้ทำโอกาส สงฆ์ควรทำโอกาส.ไม่ควรสนทนาวินัย [๑๑๗๘] อุ. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนาวินัยกับภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไร บ้าง? คือ:- ๑. ไม่รู้วัตถุ ๒. ไม่รู้นิทาน ๓. ไม่รู้บัญญัติ ๔. ไม่รู้บทที่ตกหล่นภายหลัง ๕. ไม่รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิกันได้ ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายไม่พึงสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.ควรสนทนาวินัย ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕. องค์ ๕ อะไรบ้าง? คือ:- ๑. รู้วัตถุ ๒. รู้นิทาน ๓. รู้บัญญัติ ๔. รู้บทที่ตกหล่นในภายหลัง ๕. รู้ทางถ้อยคำอันเข้าสนธิเข้ากันได้ ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายพึงสนทนาวินัยกับภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.เหตุที่ถามปัญหา ๕ อย่าง [๑๑๗๙] อุ. การถามปัญหามีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี การถามปัญหานี้ มี ๕. อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:- ๑. ภิกษุถามปัญหา เพราะความรู้น้อย เพราะงมงาย ๒. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงถามปัญหา ๓. ถามปัญหาเพราะความดูหมิ่น ๔. เป็นผู้ไม่ประสงค์จะรู้ จึงถามปัญหา ๕. ถามปัญหาด้วยมนสิการว่า ถ้าเราถามปัญหาขึ้น ภิกษุจะพยากรณ์โดยชอบเทียว การพยากรณ์ดังนี้นั้นเป็นความดี ถ้าเราถามปัญหาแล้ว เธอจักไม่พยากรณ์โดยชอบเทียว เราจัก พยากรณ์แก่เธอโดยชอบเทียว. ดูกรอุบาลี การถามปัญหา ๕ นี้แล.การอวดอ้างมรรคผล อุ. การอวดอ้างมรรคผล มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี การอวดอ้างมรรคผลนี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่าง อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ภิกษุอวดอ้างมรรคผล เพราะความรู้น้อย เพราะความงมงาย ๒. ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงอวดอ้างมรรคผล ๓. อวดอ้างมรรคผล เพราะวิกลจริต เพราะจิตฟุ้งซ่าน ๔. อวดอ้างมรรคผล เพราะสำคัญว่าได้บรรลุ ๕. อวดอ้างมรรคผลที่เป็นจริง. ดูกรอุบาลี การอวดอ้างมรรคผล ๕ อย่าง นี้แล.วิสุทธิ ๕ [๑๑๘๐] อุ. วิสุทธิมีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี วิสุทธินี้ มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:- สวดนิทานแล้ว นอกนั้นสวดด้วยสุตบท นี้จัดเป็นวิสุทธิที่ ๑ สวดนิทาน สวด ปาราชิก ๔ แล้ว นอกนั้นสวดด้วยสุตบท นี้จัดเป็นวิสุทธิที่ ๒ สวดนิทาน สวดปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ แล้ว นอกนั้นสวดด้วยสุตบท นี้จัดเป็นวิสุทธิที่ ๓ สวดนิทาน สวด ปาราชิก ๔ สวดสังฆาทิเสส ๑๓ สวดอนิยต ๒ แล้ว นอกนั้นสวดด้วยสุตบท นี้จัดเป็นวิสุทธิ ที่ ๔ สวดโดยพิสดารทีเดียว จัดเป็นวิสุทธิที่ ๕ ดูกรอุบาลี วิสุทธิ ๕ อย่าง นี้แล.โภชนะ ๕ [๑๑๘๑] อุ. โภชนะมีเท่าไร หนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี โภชนะนี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:- ๑. ข้าวสุก ๒. ขนมสด ๓. ขนมแห้ง ๔. ปลา ๕. เนื้อ ดูกรอุบาลี โภชนะ ๕ อย่าง นี้แล.ทิฏฐาวิกรรมวรรค ที่ ๔ จบ ----------------------------------------------------- หัวข้อประจำวรรค [๑๑๘๒] ทำความเห็นแย้ง ๑ ทำความเห็นแย้งอีกนัยหนึ่ง ๑ รับประเคน ๑ ของ เป็นเดน ๑ ห้ามภัตร ๑ ปฏิญญา ๑ ขอโอกาส ๑ สนทนา ๑ ถามปัญหา ๑ อวดอ้างมรรคผล ๑ วิสุทธิ ๑ โภชนะ ๑.อัตตาทานวรรคที่ ๕ หน้าที่ของโจทก์ เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๐๙๘๗-๑๑๑๗๙ หน้าที่ ๔๒๑-๔๒๙. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=10987&Z=11179&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1172&items=11&mode=bracket อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1172&items=11 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1172&items=11&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1172&items=11&mode=bracket ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1172 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]