ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
ฐานะแห่งญัตติจตุตถกรรม
[๑๓๕๗] ถามว่า ญัตติจตุตถกรรม ถึงฐานะ ๗ อย่าง เป็นไฉน? ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ นิคคหะ สมนุภาสน์ ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗ ญัตติจตุตถกรรมถึงฐานะ ๗ นี้.
กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำเป็นต้น
[๑๓๕๘] ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๔ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และ ไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๕ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตะนอกนั้น เป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่ เป็นผู้ควรกรรม ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๑๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะนอก นั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๒๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ นอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม.
กรรมวรรคที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------
อรรถวสวรรค ที่ ๒
ทรงบัญญัติสิกขาบท
[๑๓๕๙] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจ ๒ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อ ป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อ ป้องกันเวรอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดเวรอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อ ป้องกันโทษอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดโทษอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อ ป้องกันภัยอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดภัยอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอกุศลธรรมอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อ อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ๑ เพื่อเข้าไปตัดฝักฝ่ายของพวกภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อ ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อ ความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้.
อรรถวสวรรค ที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------
ปัญญัติวรรค ที่ ๓
ทรงบัญญัติปาติโมกข์เป็นต้น
[๑๓๖๐] พระตถาคตทรงบัญญัติปาติโมกข์แก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ ... ทรงบัญญัติปาติโมกขุทเทศ ทรงบัญญัติการงดปาติโมกข์ ทรงบัญญัติปวารณา ทรงบัญญัติการ งดปวารณา ทรงบัญญัติตัชชนีกรรม ทรงบัญญัตินิยสกรรม ทรงบัญญัติปัพพาชนียกรรม ทรง บัญญัติปฏิสารณียกรรม ทรงบัญญัติอุกเขปนียกรรม ทรงบัญญัติการให้ปริวาส ทรงบัญญัติการ ชักเข้าหาอาบัติเดิม ทรงบัญญัติการให้มานัต ทรงบัญญัติอัพภาน ทรงบัญญัติโอสารนียกรรม ทรงบัญญัตินิสสารนียกรรม ทรงบัญญัติการอุปสมบท ทรงบัญญัติอปโลกนกรรม ทรงบัญญัติ ญัตติกรรม ทรงบัญญัติญัตติทุติยกรรม ทรงบัญญัติญัตติจตุตถกรรม.
ปัญญัติวรรค ที่ ๓ จบ.
-----------------------------------------------------
ปัญญัติวรรค ที่ ๔
[๑๓๖๑] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทที่ยังมิได้บัญญัติ ทรงบัญญัติเพิ่มเติมสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย ทรงบัญญัติสตินัย ทรงบัญญัติอมูฬหวินัย ทรง บัญญัติปฏิญญาตกรณะ ทรงบัญญัติเยภุยยสิกา ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา ทรงบัญญัติติณวัตถารกะ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้. พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้. พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้. พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อป้องกันเวรอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดเวรอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้. พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อป้องกันโทษอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดโทษอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้. พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อป้องกันภัยอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดภัยอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้. พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอกุศลธรรมอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้. พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ ๑ เพื่อตัดฝักฝ่ายของผู้ปรารถนาลามก ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้. พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้. พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑ พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้.
ปัญญัติวรรคที่ ๔ จบ.
-----------------------------------------------------
นวสังคหวรรค ที่ ๕
สังคหะ ๙ อย่าง
[๑๓๖๒] สังคหะมี ๙ อย่าง คือ วัตถุสังคหะ ๑ วิบัติสังคหะ ๑ อาบัติสังคหะ ๑ นิทานสังคหะ ๑ บุคคลสังคหะ ๑ ขันธสังคหะ ๑ สมุฏฐานสังคหะ ๑ อธิกรณสังคหะ ๑ สมถสังคหะ ๑
ให้บอกเรื่อง
[๑๓๖๓] เมื่ออธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ถ้าคู่ความทั้งสองมาถึง สงฆ์พึงให้ทั้งสองบอกเรื่อง ครั้นแล้วพึงฟังปฏิญญาทั้งสอง แล้วพึงพูดกะคู่ความทั้งสองว่า เมื่อพวกเราระงับอธิกรณ์นี้แล้ว ท่านทั้งสองจักยินดี หรือ ถ้าทั้งสองรับว่า ข้าพเจ้าทั้งสองจักยินดี สงฆ์พึงรับอธิกรณ์นั้นไว้. ถ้าบริษัทมีอลัชชีมาก สงฆ์พึงระงับด้วยอุพพาหิกา. ถ้าบริษัทมีคนพาลมาก สงฆ์พึงแสวงหา พระวินัยธร. อธิกรณ์นั้นจะระงับ โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ใด สงฆ์พึงระงับ อธิกรณ์นั้นโดยอย่างนั้น.
พึงรู้วัตถุเป็นต้น
[๑๓๖๔] พึงรู้วัตถุ พึงรู้โคตร พึงรู้ชื่อ พึงรู้อาบัติ. คำว่า เมถุนธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า อทินนาทาน เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า มนุสสวิคคหะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า อุตตริมนุสสธรรม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า ปาราชิก เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า สุกกวิสัฏฐิ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า กายสังสัคคะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า ทุฏฐุลลวาจา เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า อัตตกาม เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า สัญจริตตะ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า ให้ทำกุฎีด้วยอาการขอเอาเอง เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า ให้ทำวิหารใหญ่ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า ตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิกไม่มีมูล เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้ง โคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า ถือเอาเอกเทศบางอย่างแห่งอธิกรณ์อันเป็นเรื่องอื่นให้เป็นเพียงเลศ แล้วตามกำจัดภิกษุด้วยธรรมมีโทษถึงปาราชิก เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า การที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า การที่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า การที่ภิกษุผู้ว่ายากไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ เป็น ทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ. คำว่า การที่ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์ครบ ๓ จบ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ ... คำว่า การอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อถ่ายอุจจาระปัสสาวะหรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร. คำว่า ทุกกฏ เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติแล.
นวสังคหวรรคที่ ๕ จบ.
-----------------------------------------------------
หัวข้อประจำวรรค
[๑๓๖๕] อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑ วัตถุ ๑ ญัตติ ๑ อนุสาวนา ๑ สีมา ๑ บริษัท ๑ พร้อมหน้า ๑ สอบถาม ๑ ปฏิญญา ๑ ควรสติวินัย ๑ วัตถุ ๑ สงฆ์ ๑ บุคคล ๑ ญัตติ ๑ ตั้งญัตติภายหลัง ๑ วัตถุ ๑ สงฆ์ ๑ บุคคล ๑ สวดประกาศ ๑ สวดในกาลไม่ควร ๑ สีมาเล็กเกิน ๑ สีมาใหญ่เกิน ๑ สีมามีนิมิต ขาด ๑ สีมาใช้เงาเป็นนิมิต ๑ สีมาไม่มีนิมิต ๑ อยู่นอกสีมาสมมติสีมา ๑ สมมติสีมาในนที ๑ ในสมุทร ๑ ในชาตสระ ๑ คาบเกี่ยวสีมา ๑ ทับสีมาด้วยสีมา ๑ กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ๑ กรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ๑ กรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ๑ กรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ๑ ไม่นำฉันทะมา ๑ นำฉันทะมา ๑ บุคคลผู้เข้ากรรม ๑ ผู้ควรฉันทะ ๑ ผู้ควรกรรม ๑ อปโลกน- *กรรม ๕ สถาน ๑ ญัตติกรรม ๙ สถาน ๑ ญัตติทุติยกรรม ๗ สถาน ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๗ สถาน ๑ ความรับว่าดี ๑ ความผาสุก ๑ บุคคลผู้เก้อยาก ๑ ภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ๑ อาสวะ ๑ เวร ๑ โทษ ๑ ภัย ๑ อกุศลธรรม ๑ คฤหัสถ์ ๑ บุคคลผู้ปรารถนาลามก ๑ ชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ๑ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ ความตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม ๑ อนุเคราะห์พระวินัย ๑ ปาติโมกขุทเทศ ๑ งดปาติโมกข์ ๑ งดปวารณา ๑ ตัชชนียกรรม ๑ นิยสกรรม ๑ ปัพพาชนีย- *กรรม ๑ ปฏิสารณียกรรม ๑ อุกเขปนียกรรม ๑ ปริวาส ๑ อาบัติเดิม ๑ มานัต ๑ อัพภาน ๑ โอสารณา ๑ นิสสารณา ๑ อุปสมบท ๑ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑ ยังมิได้ทรงบัญญัติ ๑ ทรงบัญญัติซ้ำ ๑ สัมมุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑ อมูฬห- *วินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ เยภุยยสิกา ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑ ติณวัตถารกะ ๑ วัตถุ ๑ วิบัติ ๑ อาบัติ ๑ นิทาน ๑ บุคคล ๑ ขันธ์ ๑ สมุฏฐาน ๑ อธิกรณ์ ๑ สมถะ ๑ สังคหะ ๑ ชื่อ ๑ และอาบัติ ๑ ดังนี้แล.
คัมภีร์ปริวาร จบ.
-----------------------------------------------------
คาถาส่งท้าย
[๑๓๖๖] ก็พระวินัยธร ผู้เรืองนาม มีปัญญามาก ทรงสุตะ มีวิจารณญาณ สอบสวนแนวทางของท่านบูรพาจารย์ในที่นั้นๆ แล้วคิดเขียนข้อพิสดาร และสังเขปนี้ไว้ในสายกลาง ตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งจะนำความสะดวก มาให้แก่เหล่าศิษย์. คัมภีร์นี้เรียกว่าปริวาร มีทุกเรื่องพร้อมทั้งลักษณะ มี อรรถโดยอรรถในสัทธรรม มีธรรมโดยธรรมในบัญญัติ ห้อมล้อม พระศาสนาดุจสาครล้อมรอบชมพูทวีป ฉะนั้น. พระวินัยธรเมื่อไม่รู้คัมภีร์ปริวาร ไฉนจะวินิจฉัยโดยธรรมได้. ความ เคลือบแคลงของพระวินัยธรใดที่เกิดในวิบัติ วัตถุ บัญญัติ อนุบัญญัติ บุคคล เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ โลกวัชชะ และปัณณัตติวัชชะ ย่อมขาดสิ้น ไปด้วยคัมภีร์ปริวาร, พระเจ้าจักรพรรดิ สง่างามในกองทัพใหญ่ฉันใด ไกรสรสง่างามในท่ามกลางฝูงมฤคฉันใด พระอาทิตย์แผ่สร้านด้วยรัศมี ย่อมสง่างามฉันใด พระจันทร์สง่างามในหมู่ดาราฉันใด พระพรหมสง่างาม ในหมู่พรหมฉันใด ท่านผู้นำสง่างามในท่ามกลางหมู่ชนฉันใด พระสัทธรรม วินัยย่อมงามสง่าด้วยคัมภีร์ปริวาร ฉันนั้นแล.
พระวินัยปิฎก จบบริบูรณ์.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๓๒๐๖-๑๓๔๐๒ หน้าที่ ๕๑๐-๕๑๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=13206&Z=13402&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1357&items=10              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1357&items=10&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1357&items=10              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1357&items=10              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1357              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]