ปัญญัติวรรค ที่ ๔
[๑๓๖๑] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทที่ยังมิได้บัญญัติ ทรงบัญญัติเพิ่มเติมสิกขาบท
ที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย ทรงบัญญัติสตินัย ทรงบัญญัติอมูฬหวินัย ทรง
บัญญัติปฏิญญาตกรณะ ทรงบัญญัติเยภุยยสิกา ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา ทรงบัญญัติติณวัตถารกะ
คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๑
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้.
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ
เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้.
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้.
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ
เพื่อป้องกันเวรอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดเวรอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้.
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ
เพื่อป้องกันโทษอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดโทษอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้.
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ
เพื่อป้องกันภัยอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดภัยอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้.
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ
เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอกุศลธรรมอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้.
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ
เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ ๑ เพื่อตัดฝักฝ่ายของผู้ปรารถนาลามก ๑
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้.
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้.
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑
พระตถาคตทรงบัญญัติติณวัตถารกะแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้.
ปัญญัติวรรคที่ ๔ จบ.
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๓๒๗๐-๑๓๓๐๔ หน้าที่ ๕๑๓-๕๑๔.
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=13270&Z=13304&pagebreak=0
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1361&items=1
อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :-
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1361&items=1&mode=bracket
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :-
https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1361&items=1
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :-
https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1361&items=1
ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :-
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1361
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘
https://84000.org/tipitaka/read/?index_8
https://84000.org/tipitaka/english/?index_8
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]