ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
คำถามและคำตอบในเสขิยกัณฑ์
วรรคที่ ๑
[๓๘๗] ถามว่า ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นุ่งผ้าเลื้อยหน้า หรือเลื้อยหลัง ต้อง อาบัติเท่าไร? ตอบว่า ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นุ่งผ้าเลื้อยหน้า หรือเลื้อยหลัง ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นุ่งผ้าเลื้อยหน้า หรือเลื้อยหลัง ต้องอาบัติตัวหนึ่งนี้. [๓๘๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ห่มผ้าเลื้อยหน้า หรือเลื้อยหลัง ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๓๘๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เปิดกาย เดินไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๓๙๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เปิดกาย นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๓๙๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือ หรือเท้าไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๓๙๒] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ คะนองมือ หรือเท้านั่งในละแวกบ้าน ต้อง อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๓๙๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แลดูในที่นั้นๆ ไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๓๙๔] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แลดูในที่นั้นๆ นั่งในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๓๙๕] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๓๙๖] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.
วรรคที่ ๑ จบ
-----------------------------------------------------
วรรคที่ ๒
[๓๙๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินหัวเราะไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๓๙๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งหัวเราะในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๓๙๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินพูดเสียงดังลั่นไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๐๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งพูดเสียงดังในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๐๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๐๒] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๐๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินไกวแขนไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๐๔] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งไกวแขนในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๐๕] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๐๖] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.
วรรคที่ ๒ จบ
-----------------------------------------------------
วรรคที่ ๓
[๔๐๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินค้ำกายไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๐๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งค้ำกายในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๐๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๑๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๑๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินกระโหย่งเท้าไปในละแวกบ้าน ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๑๒] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๑๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๑๔] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แลดูในที่นั้นๆ รับบิณฑบาต ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๑๕] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับแต่แกงมาก ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๑๖] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับบิณฑบาตจนพูนบาตร ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.
วรรคที่ ๓ จบ
-----------------------------------------------------
วรรคที่ ๔
[๔๑๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตโดยไม่เคารพ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๑๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แลดูในที่นั้นๆ ฉันบิณฑบาต ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๑๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตให้แหว่งในที่นั้นๆ ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๒๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแต่แกงมาก ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๒๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันบิณฑบาตขยุ้มแต่ยอดลงไป ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๒๒] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ กลบแกงหรือกับด้วยข้าวสุก ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๒๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ไม่อาพาธ ขอแกงก็ดี ข้าวสุกก็ดี เพื่อประโยชน์ แก่ตนมาฉัน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๒๔] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มุ่งจะยกโทษ แลดูบาตรของภิกษุอื่น ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๒๕] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ใหญ่ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๒๖] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ทำคำข้าวให้ยาว ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.
วรรคที่ ๔ จบ
-----------------------------------------------------
วรรคที่ ๕
[๔๒๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปากอ้าปากไว้ท่า ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๒๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ สอดมือทั้งหมดเข้าในปาก ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๒๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ พูดทั้งคำข้าวมีอยู่ในปาก ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๓๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเดาะคำข้าว ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๓๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันกัดคำข้าว ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๓๒] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๓๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันสลัดมือ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๓๔] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโปรยเมล็ดข้าว ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๓๕] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแลบลิ้น ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๓๖] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันดังจั๊บๆ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.
วรรคที่ ๕ จบ
-----------------------------------------------------
วรรคที่ ๖
[๔๓๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันดังซู๊ดๆ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๓๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียมือ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๓๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันขอดบาตร ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๔๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ฉันเลียริมฝีปาก ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๔๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ รับโอน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๔๒] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน ต้อง อาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๔๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลมีร่มในมือ ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๔๔] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลมีไม้พลองในมือ ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๔๕] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลมีศัตราในมือ ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๔๖] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลมีอาวุธในมือ ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ.
วรรคที่ ๖ จบ
-----------------------------------------------------
วรรคที่ ๗
[๔๔๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลสวมเขียงเท้า ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๔๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลสวมรองเท้า ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๔๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลไปในยาน ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๕๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้อยู่บนที่นอน ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๕๑] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งรัดเข่า ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๕๒] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้โพกศีรษะ ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๕๓] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้คลุมศีรษะ ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๕๔] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งอยู่ที่แผ่นดินแสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งบน อาสนะ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๕๕] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนอาสนะต่ำแสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งบน อาสนะสูง ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๕๖] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ยืนอยู่ แสดงธรรมแก่บุคคลผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๕๗] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินไปข้างหลัง แสดงธรรมแก่บุคคลผู้เดินไป ข้างหน้า ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๕๘] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ เดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่บุคคลผู้เดินไป ในทาง ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๕๙] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ยืนถ่ายอุจจาระ หรือ ปัสสาวะ ต้องอาบัติ ตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๖๐] ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงบน ของเขียวสด ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. [๔๖๑] ถามว่า ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือบ้วน เขฬะลงในน้ำ ต้องอาบัติเท่าไร? ตอบว่า ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลง ในน้ำ ต้องอาบัติตัวหนึ่ง คือ ทุกกฏ. ภิกษุอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะลงในน้ำ ต้อง อาบัติตัวหนึ่งนี้.
วรรคที่ ๗ จบ
เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท จบ
กตาปัตติวารที่ ๒ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๒๙๑๘-๓๐๘๔ หน้าที่ ๑๑๑-๑๑๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=2918&Z=3084&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=387&items=75              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=387&items=75&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=387&items=75              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=387&items=75              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=387              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]